5ปีบทเรียนวิกฤติเศรษฐกิจ "ประชัย"ชี้ต้องแก้กม.ฟื้นฟู


ผู้จัดการรายวัน(10 กรกฎาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

วันที่ 2 กรกฎาคม 2545 ถือเป็นวันครบรอบ 5 ปี ที่ไทยลดค่าเงินบาท จาก 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ โดยปล่อยให้ค่าเงิน บาทลอยตัวไปตามภาวะที่เป็นจริง ทำให้เศรษฐกิจไทยดิ่งเหวตามค่า เงินบาทด้วย

และส่งผลให้กิจการใหญ่ๆ รวมทั้งบุคคลจำนวนมากมาก ประสบกับวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ หลายองค์กรกลายเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระได้ เกิดการยึดกิจการจนทำให้หลายบริษัทต้องปิดตัวลง

หนึ่งในนั้นก็มี กลุ่มบริษัททีพีไอของ "ประชัย เลี่ยวไพรัตน์" รวมอยู่ด้วย เนื่องเพราะทีพีไอเป็นบริษัทหนึ่งที่อาศัยเงินกู้จากต่างประเทศ มาดำเนินและขยายกิจการ

เมื่อค่าเงินบาทลดลงหนี้สินที่มีอยู่เดิมก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จนทำให้ทีพีไอกลายเป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่สุดในประเทศ 5 ปีที่ผ่านมา "ประชัย เลี่ยวไพรัตน์"

ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) พยายามต่อสู้เพื่อไม่ให้ต่างชาติเข้ามายึดกิจการมาโดยตลอด แต่สุด ท้ายแล้ว บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมิกัลไทย

หรือทีพีไอ ต้องตกเป็น ของเจ้าหนี้ต่างชาติ เหลือแต่เพียงบริษัททีพีไอโพลีน ซึ่งผลิตปูน ซีเมนต์ที่เขายังคงบริหารอยู่ 5 ปีที่ผ่านมา เขาดำเนินการต่อสู้อย่างไร บทเรียนที่เขาได้รับ คืออะไร

และขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา "ประชัย เลี่ยวไพรัตน์" ได้มา พูดคุยถึงเรื่องเหล่านี้ในรายการก่อนจะถึงวันจันทร์ ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยมีอนุชิต จุรีเกษ เป็นผู้ซักถาม

รายละเอียดการพูดคุยมีดังนี้ ................ อนุชิต : หลังจากมีการประกาศลดค่าเงินบาทเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา จนทำให้เศรษฐกิจเราดิ่งลงเหว คุณประชัยเหนื่อยไหมครับ และรู้สึกอย่างไร ประชัย : ก็เหนื่อยครับ

เป็นธรรมดาอยู่เอง มันคล้ายๆ ว่าเราถูกเขาปล้น ประเทศทั้งประเทศ ถูกเขาปล้น แล้วเราก็โดนเขาปล้นไปโดยที่รัฐบาล เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาปล้นเรา เราก็พยายาม ต่อสู้เพื่อความถูกต้อง

เพื่อให้ประเทศชาติอยู่ได้ ก็เป็นวิธีการสู้อันหนึ่ง แต่ว่าเราก็พยายามที่จะจรร โลงไว้ อะไรที่เป็นของคนไทยมันก็ควรจะเป็นของ คนไทยอยู่ เพราะถ้าต่างชาติเอาไปหมด เราจะไม่ เหลืออะไรเลย อนุชิต

:ตอนที่คุณประชัยเริ่มต้นธุรกิจ และกู้เงินจากต่างประเทศมามากมาย เคยคิดไหม ว่าจะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ แล้วเคยกลับมามองไหมว่าเราวางแผนอะไรผิด ประชัย : เริ่มต้นนะครับ เราก็ไม่ได้คาดคิด

ว่าเรื่องอย่างนี้จะเกิดขึ้นแล้วก็คิดว่าอย่างไรรัฐบาล ก็ต้องให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน เราก็เหมือน ผู้ใต้ปกครอง รัฐบาลมีหน้าที่ต้องคุ้มครองประ- ชาชน แล้วเราคิดว่าถ้ามีปัญหาอะไร ยังไงรัฐบาล

