กรณีบริษัทใหญ่อเมริกันใช้ลูกเล่นแต่งบัญชีโผล่ขึ้นมาอีก 2 ราย ได้แก่ ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตยา
เมอร์ค แอนด์ โค กับบริษัทซื้อขายพลังงาน รีไล แอนต์ รีซอร์เซส
กลายเป็นแรงเหวี่ยงทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนยวบเมื่อวานนี้ (8) และดึงเอาหุ้นเอเชียกับหุ้นยุโรปดำดิ่งตาม
ขณะ ที่ประธานธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (บีไอเอส)
ออกมาเตือนว่าการที่บริษัทต่างๆ ให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งมีคุณภาพต่ำเป็นหนึ่งในบรรดาปัจจัยเสี่ยงใหญ่ๆ
ที่อาจบ่อนทำลายการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
เมอร์คกลายเป็นบริษัทอเมริกันชั้นนำรายล่าสุดถัดจากเอนรอน , เวิลด์คอม ,
และซีร็อกซ์ ซึ่งต้องออกมายอมรับว่างบดุลบัญชีของตัวเองมีความผิดพลาด บริษัทยายักษ์ใหญ่แห่งนี้
แถลงยอมรับข่าว
ของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลฉบับวันจันทร์ (8) ที่ว่าตนได้ยื่นหนังสือแจ้งคณะกรรม
การกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (เอสอีซี) ว่าได้บันทึกว่ามีรายได้
12,560 ล้านดอล
ลาร์จากกิจการด้านผลประโยชน์ทางเวชภัณฑ์ของ ตนในระหว่างช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
ทั้งที่ข้อเท็จจริงแล้วกิจการในเครือแห่งนั้นไม่เคยเก็บเงินอะไรได้เลย ข่าวนี้เมื่อผสมโรงเข้ากับอีกข่าวหนึ่งซึ่งแพร่
ออกมาในคืนวันศุกร์(5) ที่ว่า รีไลแอนต์ รีซอร์เซส บริษัทใหญ่ด้านซื้อขายพลังงานและผลิตไฟฟ้า
กำลังปรับตัวเลขงบดุลบัญชีในรอบระยะ 3 ปีของ ตนใหม่ ซึ่งจะตัดลดรายได้ของบริษัทลงมา
7,900
ล้านดอลลาร์ ก็ทำให้ตลาดการเงินโลกช็อกกันทั่วถ้วนอีกรอบหนึ่ง และยิ่งเพิ่มความหวาดผวา
เกี่ยวกับฐานะทางการเงินอันแท้จริงของพวกบริษัทในอเมริกา ดอลลาร์อ่อนยวบ
เงินดอลลาร์นั้น
ได้ดีดตัวกระเตื้องขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว ภายหลังตกลงมาแรงๆ จนแทบจะเหลือมูลค่าเท่ากับ
1 ดอลลาร์แลกได้เพียง 1 ยูโร แต่เมื่อเจอกับข่าวบริษัทใหญ่อเมริกันแต่งบัญชีทับทวีเข้ามาอีก
เงินตราสหรัฐฯก็ยุบตัว ในช่วงเที่ยงที่ตลาดลอนดอนเมื่อเทียบกับ เงินยูโร
ดอลลาร์อยู่แถวๆ 1 ยูโรแลกได้ 0.9835 ดอลลาร์ลดค่าลงมาราว 1% จากในวันศุกร์
และ
ทำท่าหวนกลับไปสู่ระดับอ่อนสุดในรอบสองปีที่ 0.9990 ดอลลาร์ ซึ่งทำไว้เมื่อเดือนที่ผ่านมา
ส่วนเมื่อเทียบกับเงินเยนตอนเที่ยงในลอน ดอน 1 ดอลลาร์แลกได้ 118.80 เยน
เหลืออีกไม่ถึงครึ่งเยนก็จะถึงระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน บรรดาดีลเลอร์บอกว่า
ความเคลื่อนไหวใน ตลาดเงินตราเช่นนี้ เป็นผลเนื่องมาจากความอ่อน แอของดอลลาร์
มากกว่าเป็นเพราะตลาดเห็นว่าเงินตราสกุลอื่นๆ แข็งค่าขึ้น "ภาวะตลาดหมีของเงินดอลลาร์
กำลังเป็น ตัวซัปพอร์ตเงินตราสกุลสำคัญๆ อื่นๆ ทุกสกุล
จุดที่ให้ความสนใจกันมากที่สุดคือเรื่องที่มีการปรับแก้รายงานผลกำไรของบริษัทสหรัฐฯกันใหม่"
มอนิกา แฟน นักยุทธศาสตร์อาวุโสแห่งค่ายแบงก์ อเมริกาให้ความเห็น
เงินดอลลาร์ยังอ่อนยวบเนื่องจากคำพูดของ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น มาซาจูโร ชิโอกาวะ
ซึ่งพูดใน ช่วงที่เขาไปประชุมกลุ่มความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า
