อดีตผู้บริหารอีริเดียม คืนวงการไอทีหันหาธุรกิจเว็บทีวี เข็นกล่องสารพัดนึก
ต่อทีวีท่องอินเทอร์เน็ต ด้วยทีเด็ด ซอฟต์แวร์ เบราเซอร์ภาษาไทย มักน้อยขอขายแค่ปีละหมื่นเครื่อง
เตรียมเปิดตัวเดือนหน้าราคาไม่ถึง 1 หมื่บาท นายปิยะบุตร วสุธาร ประธานกรรมการบริหาร
บริษัท ศุภกรณบรรณสาร กล่าวว่าบริษัทเตรียมเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตทีวี
หรือเว็บทีวี ผ่านอุปกรณ์เซ็ตท้อป
บ็อกซ์ ในปลาย เดือนส.ค.ที่จะถึงนี้ ในหลักการที่ว่าเอา กล่องไปเสียบกับทีวี
แล้วทำให้ทีวีเป็น เหมือนคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
ไม่ได้เป็นไฮเทคโนโลยี
แต่น่าจะเรียกว่าเป็นมีเดียมเทคโนโลยี "มันน่าสนใจเพราะว่าทีวีเมืองไทยมีประมาณ
16 ล้านเครื่อง คนเล่น อินเทอร์เน็ตหรือหาข้อมูลจากเว็บไซต์ ใช้อีเมลประมาณ
4-5 ล้านคนจากประชากร 60 ล้านคน
ผมมองว่าถ้ารัฐบาลต้องการขยายข้อมูลไปยังประ ชาชนส่วนใหญ่ ก็น่าจะมีทางเลือกว่าจะซื้อคอมพิวเตอร์ซึ่งทำกิจกรรมนี้ได้
หรือไม่ต้องลงทุนมากซื้อกล่องผมไปต่อผ่านไอเอสพีและเช็กเว็บไซต์ ส่ง อีเมล
แชตได้" ราคาอุปกรณ์ครบชุดที่ประกอบ ด้วยเซ็ตท้อปบ็อกซ์ กล่องวิเศษหรือกล่องสารพัดนึกที่บริษัทกำลังหาคำง่ายๆให้คุ้นหูผู้บริโภค
พร้อมคีย์บอร์ด ไร้สายและรีโมทควบคุม ทั้งชุดในราคา ไม่เกิน 1
หมื่นบาท โดยจุดเด่นของกล่องสารพัดนึกนี้คือเป็นซอฟต์แวร์ไลเซ็นต์จากประเทศอังกฤษ
แต่เป็นภาษาไทย เบราเซอร์ในการท่องโลกไซเบอร์สเปซเป็นภาษาไทยซึ่งทำให้การ
ใช้งานง่ายเหมาะกับเป็นอุปกรณ์สนอง ตอบได้ทั้งความบันเทิง ไลฟ์สไตล์ เพื่อใช้ค้นหาข้อมูลเท่าที่เว็บไซต์ในปัจจุบัน
มี"พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตจะเปลี่ยนไป จากคุ้นเคยกับการนั่งหน้าจอคอม
พิวเตอร์
ก็จะเปลี่ยนเป็นนั่งบนโซฟาที่ห้องนั่งเล่นในบ้าน หรือเอกเขนกบนเตียงนอนเมื่อเบื่อกับการ
ดูทีวี ก็สามารถเช็กเว็บ หรือเช็กอีเมลได้ ถ้าแม่บ้านไม่คุ้นเคยกับการพิมพ์บนคีย์บอร์ด
ก็มีรีโมตเหมือนปาล์มขึ้น
เป็นตัวแคร่แล้วกดเลือกตามต้องการ ใช้งานได้สะดวกมาก โดยไม่ต้องเป็นเซียนคอมพิวเตอร์"
ศุภกรณบรรณสาร ชื่อบริษัทที่ดูไม่เหมาะสมกับการทำธุรกิจดิจิตอล
เตรียมเปิดตัวสินค้าดังกล่าวในปลายเดือนส.ค.ที่จะถึงนี้ ด้วยการมุ่งโฟกัสในการขายบอกซ์ใน
2 รุ่นคือรุ่นเบสิกสามารถเช็กเมล ท่องเว็บไซต์ กับรุ่นที่สูงขึ้นมาซึ่งสามารถดูทีวีไปพร้อมๆกับการเช็กเมล
เล่นอินเทอร์เน็ตได้ กลุ่มเป้าหมายที่น่าจะเป็นลูกค้า แบ่งได้เป็น1.พวกที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่ทำงาน
แต่ไม่มีความจำเป็นต้องซื้อคอมพิวเตอร์ไว้ที่บ้าน 2.กลุ่มที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี
อาจรู้จักคอมพิว-
เตอร์บ้างแต่ยังไม่กล้าซื้อใช้และ 3. กลุ่มครอบครัวที่ลูกใช้คอมพิวเตอร์ที่โรงเรียน
หรือแชตกับกลุ่มเพื่อนที่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน แต่ยังไม่คิดจะซื้อ คอมพิวเตอร์ไว้ที่บ้าน
