ลีเวอร์โดดอุ้มร้านค้าย่อย จับมือแบงก์ใบโพธิ์ให้เครดิตสร้างสภาพคล่อง


ผู้จัดการรายวัน(4 กรกฎาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

ยูนิลีเวอร์ต่อลมหายใจร้านค้ารายย่อย จับมือธนาคารไทยพาณิชย์ ออกบัตรเครดิตชำระค่าสินค้าหวังสร้าง สภาพคล่อง ตั้งเป้าร้านค้าเข้าร่วมโครงการ 4 หมื่นรายจากร้านค้ารายย่อยที่เป็นลูกค้า 2

แสนรายทั่วประเทศ พร้อมกับให้ความเห็นกรณีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายของดิสเคานต์สโตร์จากซัปพลายเออร์ว่าเป็นเรื่องธรรมดาของวงการค้าปลีกทั่วโลก ด้าน SCB

ชี้ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับซัปพลายเออร์อีกอย่างน้อย 3 รายที่จะปล่อยเครดิตให้โชห่วยเช่นเดียวกัน นายเธโอ คุนเดอร์ส ประธาน บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่าบริษัทได้ร่วมมือกับธนา-

คารไทยพาณิชย์ เพื่อเปิดตัวบัตรเครดิตเฉพาะกลุ่มเป็นครั้งแรกให้กับวงการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคด้วยบัตร "ยูนิลีเวอร์ เครดิต พลัส" เพื่อให้ร้านค้ารายย่อยหรือโชห่วยใช้ซื้อสินค้าของยูนิลีเวอร์

กลยุทธ์ของยูนิลีเวอร์ในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในหลายกลยุทธ์ที่ยูนิลีเวอร์ ได้ทำมาอย่างต่อเนื่องกว่าปีที่ผ่านมา เพื่อต้องการสร้างความแข็งแกร่งให้ แก่ร้านโชห่วย ในขณะที่ช่องทางโมเดิร์นเทรด อาทิ คาร์ฟูร์

เทสโก้โลตัส บิ๊กซี และอื่นๆ ล้วนเป็นช่องทางที่มีความสำคัญด้วยเช่นเดียวกัน ด้านช่องทางโมเดิร์นเทรดนั้น นายเธโอให้ความเห็นว่าแม้ว่าในปัจจุบันจะมีกระแสข่าวออกมาอย่าง

ต่อเนื่องถึงเรื่องการเรียกเก็บเงินจาก ซัปพลายเออร์ ที่หลายรายร้อง เรียนไปยังกระทรวงพาณิชย์ว่าไม่เป็นธรรม แต่ยูนิลีเวอร์ เห็นว่าเป็น เรื่องทางการค้าขายปกติ ที่ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ หรือประเทศต่างๆ

ในยุโรป ยูนีลีเวอร์ค้าขายกับดิสเคานต์ สโตร์เหล่านี้ และก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเหล่านี้ด้วยเช่นเดียวกับในไทย ซึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่คิดว่าเป็น ปัญหา

ส่วนการที่ร้านค้าอื่นๆหรือซัปพลายเออร์รายอื่นเห็นว่ามีปัญหา นั้นก็คงเป็นเรื่องของแต่ละรายมากกว่า ส่วนกรณีการออกสินค้าเฮาส์ แบรนด์ของโมเดิร์นเทรดรายใหญ่

และบางสินค้าผลิตออกมาเลียนแบบสินค้าของยูนิลีเวอร์นั้น สินค้า เฮาส์แบรนด์ก็คือสินค้าแบรนด์หนึ่ง ที่เป็นคู่แข่งขันของยูนิลีเวอร์ ซึ่งส่ง ผลให้ยูนิลีเวอร์ต้องพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ

เพื่อให้เกิดความพอใจ ต่อลูกค้ามากที่สุด ส่วนการที่ผลิตสินค้าขึ้นมาเลียนแบบนั้น หากคล้ายกับสินค้าของยูนิลีเวอร์ ทางบริษัทจะเข้าไปเจรจากับเจ้าของสินค้าทันที และชี้แจงให้ทราบว่าสิ่ง