ต้องช่วยเราตลอด เพราะเป็นธุรกิจของคนไทย อนุชิต : เป็นไปได้ไหมที่ว่าสถานการณ์ใหญ่ เกินกว่าที่รัฐบาลจะมาช่วย เพราะไม่ใช่แต่เรื่องของ คุณประชัยคนเดียวเท่านั้น แต่มีหลายองค์กร ประชัย : ครับ

มันก็เป็นคล้ายๆ แบบนั้น แต่ข้อเท็จจริงนี่ ทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะรัฐบาลปล่อยให้เขามาปล้น คือในการลดค่าเงินบาท จน กระทั่งประเทศเราเสียหายหมด และก็มีบางคนได้ผลประโยชน์ไปเท่านั้น

อย่างโซรอสพวกนี้เข้า มาปล้น และแทนที่จะถือว่าประชาชนคนไทยที่ถูกปล้นไปเป็นผู้เคราะห์ร้าย กลับถือว่ามาเป็นผู้ร้าย และไปเชื่อต่างชาติให้ออกกฎหมายเข้ามา ยึดสมบัติของเรา

ซึ่งตรงนี้ก็ขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ อนุชิต : ถ้าสมมติต่างชาติไม่เข้ามาทางออก ที่คุณประชัยมองเห็นว่าน่าจะทำได้จะเป็นทางไหน ประชัย :ถ้าต่างชาติไม่เข้ามาและรัฐบาลไทย ให้การคุ้มครอง

อย่างที่มหาเธร์ (นายกรัฐมนตรี มาเลเซีย) เขาทำไว้แล้ว คือ Exchange Control หรือ Capital Control เขาก็ทำได้ผล คือเขาป้องกันไม่ให้ต่างชาติถล่มค่าเงิน แล้วเงินที่ต้อง

รีบชำระก็ให้ชำระตามหมายกำหนด เพราะฉะนั้นประเทศมาเลเซียอยู่ได้สบาย และเป็นวิธีการที่ถูกต้อง อนุชิต : ตอนนี้บรรดาเพื่อฝูงของคุณ ประชัยมาพูดถึงนโยบายที่รัฐบาลทำมาตลอดเวลา 5 ปี

ว่าตกลงเราเดินผิดพลาดหรือเราเดินมาพอจะถูกทางบ้างครับ ประชัย :ตลอดเวลา 5 ปีนี่มันผิดพลาด เพราะรัฐบาลไปถือว่านักธุรกิจเป็นผู้ร้ายไม่ชำระเงิน จริงๆ มันเป็นผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกเขาปล้น

ถ้ารัฐบาลออกกฎหมายช่วยผู้เคราะห์ร้าย ทุกอย่างมันก็จบ ให้พักชำระหนี้ไว้ก่อน แล้วหลังจากนั้นเขามีกำไรก็เอามาคืน เพราะฉะนั้นจะไม่มีใครเดือดร้อนเลย อนุชิต : ตอนที่คุณประชัยเริ่มสร้างอาณา

จักรทีพีไอขึ้นมา เคยคิดถึงสถานการณ์ที่เศรษฐ กิจเราจะเป็นอย่างนี้หรือไม่ ประชัย :เรื่องพวกนี้เราต้องคิดอยู่เสมอ คิดอยู่ตลอดเวลา แต่ที่มาพลาดเพราะว่าในความ เป็นจริงแล้ว

ประเทศไทยไม่ใช่เป็นฟองสบู่อย่าง ที่เขาพูดกัน ถ้าเป็นฟองสบู่จริง ค่าครองชีพเราต้องแพงกว่าอเมริกา ดูซิครับ ค่าแรงขั้นต่ำของเรา ก็แค่ 150 บาท/วัน ของอเมริกา ค่าแรงขั้นต่ำอย่างน้อยก็ 5-10

เหรียญ/ชั่วโมง ถ้าเราเป็นฟอง สบู่จริง ค่าแรงขั้นต่ำเราต้องแพงกว่าคนอเมริกัน มันก็ไม่ได้แพงกว่าเขา แสดงว่านี่มันเป็นภาพหลอนซึ่งทาง IMF (International Monetary Fund)

มาบอกให้เราพยายามคิดว่าเป็นสบู่ อนุชิต : นั่นก็คือเป็นความพยายามให้เราไปในแนวทางที่เขาต้องการจะเข้ามายึดธุรกิจและเศรษฐกิจของไทย นี่คือสิ่งที่คุณประชัยเข้าใจ ประชัย : ครับ

เขาตั้งเงื่อนไขต่างๆ ไว้ เพื่อที่จะให้จอร์จ โซรอส เข้ามาปล้นประเทศได้ เมื่อ เข้ามาปล้น แล้วประเทศไม่มี Foreign Exchange พอ เขาก็มายึด เวลาเข้ามายึดเขาก็ไม่ต้องเอาเงินดอลลาร์เข้ามา อย่าง ปรส.

