บีโอไอพลิกบทบาทใหม่ทั้งใน-ตปท. เน้นวิสาหกิจชุมชน


ผู้จัดการรายวัน(10 กรกฎาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

บีโอไอเตรียมปรับการทำงานในสำนักงานบีโอไอทั้งต่างจังหวัดและต่างประเทศใหม่เร็วๆ นี้เพื่อสอดรับยุทธศาสตร์ชาติที่จะดันวิสาหกิจชุมชนไทยที่ส่วนใหญ่เป็น SMEs เชื่อมโยงกับทุกประเทศ

โดยมีเป้าหมายใน 5 อุตสาหกรรมหลัก วางงบประมาณทำงานตามกรอบ 7 ยุทธศาสตร์บีโอไอ 200 ล้านบาท/ปี ยึดตัวเลขลงทุนเข้าไทยไม่ต่ำกว่าปีละ 2 แสนล้านบาท

พร้อมจับมือวท.มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ นวัตกรรมใหม่ นายสมพงษ์ วนาภา เลขา- ธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ เปิดเผยว่า

บีโอไอเตรียมที่จะปรับบทบาทการทำงานในส่วนของสำนักงาน บีโอไอต่างจังหวัดที่มีอยู่ 6 สาขาและสำนักงานบีโอไอต่างประเทศ ที่มีอยู่ 4 สาขา โดยจะทำงานประสานกับกระทรวงอุตสาหกรรม

กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และอื่นๆ ในการส่งเสริมวิสาหกิจ ชุมชนที่จะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ภาครัฐบาลโดยวิสาหกิจชุมชนที่

ส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดกลาง และย่อม (SMEs) ของไทยเชื่อมกับ SMEs ต่างประเทศ สำหรับเป้าหมายอุตสาหกรรม จะเน้นสอดคล้องกับรัฐ คือ 5 อุต-สาหกรรมหลักได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร

ยานยนต์ อัญมณี และเครื่อง ประดับ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และสิ่งทอ โดยจะมองภาพรวม ให้เป็นกลุ่มหรือ Cluster ลงไป และกำหนดประเทศเป้าหมาย เช่น อุตสาหกรรมแฟชั่น

ก็ต้องมองประเทศผู้นำอย่างฝรั่งเศส อิตาลี สำนักงานบีโอไอต่างประเทศจะต้อง เชื่อมโยง SMEs กลุ่มประเทศเป้าหมายดังกล่าวเข้ามาเชื่อมกับ SMEs ไทยให้ได้ เป็นต้น

ทั้งนี้บทบาทดังกล่าวถือเป็นบทบาทใหม่ที่บีโอไอในอดีตไม่เคยดำเนินการซึ่งถือเป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่จะนำไปสู่แผนยุทธ- ศาสตร์ ที่วางไว้ 7 อย่าง ได้แก่

1.การแก้ไขปัญหานักลงทุนและเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน 2.การบริหารงานส่งเสริมการลงทุน เพื่อลดขั้นตอนการส่งเสริมที่ยุ่งยาก 3.การปฏิบัติการตลดาเชิงรุก

มุ่งเป็นประเทศและอุตสาหกรรมที่จะชักจูงการลงทุน 4.พัฒนาองค์กร ให้มีความรู้ในเรื่องข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศเพื่อกระตุ้นผู้ประ- กอบการไทย เพื่อเตรียมความพร้อม รับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

5.การพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายการลงทุน 6.การเสริมสร้างความแข็ง แกร่งและความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทย 7 การพัฒนาและสถาปนาวิสาหกิจชุมชน นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ

แผนปฏิบัติงานซึ่งเราได้ระดมสมอง ร่วมกับพนักงาน 300 คนแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งยุทธศาสตร์ ดังกล่าววางแผนทำงานไว้ 3 ปี แต่ตัวเลขชี้วัดเพื่อเป้าหมายของเม็ด

เงินลงทุนยังไม่ได้มีการวางแต่คงจะยึดหลักให้การลงทุนเข้ามาปีละไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาทเช่นเดิม ซึ่งแผนทั้งหมดคงจะต้องใช้งบประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี"Žนายสมพงษ์กล่าว อย่างไรก็ตาม

สาขาบีโอไอในต่างประเทศนั้นจำเป็นจะต้องมีการขยายเพิ่มขึ้นจากเดิมมีเพียง 4 แห่ง โดยเร็วๆ นี้ จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดสาขาที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศ จีน ภายในปีนี้

และกำลังพิจารณาอีกหนึ่งเมืองในจีนแต่คงจะต้องรอ บอร์ดบีโอไออนุมัติหลักการก่อน ส่วนในปีงบประมาณ 2546 จะเปิดสำนักงานบีโอไอที่โอซากา

ประเทศญี่ปุ่นจากที่ก่อนหน้าได้ปิดลงไปเพราะมีปัญหาช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ พร้อมกับเปิดที่เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เลขาธิการบีโอไอกล่าวว่า จากนี้

ไปบีโอไอจะมุ่งเน้นการให้การส่งเสริมการลงทุนที่พิจารณาจากทักษะ เทคโนโลยี โอกาสของการเข้าไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ ตลาดใหม่ หรือเรียก ว่านวัตกรรมใหม่ โดยไม่ได้มอง

แค่เพียงเม็ดเงินลงทุนอย่างเดียว เพราะในโลกปัจจุบันเศรษฐกิจมาจากรากฐานทางปัญญาไทย จำเป็นจะต้องไต่บันไดเพื่อไปสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้ได้

โดยแนวร่วมของ เราก็คือสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) ที่จะต้องก้าวไปด้วยกันในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ อุตฯวาง 7

ยุทธศาสตร์ นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปีงบประมาณพ.ศ.2546 กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีรวมทั้งสิ้น 4,246.537

ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2545 เป็นจำนวน 32.741 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.78 โดยกำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 7 ประการ ได้แก่ 1.การชี้นำและกำกับดูแลอุตสาหกรรมและ SMEs

โดยการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ กฎระเบียบ มาตรฐานสากล และสามารถลดความเสี่ยงกับความไม่ แน่

นอนจากเศรษฐกิจโลกให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 2.การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมและ SMEs

โดยมีเป้าหมายให้การผลิตและการส่งออกภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นและมีศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น 3.การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ ส่งเสริม

ให้ผู้ประกอบการมีจำนวนเพิ่ม มากขึ้นและใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตและการบริหารจัดการ 4.การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของวิวสหกิจชุมชน มีเป้าหมายให้สินค้าของชุมชนมีคุณภาพสูงขึ้น

สามารถเชื่อมโยงสู่ตลาดได้มากขึ้น ผู้ประกอบการสามารถปรับใช้ความรู้สมัยใหม่เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการผลิต 5.เพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติด้านทรัพยากรธรณี

6.เพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนา ใช้อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล 7.เพิ่มขีดความสามารถในการ จัดหาพลังงาน



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.