ที่กระทำอยู่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งการเจรจาทุกครั้งทำให้เจ้าของสินค้าที่ทำเลียนแบบหยุดผลิตทันที ส่งทีมช่วยโชห่วย ด้านการเสริมสร้างความแข็ง แกร่งให้แก่ร้านค้ารายย่อย

หรือโชห่วยนั้น ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมายูนิลีเวอร์เพิ่มประสิทธิภาพการจัดจำหน่ายสินค้า โดยใช้ศูนย์จำหน่าย สินค้า หรือ concessionaire โดยปัจจุบันมีกว่า 50 ศูนย์ทั่วประเทศ ในจำนวนนี้อยู่ในกรุงเทพฯ

7 ศูนย์ จากนั้นได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่กว่า 4,000 คน เดินสายออกช่วยร้านค้า จากเดิมที่เข้าเยี่ยมร้านค้าเดือนละครั้ง เพิ่มเป็นเดือนละ 2-4 ครั้ง ช่วย การจัดเรียงสินค้า ซึ่งการพบลูกค้า

ทำให้บริษัทได้เรียนรู้ความต้องการ ของลูกค้าและพบว่าสิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ของร้าน ค้าก็คือ การขาดสภาพคล่องทางการเงิน หรือต้องการเครดิตในการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ออกบัตรเครดิตเสริมสภาพคล่อง

ดังนั้น บริษัทจึงได้ร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ ออกบัตรเครดิต ยูนิลีเวอร์ เครดิต พลัส สำหรับชำระค่าสินค้าของยูนิลีเวอร์

ซึ่งนับเป็นความพยายามในการตอบสนองความต้องการของร้านค้าและนโยบายของรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ร้านค้าเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการทำธุรกิจ คุณหญิงชฎา

วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB กล่าวว่า

การออกบัตรเครดิตดังกล่าวนับเป็นนวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ธนาคารได้พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกในการชำระเงิน ให้แก่ร้านค้ารายย่อย

ในรูปของบัตรเครดิตที่ใช้ชำระค่าสินค้าให้แก่ตัวแทนจำหน่ายสินค้าของยูนิลีเวอร์แทนการชำระเงินสดหรือเช็ค สำหรับเงื่อนไขในการให้บริการ ธนาคารได้ขยายเครดิตเทอมให้กับร้านค้า 35 วัน (Fix Credit

Days) เข้ามาใช้กับระบบบัตรเครดิตเป็น ครั้งแรก ซึ่งเดิมบริษัท ยูนิลีเวอร์จะให้เครดิตเทอมกับร้านค้าประมาณ 14 วัน ร้านค้าที่ถือบัตรสามารถเลือกผ่อนชำระเงินขั้นต่ำ 30%

คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษในกรณีผ่อนชำระประมาณ 12.5% (MRR+5%) ขณะที่ธนาคารจะคิดดอกเบี้ย ผิดนัดจากร้านค้าประมาณ 24% อย่างไรก็ตาม

ในเงื่อนไขสัญญาได้ระบุว่าธนาคารจะคิดว่าธรรมเนียมการชำระเงินล่าช้า/ไม่ครบเงื่อนไขหรือชำระน้อยกว่ายอดที่ต้องชำระ ขั้นต่ำร้านค้าต้องเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว 100 บาท

"ในเรื่องเครดิตวงเงินที่ธนาคารจะอนุมัติพิจารณาจากข้อมูลของร้านค้า การชำระเงินในอดีตและรวมถึงปัจจุบัน ที่จะเป็นตัวกำหนดการขยายเครดิตเพิ่มในอนาคต

อย่างไรก็ดีจากข้อมูลการใช้เงินของร้านค้าในการซื้อสินค้าเฉลี่ย จะอยู่ที่ 1-2 หมื่นบาทต่อร้านค้า ซึ่งธนาคารเชื่อว่าความร่วมมือดังกล่าวจะมีส่วนริเริ่มธุรกรรมทางการเงินใหม่ๆ

เพื่อช่วยเหลือธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธุรกิจขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้อง" คุณหญิงชฎา กล่าว ด้านนางจันทิมา จตุรภัทร์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดลูกค้าบุคคล

ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยพาณิชย์ธนพันธ์ จำกัด กล่าวถึงปริมาณร้านค้าจะเข้ามาเป็นสมาชิก บัตรเครดิตดังกล่าว

คงต้องอยู่ที่บริษัทจะเข้าไปชักชวนหรือโน้มน้าวให้เห็นถึงประโยชน์การใช้บัตรเครดิตแทนการชำระเป็นเงินสดเหมือนช่วงที่ผ่านมา โดยทางยูนิลีเวอร์ ตั้งเป้าไว้ว่า ตั้งแต่นี้จน

ถึงสิ้นปีน่าจะมีร้านค้าสมัครเป็นสมาชิกบัตร 10,000 ราย และตลอดทั้งโครงการน่าจะมี 40,000 ราย จากจำนวนร้านค้าทั้งหมดที่ซื้อสินค้าจาก ยูนิลีเวอร์ 2 แสนราย

"ต้องยอมรับว่าร้านโชห่วยคุ้นเคยการใช้เงิน สดมากกว่าการใช้บัตรเครดิต ซึ่งต้องพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมของร้านค้าและคาดว่าการเข้ามาของร้านค้าในโครงการดังกล่าว

เมื่อพิจารณาการใช้วงเงินนั้นจะมีอัตราที่สูงกว่าการใช้จ่ายของ บัตรเครดิตทั่วไป ทั้งนี้ธนาคารยังอยู่ระหว่างการ เจรจากับบริษัทท้องถิ่นในไทยในการขยายความ ร่วมมือประมาณ 3 แห่ง

แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้" นางจันทิมา ยังได้กล่าวถึงภาพรวมบัตรเครดิตของธนาคารปัจจุบัน ธนาคารมีจำนวนบัตร 280,000 บัตร มีอัตราการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ประมาณ 6,000-7,000

บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราที่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจเล็กน้อย ขณะที่ยอดการใช้จ่ายหมุนเวียนผ่านบัตรเครดิต ของธนาคารทั้งหมดมีมูลค่าประมาณกว่า 1,680 ล้านบาท (คำนวณจาก 280,000

คูณยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตต่อคนต่อเดือน 6,000-7,000 บาท) อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมามีลูกค้าบัตรเครดิตใช้จ่ายในต่างประเทศมีสัดส่วนประมาณ 30-40% ของยอดบัตรเครดิตรวมขณะนี้

ยูนิลีเวอร์คาดรายได้เพิ่ม นายเธโอ กล่าวว่า ระบบการชำระสินค้าผ่าน ยูนิลีเวอร์ เครดิต พลัส

จะช่วยเอื้อประโยชน์และเสริมสร้างประสิทธิภาพให้กับศูนย์จำหน่ายของยูนิลีเวอร์ในการบริหารเงินทุนหมุนเวียน และการจัดระบบการชำระเงินให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาศูนย์ จัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่นำเทคโนโลยี Plam Pilot มาใช้ในการรับคำสั่งซื้อสินค้าจากร้าน ค้าทั่วประเทศเมื่อปีที่ผ่านมา

ซึ่งทำให้ศูนย์จัดจำหน่ายของยูนิลีเวอร์มีขีดความสามารถในการบริการร้านค้าได้ดีที่สุดในประเทศไทย "เราคาดว่าระบบการชำระเงินผ่านบัตรจะส่ง ผลให้อัตราการสั่งซื้อสินค้าเร็วขึ้น มีเงินทุนหมุน

เวียนดีขึ้นและทำให้ยอดขายของยูนิลีเวอร์เพิ่มขึ้น ด้วย แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ จะช่วยให้ร้านค้ารายย่อยมีความแข็งแกร่งในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น" อนึ่ง มูลค่ารวมของธุรกิจค้าปลีกทั้งระบบ

ประมาณการว่าจะมีถึง 6 แสนล้านบาท ในจำนวน ดังกล่าวเป็นการซื้อขายในระบบโมเดิร์นเทรด 60% และเทรดดิชั่นนอลเทรด หรือร้านค้ารายย่อย 40%



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.