(องค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน) นี่ ที่บอกว่าต่างชาติจะเอาเงินดอล ลาร์เข้ามา เขาไม่ได้เอาเงินเข้ามาเลย เขาเอาเงินบาทนี่ซื้อทรัพย์สินจากปรส. ที่มีมูลค่า 1 ล้านล้าน บาท ก็ซื้อแค่ 2 แสนล้าน

แล้วก็ขายกำไร 5-6 แสนล้าน แล้วก็เอากำไรเป็นดอลลาร์ส่งออกไปต่างประเทศ นี่เป็นการปล้นกันชัดๆ อนุชิต : ตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมานี้ คุณประชัยต่อสู้ทางด้านความคิดนี้ มีเพื่อนที่ร่วมเดิน ไปด้วยไหม

หรือว่าทุกคนหายไปเพื่อช่วยเหลือตัวเองกันหมด ประชัย : คือผมคิดว่าผมมีเพื่อนทั้งประเทศ คน 70-80% ก็โดนแบบนี้ทั้งนั้น แต่ละคนเขาเรียกว่า Silent Majority คือเป็นคนที่เงียบ ไม่กล้าพูดออกมา

กลัวว่าแบงก์จะหาทางเล่นงานเขา ข้อเท็จจริงนี่ ถ้าถือว่านักธุรกิจทั้งหลายเหล่านี้เป็น ผู้เคราะห์ร้าย รัฐบาลออกมาตรการมาพักหนี้อย่าง บสท. (บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย) ให้มีประ-สิทธิภาพขึ้นมา

ผมคิดว่าธนาคารก็จะได้รับผลดี ไปด้วย เพราะท้ายที่สุดธนาคารก็จะได้รับเงินคืน ตลอดเวลาที่เราสู้มานี่ สู้เพื่อให้ธนาคารได้รับเงิน คืน ผมไม่ได้สู้เพื่อว่าให้หนี้มันหายไปโดยทางไม่ดีนะ

เราสู้เพื่อให้เราสามารถมาบริหารกิจการได้ เพื่อที่จะให้ธนาคารได้รับหนี้คืนเร็วขึ้น วันนี้ธนาคารเขาเข้าใจผิด เขาก็ไปรับคำยุแหย่จากต่างชาติ บอกว่าเขาจะทำงานเก่งกว่าเรา และบริหารเก่งกว่าเรา

จะคืนหนี้ได้เร็วขึ้น แล้วให้เขาเข้ามาบริหารก็ปรากฏว่าเขามาปล้นเมืองไทยออกไปอีกเช่นกัน อย่างของทีพีไอนี่ 2 ปีที่ผ่านมา อีพี (Effective Planner) เข้ามานี่ เขาเอาไปตั้งกว่า 2 พันล้านแล้ว

และบริษัทก็เลวลงไปอีก เป็นหนี้มากขึ้นไม่ใช่หนี้ลดลง นี่เป็นตัวเลขที่เป็นหลักฐานแท้จริง อนุชิต : คุณประชัยต่อสู้เรื่องที่ต่างชาติมายึดครองธุรกิจของคนไทยมาโดยตลอด

แต่ว่าธุรกิจที่ล่มสลายไม่ได้มีแต่เฉพาะของคุณ ประชัยคนเดียว มีหลายๆ กิจการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของธนาคาร โรงปูนโรงเหล็ก ธุรกิจค้าปลีก ทำไมพวกเขาดูจะเงียบ

ไม่ได้ออกมาเหมือนคุณประชัยเท่าไหร่ ประชัย : ก็ต่างคนต่างความคิดนะ อย่างที่เราคิดนี่ เราคิดว่าเมื่อรัฐบาลที่แล้วเดินทางผิด มันก็ควรจะแก้ไขเพื่อความอยู่ดีกินดีของประเทศชาติในอนาคต

