อ.ธรรมศาสตร์เสนอ7แนวคิดธุรกิจสร้างโอกาส"SMEs"สู่กิจการใหญ่


ผู้จัดการรายวัน(3 กรกฎาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

นักวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ชี้ผู้ประกอบการ SMEs

ของไทยยังไม่สามารถพัฒนาขนาดของธุรกิจ สู่กิจการระดับใหญ่ได้ทัดเทียมต่างชาติ ท่ามกลางแนวทางการพัฒนาธุรกิจที่หลากหลายนำเสนอ 7 แนว

ทางที่จะเป็นกลยุทธ์หลักของการปรับเปลี่ยนธุรกิจแบบก้าวกระโดดสู่องค์กร อีกระดับที่เห็นผลได้ชัดจากที่ผู้ประสบความสำเร็จในตลาดมากแล้ว ผศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล

อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวในมุมมองของการพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs

ของไทยในปัจจุบันว่ายังปรับตัวในช้ามากโดยเฉพาะการปรับขนาดของกิจการจากขนาดเล็ก พัฒนาไปสู่กิจการที่ใหญ่ขึ้นและเป็นกิจการระดับใหญ่ในที่สุด

ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้วพัฒนาการของผู้ประกอบการในระดับ SMEs ไปสู่กิจการที่ใหญ่ขึ้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในความคิดเห็นของผศ. วิทวัสมองว่าแนวความคิดแบบก้าว

กระโดดจะเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่นำไปใช้ สามารถพัฒนาธุรกิจของตนเองได้ และเป็นแนวทางที่หลายคนนำมาใช้กันมากแล้วหรือนำมาปรับใช้ ส่ง ผลให้องค์กรเหล่านี้ใช้เวลาไม่ถึง

10 ปีก็สามารถสร้างชื่อเสียงให้องค์กรได้ "การปฏิวัติทางการตลาด เป็นหนึ่งในแนวทางการเติบโตแบบ ก้าวกระโดดของหลายบริษัท โดยการปฏิวัติทางการตลาดเป็นแนวคิด

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งทางด้านนโยบายและกลยุทธ์ขององค์กรนั้นๆ ซึ่งมีความแตกต่างจาก การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปที่กว่าจะเห็นผลก็ต้องใช้เวลานาน

การปฏิวัติทางการตลาดแบบก้าวกระโดดที่ผศ.วิทวัส นำเสนอไว้มี 7 แนวทางคือ 1.

เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงของตลาด เพื่อให้ธุรกิจของไทยได้รับความสนใจขึ้นในทันที ซึ่งเท่ากับเป็นการประสบความสำเร็จทางการตลาดแบบหนึ่ง กรณีของ D-TAC

เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการปฏิวัติทางการตลาดโดยการนำเสนอการเก็บค่าบริการตามจริงเป็นวินาที กลยุทธ์นี้สร้างความปั่นปวนให้กับ AIS ซึ่ง

เป็นเจ้าตลาดอยู่พอสมควรพร้อมทั้งต้องหันกลับมานั่งทบทวนแผน การตลาดใหม่อีกครั้ง เข่นเดียวกับ Amazon.com ที่เปิดตัวเข้ามาในธุรกิจร้านหนังสือในรูปแบบของเว็บไซต์ทั้งที่มี BAN &NOBEL

เป็นเจ้าตลาดหนังสือโดยรวมอยู่ก่อนหน้านี้ ด้วยการใช้กลยุทธ์มีหนังสือให้เลือกมากกว่าร้านอื่นๆ ในโลกพร้อมบริการจัดส่ง ด้วยรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมา ก่อนทำให้ ส่งผลให้ BAN&NOBEL

ต้องปรับลงมาทำธุรกิจทางเว็บไซต์บางแต่ก็ดูเหมือนช้ากว่า Amazon ซึ่งกลายเป็นที่หนึ่งในวงการหนังสือ ทั่วโลกไปเสียแล้ว

อีกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือแลนด์แอนด์เฮ้าส์ที่ช่วงหนึ่งหันมาโปรโมตกลยุทธ์การ ทำตลาด "บ้านเสร็จก่อนขาย" ครั้ง นั้นสร้างความฮือฮาให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างยิ่ง

เพราะก่อนหน้านี้เจ้าของบ้านจัดสรร จะเรียกเงินดาวน์ลูกค้าก่อนที่จะสร้างบ้านเสร็จ แต่แลนด์แอนด์เฮ้าส์ใช้กลยุทธ์สร้างบ้านเสร็จแล้วถึงจะขาย โดยอาศัยความ

ได้เปรียบของการมีเงินทุนมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่นมาลงทุนสร้าง บ้านให้ก่อน

