หลังถูกเบียร์ช้างรุกหนักทางด้านการตลาดมานาน เบียร์ สิงห์ของค่ายบุญรอด
บริวเวอรี่ ซึ่งเคยเป็นเจ้าตลาดเบียร์ใน ประเทศไทยมากว่าครึ่งศตวรรษ ก็จำเป็นต้องหันกลับมาทบทวน
ตัวเอง และในที่สุด ก็ได้ตัดสินใจให้มีการจัดทัพใหม่ครั้งใหญ่
เป็นการปรับโครงสร้างภายในที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 69 ปี ตั้งแต่เริ่มต้นทำธุรกิจ
คอนเซ็ปต์ของการปรับโครงสร้างใหม่ครั้งนี้ เป็นการยก ระดับโรงงานผลิตที่มีอยู่
5 แห่ง เพื่อแยกการออกมาตั้งเป็น 5 บริษัท ส่วนบริษัทที่ทำหน้าที่จัดจำหน่าย
จะแบ่งเป็น 2 บริษัท แยกหน้าที่รับผิดชอบกันชัดเจน ระหว่างการดูแลตลาดภายใน
ประเทศและตลาดในต่างประเทศ
ทุกบริษัทที่แยกออกมาตั้งใหม่ จะอยู่ภายใต้การถือหุ้นของ บริษัทใหม่ คือ
บุญรอดอินคอร์ปอเรชั่น จำกัด และถูกกำหนดให้ การบริหารเป็นไปในรูปแบบ PROFIT
CENTER เพื่อให้การจัดการ มีประสิทธิภาพภายในตัวเอง มีรายได้และค่าใช้จ่าย
ในแต่ละเดือน ที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้
รายละเอียดของโรงาน 5 แห่ง ที่แยกออกมาตั้งเป็นบริษัท ประกอบด้วย บริษัทเชียงใหม่
เบเวอเรช จำกัด บริษัทวังน้อย เบเวอเรช จำกัด บริษัทปทุมธานี บริวเวอรี่
จำกัด บริษัทสามเสน บริวเวอรี่ จำกัด และบริษัทสุราษฎร์ธานี เบเวอเรช จำกัด
ส่วนบริษัทที่มีหน้าที่รับผิดชอบทางด้านการตลาดและการขาย ประกอบด้วย บริษัทบุญรอดเทรดดิ้ง
จำกัด เป็นผู้ทำ ตลาดและการขายในประเทศ และบริษัทบุญรอดเทรดดิ้ง อินเตอร์
เนชั่นแนล จำกัด จะทำตลาดและการขายในต่างประเทศ
ความแตกต่างของโครงสร้างใหม่ จะเปลี่ยนไปจากเดิม ที่โรงงานทั้งหมดเคยรวมศูนย์อยู่ภายใต้บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่
จำกัด เพียงแห่งเดียว ซึ่งจะทำหน้าที่ดูแลทั้งด้านการบริหารการ ผลิต การจัดการ
บัญชี และการเงิน ทำให้มีลักษณะเป็นเหมือน กงสีที่ดูแลธุรกิจของครอบครัว
แต่รูปแบบใหม่ ทำให้ภาพของบุญรอดฯ มีการบริหารงาน เป็นแบบมืออาชีพมากขึ้น
โครงสร้างใหม่ของค่ายเบียร์สิงห์ ได้เริ่มใช้มาตั้งแต่เมื่อ ปลายปี 2544
ขณะนี้อยู่ในช่วงของการประเมินผลในศักยภาพ รวมทั้งหาจุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละบริษัท
สันติ ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ ค่อนข้างมั่นใจว่า
โครงสร้างใหม่ที่ประกาศใช้นี้ จะเพิ่มประสิทธิภาพ และความคล่องตัวให้กับแต่ละบริษัท
และ จะมีผลต่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของทั้งเครือ ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง
และจำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นมามาก กว่าในยุคก่อน
รวมทั้งเป็นการจัดโครงสร้างของบริษัทในกลุ่ม เพื่อ เตรียมรองรับการเปิดรับพันธมิตรทางธุรกิจจากต่างประเทศ
ที่อาจมีการร่วมทุนกันเกิดขึ้นในอนาคต