ถ้าไม่แก้ในอนาคตลูกหลานของเราจะทำอย่างไร นี่ผมเป็นห่วงประเทศมันถึงต้องอย่างนี้ ถ้าผมไม่ห่วงประเทศ ผมก็ซื้อดอลลาร์ตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว เราไม่เป็นเด็กดี เราปั่นดอลลาร์

ตอนนี้ผมก็ไม่ต้องเป็นอย่างนี้ ทีนี้เมื่อเราห่วงประเทศมากไป บางทีมันก็เจ็บตัวเรา อนุชิต : เป็นไปได้ไหมครับที่เราเคยเชื่อว่า ตะวันตกมีความเป็นธรรมาภิบาล เหมือนกับตอน

นี้ความจริงเริ่มเปิดเผยว่าที่อเมริกามีบริษัทตก แต่งบัญชี บริษัทใหญ่ๆ ล้มกัน แล้วก็เปิดเผยมา ว่าแท้จริงนี่ทั้งโกงทั้งหลอกลวงเขาเหมือนกัน แต่บริษัทเหล่านี้ก็เข้ามาเป็นที่ปรึกษา

ทั้งของบริษัทและของรัฐหลายองค์กร คุณประชัยเห็นด้วยกับคำพูดนี้ไหม ประชัย : ผมคิดว่าธรรมาภิบาลของต่างชาติ มันมีอยู่ระดับหนึ่ง บริษัทใหญ่ก็มีบ้าง บริษัทเล็ก ก็มีบ้าง ทั่วๆ ไปก็มี

แต่ของคนไทยเราไม่ใช่ไม่มี เพราะว่าเราเป็นประเทศพุทธศาสนา เราถูกอบรมในทางพุทธศาสนา ในเรื่องศีลธรรมมาตั้งแต่เด็ก ศีลธรรมนี่ก็คือธรรมาภิบาลชั้นสุดยอด ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านทำมาตั้งแต่ก่อน

2500 ปีมาแล้ว เรานี่ตั้งแต่เกิดมาพ่อแม่ก็บอกว่า ห้ามโกหก ห้ามหลอกลวง ห้ามขโมยของ ห้ามเบียด เบียนเขา พวกนี้คือธรรมาภิบาลเลยครับ ซึ่งฝรั่งเขาเอามาดัดแปลงเป็น good governance ใน

corperate ซึ่งพวกนี้เราทำมาตั้งแต่เด็ก เกิดมาผมจำความได้ คุณพ่อคุณแม่ก็สอน ผมให้รู้จักศีลธรรม ผมมีอยู่แล้ว ถ้ามาเรียนศีลธรรมพวกนี้ตอนแก่ รับรองไม่ได้เรื่องหรอก

ก็มีแต่หลอกลวงกันไปหลอกลวงกันมาเท่านั้นเอง อนุชิต : แล้วอย่างนี้เราจะทำอย่างไรดีที่ จะสกัดกั้นกระบวนการจากต่างชาติที่ไม่มีธรรมา ภิบาลเข้ามาในไทย ตอนนี้สายเกินไปไหมที่เราจะคิดเรื่องนี้

ประชัย : มันไม่สายไปครับ การที่ต่างชาติจะเข้ามาบีบหรือมาทำอะไรเรานี่ มันอยู่ที่รัฐบาลไทย ถ้ารัฐบาลเราช่วยปกป้องต่างชาติก็ไม่มีสิทธิ์ ที่จะเข้ามาได้เลย แต่ถ้ารัฐบาลไทยเหมือนกับรัฐบาลชุดที่แล้ว

คอยเปิดประตูให้ต่างชาติเข้ามาโจมตีเรา และบอกว่าคนไทยเป็นคนผิด ทั้งๆ ที่ถูกเขาปล้นจนหมดตัว อย่างนี้ละก็ประเทศไทย หมดตัวแน่ อนุชิต : ถ้าตอนนี้คุณประชัยสามารถบอก

รัฐบาลให้ทำอะไรที่สำคัญๆ เหมือนเป็น breaker ตรงนี้บ้าง มีอะไรที่อยากจะบอกรัฐบาลเอาเรื่องด่วนที่สุดเลย ประชัย : เร่งด่วนที่สุดก็คือต้องแก้กฎหมาย ฟื้นฟู ว่ากฎหมายฟื้นฟู ณ วันนี้