ลูกค้าก็เกิดความน่าเชื่อถือ เพราะได้เห็นสินค้าก่อนซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน และส่งผลให้เจ้าของไอเดียนั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแลนด์แอนด์เฮ้าส์ก็ได้ประโยชน์ด้วย เพราะแทนที่จะต้องมานั่งรอกว่าลูกค้าจะส่งเงินดาวน์ให้หมด แต่การขายบ้านที่เสร็จแล้วก็คือลูกค้าต้องโอนและเป็นเจ้า

ของเลยทำให้เจ้าของธุรกิจได้เงินเร็ว ยิ่งขึ้น ทั้งได้ความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย กลยุทธ์ในการปรับตัวอย่างก้าวกระโดดอย่างที่ 2. เป็นการรุกขึ้นมาโปรโมตธุรกิจอย่างจริงจัง

นับเป็นการปฏิวัติทางการความคิดของผู้บริหารโดยเฉพาะในระดับ SMEs ที่มองว่าการโฆษณาและประชาสัมพันธ์เป็นค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์แต่ควรมองว่าเป็นเงินลงทุนมากกว่า

ตัวอย่างของธุรกิจที่หันมาให้ความสำคัญ กับการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างมาก ในระยะหลังจนทำให้ธุรกิจสามารถสร้างรายได้และ ยกระดับธุรกิจได้อย่างมากคือปลากระป๋องซีเล็คทูน่า จากเมื่อ 4-5

ก่อน น้อยคนนักที่จะรู้จักเขาแต่จากการโหมโฆษณาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมาก กลยุทธ์ที่ 3 เป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการอย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

เป็นการปฏิวัติเพื่อสร้างความแตกต่าง เช่นโซนี่ปฏิวัติวงการโทรทัศน์จอแบนเป็นเจ้าแรก หรือแม้แต่มิสทีน ที่หันมาใช้การโฆษณาทางสื่อโทร-ทัศน์ขัดต่อรูปแบบเดิมๆ ของธุรกิจ ขายตรงที่ไม่เคยทำมาก่อน

ส่งผลให้มิสทีนเป็นผู้นำในตลาดเครื่องสำอางประเภทขายตรงในเมืองไทย ด้วยสื่อโฆษณาที่สร้างความจดจำให้กับผู้พบเห็นได้อย่างดีหลายตอนที่ผ่านมา

การหาพันธมิตรเข้ามาร่วมธุรกิจก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการในระดับ SMEs สามารถพัฒนาขนาดขององค์กรธุรกิจจนเองได้เป็นอย่างดี เป็น

การก้าวกระโดดของการพัฒนาธุรกิจอย่างแท้จริง เช่นเครือเจริญโภคภัณฑ์เคยประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดดในธุรกิจค้าปลีกด้วยการซื้อแฟรนไชส์ 7-Elevenเข้า

มาดำเนินกิจการในไทยและร่วมทุน กับ Makro ในธุรกิจค้าส่งโดยใช้เวลาไม่นานก็สามารถก้าวกระโดดธุรกิจได้ นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์อื่นที่น่าสนใจอีกคือ การเปลี่ยนระบบการ

บริหารจากระบบครอบครัวมาเป็นมืออาชีพ อย่างที่แกรมมี่นำมาใช้โดย การจ้างมืออาชีพอย่างอภิรักษ์ เข้ามาเป็นประธานกรรมการ ส่งผลให้ภาพลักษณ์ขององค์กรเปลี่ยนในแง่ บวกเป็นอย่างยิ่ง

,ขยายสายธุรกิจใหม่เพื่อให้เป็นเรื่องของบริษัท และการเข้าระดมทุนในตลาด หลักทรัพย์ ซึ่งเป็นการก้าวกระโดด

ของธุรกิจอย่างข้ามขั้นโดยการใช้ความน่าเชื่อถือของกิจการเมื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์แล้วเป็นใบเบิก ทางให้กับธุรกิจ อย่างไรก็ตามผศ. วิทวัส กล่าว ว่าที่ผ่านมาปัญหาของผู้ประกอบการ SMEs

อยู่ที่ความไม่กล้า และ กลัวต่อการปรับเปลี่ยน ทั้งมักจะพอ ใจในสิ่งที่อยู่หรือในระดับที่ทำอยู่แล้ว ไม่กล้าเสี่ยงกับความท้าทายใหม่ที่ส่งต่อการปรับขนาดของกิจการให้ใหญ่ขึ้นได้ ทั้งพบว่าบาง

รายมีโอกาสในการก้าวกระโดดแล้ว แต่ผู้บริหารกับทำไม่เป็นไม่รู้ว่าจะฉวยโอกาสนั้นได้อย่างไร นับเป็นจุด บอดที่เราต้องรีบแก้ไข



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.