ศาลล้มละลายกลางสั่งไม่เห็นชอบแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอตามที่อีพีแอล
ยื่นเสนอ โดยวินิจฉัยว่าหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูฯไม่ขัดกับกฎหมาย
ส่งผลให้การเลื่อนระยะเวลาขายสินทรัพย์รองและแก้ เกณฑ์ในแผนฯตกไป "ประชัย"
สบช่องจี้คณะกรรมการเจ้าหนี้และ จพท. ยื่นคำร้องขอให้ทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการทันที
เพราะพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าแผนฯไม่สามารถปฏิบัติได้ มิฉะนั้น ทีพีไอ จะดำเนินการยื่นขอออกจากแผนฯ
เอง ส่วน "อีพีแอล" ขอเวลาปรึกษา ทนายความว่าจะดำเนินการอย่างไร
ต่อไป
ยอมรับการตัดสินของศาลฯ จะมีผลกระทบต่อการขายโรงไฟฟ้า ทีพีไอแน่นอน วานนี้
(18 ก.ค.) คณะผู้ พิพากษา ศาลล้มละลายกลางได้พิจารณาคดีหมายเลขแดงที่ ฟ8/2543
กรณีที่บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ
แพลนเนอร์ส จำกัด (อีพีแอล) ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย
จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ ได้ ยื่นคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ ของทีพีไอและบริษัทในเครืออีก
7 บริษัท โดยคณะผู้พิพากษาได้อ่านคำสั่งไม่เห็นชอบกับคำร้องดังกล่าว โดยคำร้องเพื่อขอแก้ไขแผนฉบับแรก
เป็นคำขอแก้ไขวิธีการและเกณฑ์การลงมติยอมรับการแก้ไขแผน ส่วนคำร้องเพื่อขอแก้ไข
แผนฉบับที่สอง คือการขอเลื่อนกำหนดระยะเวลาการจำหน่ายทรัพย์สินที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลักมูลค่า
200 ล้านเหรียญสหรัฐจากวันที่ 31 ธันวาคม 2544 เป็น 31 ธันวาคม 2546 โดยเจ้าหนี้ทีพีไอร้อยละ
96.98 ของมูลหนี้ ลงมติเห็นชอบให้มีการแก้ไขตามคำร้องเพื่อแก้ไขแผนฉบับที่หนึ่ง
และเจ้าหนี้ร้อยละ 97.22 ของมูลหนี้ ลงมติ เห็นชอบให้มีการแก้ไขแผนฉบับที่สองเมื่อวันที่
7-8 พฤษภาคม 2545 นายวีระ
คำมี ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายบริษัท
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า
เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่ให้แก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอตามที่อีพีแอลร้องขอนั้น
ในแง่กฎหมายแสดงว่า อีพีแอลไม่สามารถดำเนิน การตามแผนฟื้นฟูฯได้ ซึ่งตามพ.ร.บ.ล้มละลาย
มาตรา 90/67
เปิดช่องให้ลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางให้ยกเลิกแผนฟื้นฟู
และเพิกถอนอีพีแอลออกจากการเป็นผู้บริหารแผนได้ "ในฐานะที่ตนเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายมากว่า
20 ปี
มีความเชื่อมั่นว่า จะสามารถเพิกถอนอีพีแอลออกจากการเป็นผู้บริหารแผนได้
ซึ่งเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ด้มีกรณีตัวอย่างของบริษัท ยูบี-เฮเวิร์ท (ประเทศไทย)
จำกัด ซึ่งถือเป็นลูกหนี้รายแรกในประวัติ
ศาสตร์ของศาลล้มละลายกลาง ที่สามารถต่อสู้จนเอาชนะเจ้าหนี้ได้ โดยได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้เปลี่ยนผู้บริหารแผนฟื้นฟูจนสำเร็จ
เพราะผู้บริหารแผนไม่สามารถบริหารแผนได้
และการบริหารแผนโดยทุจริต ไม่มีประสบการณ์และความชำนาญในการบริหารกิจการของลูกหนี้
ซึ่งในเรื่องนี้จะต้องฟังคำชี้ขาดต่อศาลต่อไป" นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทีพีไอ
กล่าวว่า หลังจากศาลล้มละลายกลางได้พิพากษาเรื่องดังกล่าว ตนเห็นว่าเรื่องนี้ทางคณะกรรมการเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(จพท.)