เพราะยังไม่จำเป็นเพียงพอ
"บอกซ์นี้ไม่ได้แข่งกับคอมพิว-เตอร์ เพราะเราทำสเปรดชีทไม่ได้ ทำโฟโตช้อปไม่ได้ทำได้แค่ส่งอีเมล
พร้อม ไฟล์ภาพหรือไฟล์ข้อความอักษรได้ เช็กเว็บ แต่ทำไม่ได้หลายๆอย่างที่คอมพิวเตอร์ทำได้
และไม่คิดจะทำ" เป้าหมายเชิงการตลาด คาดว่าจะขายปีละประมาณ 1
หมื่นเครื่องซึ่งอยู่ในจุดที่พออยู่ได้แล้วโดยตัวผลักดันที่จะแจ้งเกิดสินค้านี้ในตลาดคือคนขายที่ผ่านการฝึกอบรมจากบริษัทต้องเข้าไปคุยกับลูกค้า
สาธิตการ ใช้งานจริง ต้องไม่ให้ลูกค้ารู้สึกกลัวเทคโนโลยี
ชี้ให้เห็นว่าการใช้งานง่ายกว่าการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ ส่วนวิธีการขายอาจใช้การขายพ่วงหรือ
บันเดิลเข้าไปกับไอเอสพีรายใหญ่ๆ ที่มีการรับประกัน คุณภาพในการเชื่อม ต่ออย่างล็อกซอินโฟร์
ไอเน็ต เคเอสซี ซี.เอส.อินเตอร์เน็ต "ผมคงขายผ่านตัวแทนขายตรง ต่างๆที่มีลูกค้าอยู่ในมืออย่างพวกประกัน
หรือพวกมีร้านอยู่ในพื้นที่ซึ่งได้ รับความเชื่อถือจากคนรอบข้างอาจเป็น
ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ หน้าที่ผม คือหาคนพวกนี้แล้วมาฝึกอบรมให้เข้า
ใจสินค้า แต่การทำตลาดแบบโฆษณา เต็มหน้าหนังสือพิมพ์ผมคงไม่ทำ"
บอกซ์ที่เขาใช้เวลาหาพร้อมพัฒนาซอฟต์แวร์ภาษาไทยเป็นเวลากว่า 2 ปี ภายหลังจากที่อพยพตัวเองออกมาจากอีริเดียมของกลุ่มยูคอม
และห่างหายไปจากวงการโทรคมนา-คม
เป็นความมั่นใจที่ว่าต้องการหาสิน ค้าคุณภาพดีราคาถูก มาเป็นทางเลือก ให้ประชาชนคนไทยได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วถึง
ซึ่งด้วยเทคโนโลยีของ กล่องสามารถฟังเพลง MP3 ดูหนัง
ได้ทันทีเพียงแต่หากคู่สายโทรศัพท์เป็นบรอดแบนด์ กล่องนี้ยังมีช่องเสียบ
แลน เพื่อการใช้งานสื่อสารในกลุ่มองค์ กรซึ่งทำให้สามารถเจาะตลาดองค์กรหรือรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ได้
มีช่องต่อพริ้นเตอร์
โมเด็ม เอสวิดีโอ พร้อมไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ที่พร้อมรองรับ ทั้งสาระและความบังเทิงในบ้าน
เป้าหมายของบริษัทเริ่มจากการ ขายกล่อง ให้กระจายไปถึงครัวเรือนให้ มากที่สุด
แต่ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว สามารถพัฒนาธุรกิจ ไปสู่รูปแบบ อีคอมเมิร์ซได้ด้วย
ซึ่งจะเป็นการร่วมมือเชิงธุรกิจระหว่างผู้ผลิตรายการทีวี เจ้าของสินค้าที่ต้องการขาย
สปอนเซอร์ที่โฆษณาจะได้ผลมากกว่าแค่การ ตอกย้ำแบรนด์ แต่ขายของได้ด้วย และศุภกรณบรรณสารที่เป็นคนกลางเชื่อมโยงทุกสิ่งเข้าด้วยกัน
"ผมออกจากอีริเดียมที่จัดเป็นตลาดเฉพาะมากๆ
ถึงแม้เทคโนโลยีดีแค่ไหน แต่การตลาดผิด ราคาผิด การคาดเดาดีมานด์ผิด หลังจากนั้นผม
ก็มองธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับโทรคมนาคม ผมสนใจเรื่องข้อมูลคิดว่ามีโอกาส
ถ้ามีการจัดระบบให้ข้อมูลถึงมือผู้บริโภค มากที่สุด หาเงินได้ โดยหาเทคโนโลยี
ง่ายที่สุด แต่มีคู่แข่งแน่นอนเราต้อง หา วิธีการให้ค่าของบริการที่ให้กับเงินที่เก็บจากลูกค้าคุ้มค่า"