บางข้อขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ อย่างกฎหมายฟื้นฟูอันนี้นี่ copy มาจาก chapter 11 ของอเมริกา แต่ chapter 11 ของอเมริกานี่เขาให้ลูกหนี้เป็นผู้บริหารแผนไม่ใช่เจ้าหนี้

เพราะว่าธุรกิจทรัพย์สินของลูกหนี้ยังเป็นของลูกหนี้ ไม่ใช่ของเจ้าหนี้ แต่ที่นี่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ดี กระทรวงยุติธรรมก็ดี ผู้พิพากษาก็ดี เข้าใจว่าทรัพย์สินนี้เป็นของเจ้าหนี้

เพราะฉะนั้นเจ้าหนี้จะทำอะไรก็ได้ แต่ทีนี้มันไม่ใช่ จะเป็นของเจ้าหนี้ได้ต่อเมื่อคุณฟ้องล้มละลาย พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้วก็ขายทอดตลาดแล้วเจ้าหนี้ซื้อกิจการไป นั่นแหละจึงเป็นของเจ้าหนี้ ณ

วันนี้กฎหมายฟื้นฟูนี่เพื่อให้ลูกหนี้สามารถยืนอยู่บนขาตัวเองได้ นี่คือเจตนารมณ์ของกฎหมาย ธุรกิจนี้ยังไม่ได้เป็นของเจ้าหนี้ เพราะฉะนั้นการที่ให้เจ้าหนี้มีสิทธิ์เลือกผู้บริหาร แผนนี่

มันขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย คือขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 48 ที่ระบุว่าทรัพย์สิน ของประชาชนต้องได้รับการคุ้มครอง นี่ขัดอย่าง แรงเลย อย่างอเมริกาเขาถึงไม่กล้าให้เจ้าหนี้เป็น ผู้ทำแผน

เขาให้ลูกหนี้เป็นผู้ทำแผน อนุชิต : ถ้าขัดต่อรัฐธรรมนูญนี่ ที่ทำกันไปต้องถือเป็นโมฆะด้วยหรือเปล่า ประชัย : มันต้องเป็นโมฆะและขัดรัฐ- ธรรมนูญอย่างแรง อย่างอเมริกานี่นายทุนเขาก็คุม รัฐสภาอยู่

ทำไมนายทุนเขาถึงไม่เป็นคนเลือกผู้ทำแผน เพราะมันขัดรัฐธรรมนูญเขาถึงทำไม่ได้ เขาจึงให้ลูกหนี้เป็นผู้ทำแผน ทำแผนแล้วก็เสนอ ให้เจ้าหนี้ ถ้าเจ้าหนี้ไม่พอใจ บริษัทนี้ล้มละลายไป แล้วเขายึดไปเลย

อย่างนั้นก็จบ แต่ถ้าเจ้าหนี้ พอใจก็ดำเนินกิจการต่อ ทำให้เจ้าหนี้ได้เงินคืนเร็ว ขึ้น นี่คือเจตนารมณ์ของกฎหมาย ตรงนี้ผมอยากให้รัฐบาลต้องรีบแก้กฎหมายข้อนี้ อย่างบสท.ก็เช่นเดียวกัน

บสท.เขาบอกชัดนะว่าให้ลูกหนี้เป็นผู้ทำแผน อีกประเด็นหนึ่งก็คือ เรื่องเกี่ยวกับธนาคาร ของเมืองไทยนี่ ขณะนี้มีทุนไม่พอ รัฐบาลควรที่จะเพิ่มทุนของธนาคารให้พอ เมื่อธนาคารมีเงินพอ

แล้วก็ปล่อยกู้ได้มากขึ้น เศรษฐกิจของไทยจะได้ขับเคลื่อนไปได้เร็ว สองจุดนี้เป็นจุดสำคัญที่สุด อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ควรจะแก้กฎหมายบสท. ให้ลูกหนี้ทุกคนที่มีปัญหาสามารถเข้าสู่บสท.ได้

และพักหนี้ประชาชนได้ คนจะได้เลิกเดือดร้อนเสียที



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.