บรรดาผู้รับผิดชอบทางการเงินของโลกเชื่อว่า เงินดอลลาร์สามารถหล่นลงมาจนอยู่ราว
115 เยน อันเป็นระดับที่เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรมสหรัฐฯ 11 กันยายน
พวกดีลเลอร์ต่างงงงวยกันมากต่อคำพูดของขุนคลังซามูไร เพราะดูจะกลับตาลปัตรกับการที่ญี่ปุ่นได้ใช้ความพยายามในช่วงเร็วๆ
นี้ เพื่อ ดึงรั้งไม่ให้เงินเยนมีค่าแข็งขึ้น
เนื่องจากจะไปกระทบกระเทือนภาคส่งออกของประเทศ เวลาต่อมา ชิโอกาวะได้ออกมาพูดอธิบายว่า
"ผมขอยืนยันว่า ถึงแม้ (เงินดอลลาร์) กำลังเดิน ไปสู่ทิศทางดังกล่าว
แตก็จำเป็นจะต้องใช้เวลาอีกจำนวนหนึ่งทีเดียว และไม่ควรที่เงินดอลลาร์จะไปถึงระดับนั้นอย่างฉุกระหุก"
หุ้นร่วงกราว การที่เงินดอลลาร์อ่อนตัวลงมา บวกกับข่าว บริษัทเมอร์คกับบริษัทรีไลแอนต์
รีซอร์เซส ยังส่ง ผลกระทบถึงตลาดหุ้น โดยในแถบเอเชียนั้น ตลาดใหญ่ๆ เปิดวานนี้ยังอยู่ในแดนบวก
เนื่อง จากในวันศุกร์ (5) วอลล์สตรีทสามารถทะยานพุ่งลิ่ว ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์บวกถึง
3.58% หรือ 324.53 จุด ทว่าเมื่อเห็นภาวะปั่นป่วนของอัตราแลกเปลี่ยน ราคาหุ้นโดยเฉพาะของพวกบริษัทส่งออกก็ไหลรูดลงมา
ดัชนีหุ้นนิกเกอิของตลาดโตเกียวปิดต่ำลง 56.89 จุด หรือ 0.5% อยู่ที่
10,769.20 หลังจากที่ช่วงเช้าไต่ขึ้นไปอยู่เหนือระดับ 11,000 สำหรับ ดัชนีฮั่งเส็งของฮ่องกงติดลบเล็กน้อย
2.71 จุด หรือ 0.03% ส่วนดัชนีหุ้นสเตรทส์ไทมส์ของสิงคโปร์ หล่น 1.2% หรือ
20.25 จุด
ครั้นเมื่อตลาดยุโรปเปิดทำการ ราคาหุ้นก็หล่นวูบทันที ตอนเที่ยงที่ลอนดอน
ดัชนีฟุตซี่ ยูโร ท็อป 300 อันเป็นดัชนีของบริษัทใหญ่ๆ ทั่วยุโรป ถลาลงมากว่า
1% จากที่ไต่ขึ้นไปได้เกือบ 4% ใน วันศุกร์
บีไอเอสเตือน ภาวะวุ่นๆ ของตลาดการเงินสืบเนื่องจากความไม่โปร่งใสของภาคบริษัทอเมริกันระลอกล่า
สุด มีขึ้นในจังหวะที่บีไอเอส ซึ่งเป็นเสมือนกับธนาคารกลางของบรรดาธนาคารกลางทั่วโลก
จัดการประชุมประจำปีขึ้น และนูต เวลลิงก์ ประธานบีไอเอสตลอดจนเป็นประธานคณะกรรม
การอำนวยการบีไอเอส ก็ได้เสนอกล่าวเตือนถึงอันตรายจากเรื่องนี้ ในคำปราศรัยต่อที่ประชุมประจำปีบีไอเอส
เวลลิงก์ได้วิพากษ์ "ความเสี่ยงพิเศษ" อันเกิดขึ้น จากการประดิษฐ์คิดสร้างสิ่งใหม่ๆ
ในอุตสาห-กรรมการเงิน เขายังเสนอว่าอาจจำเป็นต้องมี "การกระทำอย่างแข็งขัน"
เพื่อแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในภาคบรรษัท แต่เขาก็มิได้ให้ รายละเอียดเจาะจงว่าการกระทำดังกล่าวคืออะไรบ้าง
เวลลิงก์ซึ่งเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางเน-
เธอร์แลนด์ด้วยกล่าวว่าความเสี่ยงพิเศษเช่นนี้ "อาจส่งผลทำให้ผลประกอบการทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับน่าพึงพอใจน้อยลงกว่าที่ดูจะปรากฏอยู่ในปัจจุบัน"
เขาบอกว่า คุณภาพของข้อมูลข่าวสารที่
จะเป็นตัวชี้นำตลาดทุนนั้น บ่อยครั้งทีเดียวที่ถูกปล่อยทิ้งเอาไว้ให้ทำอะไรกันตามใจ
ขณะที่การล้มละลายของเอนรอน และความหายนะของ เวิลด์คอม
สาธิตให้เห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์และทำให้เข้าใจผิด สามารถทำลายธรรมาภิบาลภาคบริษัทได้ขนาดไหน
เวลลิงก์เรียกร้องให้ที่ประชุมเน้นความสนใจไปที่เรื่องความเสี่ยงซึ่งเพิ่มมากขึ้น
สืบเนื่อง
จากแนวโน้มการประดิษฐ์คิดสร้างสิ่งใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมการเงินในช่วงหลังๆ
มานี้