จะต้องดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางทำการพิจารณายกเลิกทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการทันที
เพราะพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ที่ผ่านมาแผนฟื้นฟูกิจการไม่สามารถปฏิบัติได้
หากคณะกรรมการเจ้าหนี้และจพท.ไม่ดำเนินการดังกล่าว ทีพีไอจะดำเนินการยื่นคำร้องขอยกเลิกทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป
"ที่ผ่านมา ผมได้ต่อสู้มาโดยตลอดว่า แผน
ฟื้นฟูกิจการทีพีไอไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ ซึ่งตนได้สู้และคัดค้านมาตลอด
เพราะถ้าปล่อยให้อีพีแอลขยายเวลาขายทรัพย์สินรองออกไป จะทำให้ฐานะทางการเงินของทีพีไอย่ำแย่กว่าที่เป็นอยู่
จนถึงขั้นไม่สามารถชำระเงินให้เจ้าหนี้ได้ เรื่องนี้นายสิปปนนท์ เกตุทัต
ประธานกรรมการบริษัทอีพีแอล จะต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ ที่ทำให้ทีพีไอเสียหายโดยไม่สามารถปฏิเสธได้
" อีพีแอลมืดแปดด้าน
นายปีเตอร์ กอทธาร์ด กรรมการผู้จัดการ อีพีแอล กล่าวว่า แผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ
ได้ระบุว่า ในการแก้ไขแผนที่เป็นสาระสำคัญจะต้องไม่มีเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งคัดค้าน
ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าว
อีพีแอลเห็นไม่มีความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติ จึงต้องการที่จะแก้ไขหลักเกณฑ์ให้มีความเหมาะสมในทางปฏิบัติมากกว่า
และเป็นแนวทางเดียวกับที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ล้มละลาย
แต่ศาลล้มละลายได้ปฏิเสธที่จะเห็นชอบ คำร้องนี้ โดยวินิจฉัยว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูฯไม่ได้ขัดแย้งกับพ.ร.บ.ล้มละลาย
"คำร้องขอแก้ไขแผนฉบับแรก
เป็นการขอความเห็นชอบให้มีการยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนด ว่า ในการประชุมเจ้าหนี้ตามแผนการปรับโครงสร้างทางการเงิน
เพื่อลงมติให้มีการแก้ไขแผนนั้น
หากมีการคัดค้านจากเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งการแก้ไขแผนในเรื่องนั้นจะต้องตกไป
โดยหลักเกณฑ์การขอแก้ไขแผนใหม่ที่อีพีแอลนำเสนอคำร้องที่ยื่นต่อจพท.นั้น
เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในพ.ร.บ.ศาลล้มละลายกลาง แต่ศาลล้มละลายได้ปฏิเสธที่จะเห็นชอบคำร้องนี้
โดยวินิจฉัยยึดตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูฯข้อที่ 13.5
และระบุว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนด ไว้ในแผนฟื้นฟูฯไม่ได้ขัดแย้งกับกฎหมายล้มละลาย"
สำหรับคำร้องเพื่อขอแก้ไขแผนฉบับที่สอง ในการขอเลื่อนขายสินทรัพย์รองออกไปเป็น
31 มีนาคม 2546
หรือวันอื่นที่อาจมีการขยายออกไปตามที่เสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมเจ้าหนี้ทาง
การเงินที่เข้าร่วมแผนปรับโครงสร้างหนี้เห็นชอบ
ซึ่งการเลื่อนกำหนดเวลาไปจนถึงวันดังกล่าว ได้คำนึงถึงเวลาที่ใช้ในการแก้ไขแผน
และเวลาที่ผู้บริหารแผนประเมินว่าจะใช้ในการสรุปการขายสินทรัพย์รองทั้งหมด
เมื่อศาลฯมีคำสั่งไม่รับการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ดังกล่าวข้างต้น ทางอีพีแอลก็คงต้องหารือเจ้าหนี้
ร่วมกับทนายความเพื่อหาแนวทางอื่นๆในการแก้ไขแผนฯต่อไป
ซึ่งคำตัดสินในครั้งนี้ไม่มีผลต่อการดำเนินงานของทีพีไอ นายเจษฎ์ เจษฎ์ปิยะวงศ์
ที่ปรึกษาอีพีแอล กล่าวว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่เห็นชอบให้อีพีแอลเลื่อนระยะเวลาการขายสินทรัพย์รองมูลค่า
200 ล้านเหรียญสหรัฐออกไปเป็นวันที่ 31 มีนาคม 2546 ย่อมส่งผลกระทบต่อแผนการขาย
สินทรัพย์รองของทีพีไออย่างแน่นอน ซึ่งหลังจากนั้นจะมีการประชุมเพื่อหาแนวทางออกต่อไป
เนื่องจากขณะนี้ไม่มีระยะเวลาแน่นอนว่าจะขายสินทรัพย์รองถึงเวลาใด เพราะขณะนี้ก็เลยเวลาสิ้นสุดเดิมเมื่อ
31 ธันวาคม 2544 มาแล้ว "ยอมรับว่าการขายโรงไฟฟ้าให้กลุ่มบ้านปูก็คงต้องชะลอลงแน่
รวมทั้งต้องขอคำยืนยันจากกลุ่มบ้านปูว่าจะยังสนใจที่จะซื้อโรงไฟฟ้าต่อไปหรือไม่
เพราะที่ผ่านมาทุกฝ่ายต่างรอคำสั่ง ศาลฯก่อนที่จะมีการลงนามสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้า"
แหล่งข่าวอีพีแอลกล่าว
นายเจษฎ์ กล่าวต่อไปว่า อีพีแอลคงต้องหา วิธีแก้ไขแผนฟื้นฟูฯให้มีความสมบูรณ์ขึ้น
เนื่อง จากขณะนี้ไม่มี Deadline ในการขายสินทรัพย์รอง ซึ่งเสมือนว่าแผนฟื้นฟูฯไม่สมบูรณ์
ทำให้ผู้ที่จะซื้อสินทรัพย์รองเกิดไม่มีความมั่นใจ และไม่กล้าเสี่ยง ซึ่งจะเป็นวิธีการใดนั้น
คงต้องหารืออย่างละเอียด ก่อนยื่นต่อศาลล้มละลายกลาง ต่อไป