ผู้ว่าแบงค์ชาติแจงค่าเงินบาท นโยบายลอยตัวมีหลัก


ผู้จัดการรายวัน(3 กรกฎาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

หม่อมอุ๋ยยืนยันนโยบายค่าเงินบาทดีอยู่แล้ว ยันลอยตัวแบบมีหลักการ-แทรกแซงตามความเหมาะสม แนะนักเศรษฐศาสตร์ต้องเทียบหลายสกุล โชว์ตัวเลขเปรียบ เทียบสกุลอื่นละเอียดยิบ

รองปลัดคลังลั่น 5 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ เดินตามก้น IMF แต่ยอมรับเศรษฐกิจยังขาดความสมดุล "ชวลิต ธนะชานันท์" หวั่นตลาดทุนทั่วโลกทรุดหากสถาน การณ์สหรัฐฯยังยืดเยื้อ วานนี้ (2 ก.ค.)

ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Managed Float) ครบ 5 ปี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยืนยันนโยบายของธปท. โดยเปิดเผยว่า

ปัจจุบันใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวโดยไม่ลอยตัวแบบเสรี แต่ลอยตัวอย่าง มีหลักการ คือ ปล่อยให้ค่าเงินไหลไปตามความสัมพันธ์ที่เหมาะสม เนื่องจากตลาดแลกเปลี่ยนใน ประเทศไทย

มีขนาดเล็กมาก หากมีเงินเข้ามาในตลาดเพียง 200-300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะส่งผลถึงค่าเงินได้แล้ว ผู้ว่าฯธปท.แย้มว่า หากสถานการณ์รุนแรงได้แก่ กรณีที่มีเงินก้อนใหญ่เข้ามาในประเทศ

ธปท.อาจจะต้องดำเนินนโยบายเพื่อลดแรงกระแทกที่จะกระทบกับผู้ส่งออก "ถ้าบาทแข็งขึ้นแต่ไม่ก้าวกระโดดก็ไม่น่าห่วง เราอยู่ในระบบ ลอยตัวจะหวังให้อัตราแลกเปลี่ยนแบบอื่นก็ผิดแต่แรก

มันต้องลอยแต่ลอยอย่างมีประสิทธิภาพ ใครคิดจะฝืนก็ล้าสมัยแล้ว"ม.ร.ว. ปรีดิยาธรกล่าวและว่า นักวิชาการไม่ควรเปรียบเทียบค่าเงินบาทกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเพียงสกุลเดียว และยืนยันว่า

หากเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ แล้ว ปัจจุบันนี้ ค่าเงินบาทไม่ได้แข็งค่าเกินไป ก่อนหน้านี้ นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ นายรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ นายสุพจน์ จุลอนันตธรรม

อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ด้วยนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนว่า ไม่ควรปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเกินไป

เนื่องจากส่งผลกระทบในแง่ลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งออกที่เป็นปัจจัยสำคัญกำลังมีปัญหาจากค่าเงินที่แข็งเกิน "ไม่มีระบบอะไรที่ดีสุดโต่ง

ประเทศของเราจะทำอย่างไรก็ได้ให้มันดีขึ้น ทุกวันนี้ตลาดใหญ่ 3 ตลาด อเมริกาค่าเงินเราแข็งกว่า 4.77% แต่เยนกับยูโร เราอ่อนกว่าเค้า 5.22% กับ 7.4% หักลบกันแล้วเราได้ดุล

ค่อนข้างจะไปในทางอ่อนด้วยซ้ำและเมื่อเปรียบเทียบค่าบาทกับเงินเยน ยูโร เกาหลี และอินโดนีเซีย เราถือว่าเราอ่อนลง"ม.ร.ว.ปรีดิยาธรชี้แจงและว่า เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์แล้วพบว่า

ประเทศอินโดนีเซียค่าเงินแข็งขึ้นถึง 11.39 รูเปียห์ะ สิงคโปร์ แข็งค่าขึ้น 4.07 ดอลลาร์สิงคโปร์ ฟิลิปินส์แข็งค่าขึ้น 1.00 เปโซ เกาหลีแข็งค่าขึ้น 10.42 วอน ไต้หวันแข็งค่าขึ้น 4.41 ดอลลาร์ ญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้น

10.54 เยน สหภาพยุโรปแข็งค่าขึ้น 12.52 ยูโร ส่วนอังกฤษ แข็งค่าขึ้น 7.22 ปอนด์ และหากเทียบบาทกับประเทศอินโดนีเซียแล้ว ค่าเงินบาทอ่อน 5.94% เทียบกับสิงคโปร์ค่าบาทแข็งเพียง 0.68%

เทียบกับฟิลิปินส์ค่าบาท แข็ง 3.73% เทียบกับเกาหลี ค่าบาทอ่อน 5.11% เทียบกับไต้หวัน ค่าบาทแข็ง 0.34% เทียบกับญี่ปุ่น ค่าบาทอ่อน 5.22% เทียบกับสหภาพยุโรป ค่าเงิน บาทอ่อน 7.4%

เทียบกับอังกฤษ ค่าเงินบาทอ่อน 2.33% "ในช่วง 3 เดือนนี้ไม่น่าเป็นห่วง แม้ว่าเมื่อ เทียบจากไตรมาสที่ผ่านมา ณ วันที่ 28 มี.ค. 45 เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นจาก 43.48 บาทต่อดอลลาร์ เป็น 41.50

บาทต่อดอลลาร์ คิดเป็น 4.77% ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ถือว่าไม่น้อย แต่ค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคต่างแข็งค่าขึ้นเช่นกัน" ขณะนี้ทุนสำรองของประเทศยังคงเพิ่มขึ้น ตัวเลขปริมาณการส่งออกใน 5

เดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7% แม้ว่าในด้านตัวเลขราคาสินค้า ออกจะตกลง 12-13% แต่เป็นการตกของทั้งภูมิภาค แต่เมื่อปริมาณการส่งออกเพิ่มส่งผลให้ การจ้างงานเพิ่ม

เพียงแต่โชคไม่ดีนักที่กำลังการผลิตของทั้งโลกยังเกินอยู่เท่านั้น อย่างไรก็ตามแม้ว่ากำลังการผลิตของทั้งโลกยังเกินอยู่ ผู้ว่าฯ ธปท.ให้ความเห็นว่า ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงเนื่อง

จากมีกระแสข่าวว่าประเทศญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัว ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นสินค้าของไทยจะได้ราคาด้วย รวมทั้งยอดกำลังการผลิตในประเทศ เดือน พ.ค. ที่ผ่านมาเพิ่มมาอยู่ที่ 60% แสดงว่าการบริโภคภาย

ในประเทศดีขึ้น ซึ่งจะเป็นตัวที่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่า แรงเสริมที่สำคัญ คือสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องจากต้องยอมรับว่าสหรัฐฯเป็นแหล่งเงินที่ใหญ่ที่สุด

ซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัวภายในปีนี้ "สิ่งที่ควรระวังคือช่วงที่ผ่านมาเงินไหลเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก แต่วันใดที่เงินไหลออกเราต้องยืนให้อยู่ แต่ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงเพราะ P/E Ratio เรายังต่ำ

ยังมีโอกาสทำกำไรอยู่" คลังยอมรับศก.ขาดสมดุล ลั่นไม่ได้เดินตามก้นIMF "ได้มีการแก้ไขสถานการณ์ตามวิธีการของเรา ซึ่งก็มีขัดแย้งกันบ้าง ทะเลาะกันบ้าง แต่ก็เห็น

การฟื้นตัวที่เป็นรูปธรรมของเศรษฐกิจ และมีบาง อย่างที่ยังขาดสมดุลของการเติบโต"นายสมหมาย ภาษี รองปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวแสดงความ คิดเห็นภายหลังครบรอบ 5

ปีหลังจากลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2540 รองปลัดกระทรวงการคลังกล่าวว่า แม้เศรษฐกิจจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ในแง่ ของการลงทุนของเอกชนหรือการบริโภคยังขาดความสมดุลอยู่

ขณะที่ภาคการส่งออกยังไม่กระ เตื้องมากนัก แต่ในส่วนของภาครัฐก็พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนของภาครัฐ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วง 5

ปีที่ผ่านมาภาครัฐและเอกชนได้มีการปรับตัวในหลายๆด้าน อย่างไรก็ตามอย่าไปมองว่าการแก้ปัญหาในช่วงที่ผ่านมาเดินตามแนวทางของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) เพียงอย่างเดียว

เพราะกระบวนการแก้ปัญหาเป็นกระบวนการที่ร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนที่มีการปฏิรูปในหลายๆด้าน สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ

สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างน้อยก็ทำให้คนไทยได้เห็นบทเรียนหลายๆด้าน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงในด้านการกำกับกิจการที่ดี การวางระบบการเงินการคลังให้ มีความแข็งแกร่ง

เพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นมาทำ ร้ายเรา "เราต้องมีความจำที่ดี เพื่อที่ทำให้สามารถจำได้นานๆ เพราะมันเป็นสงครามแต่เป็นสงคราม เศรษฐกิจ" ส่วนในอนาคตนายสมหมายกล่าวว่า ประ

เทศไทยยังมีความจำเป็นต้องปรับตัวในด้านการ สร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสถาบันการเงินการปรับปรุงและกำกับดูแลกิจการที่ดี การสร้างความโปร่งใสในระบบสถาบันการเงินและระบบราชการ

ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงและออกกฎ หมายต่างๆ เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึง การปรับปรุงระบบการเงินการคลังให้มีความเข้มแข็งในอนาคต อดีตผู้ว่าฯยันวันนี้ศก.ฟื้น หวั่นNPL-

หนี้สาธารณะ นายชวลิต ธนะชานันท์ ประธานกรรมการ ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) อดีตผู้ว่าฯธปท. เปิดเผยว่า เมื่อเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยวันนี้ถือว่าฟื้นตัวจริง สังเกตได้จากเงินทุนต่าง

ประเทศได้ไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ในขณะที่การใช้จ่ายของประชาชนก็มีปริมาณ ที่เพิ่มสูงขึ้นภาคการส่งออกก็เริ่มดีขึ้น "แม้ว่าในระยะนี้ค่าเงินบาทได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นก็ตาม

ซึ่งสิ่งที่ไม่ดีก็คือราคาสินค้าที่ส่งออก ยังไม่ดีแต่โดยภาพรวมแล้ว เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว" ปัญหาที่มีหลายคนให้ความสำคัญในปัจจุบันคือ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ส (เอ็นพีแอล)

ที่ยังมีสูงกว่า 10% และที่สำคัญหนี้ที่ได้มีการแก้ ไขไปก่อนหน้านี้ได้กลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีกครั้งหนึ่ง "ประเด็นตรง นี้น่าเป็นห่วงอีกประเด็นหนึ่ง ที่ยังเป็นห่วงคือ

หนี้สาธารณะของประเทศได้มีอัตราที่เพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลก็ออกมาชี้แจงว่าสามารถ ควบคุมหนี้สาธารณะได้โดยมีเป้าหมายไม่ให้เกิน 60% ของจีดีพี" นายชวลิตกล่าว

ประเด็นที่สำคัญและกำลังเป็นที่จับตามองของคนทั่วโลกคือ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ทุกคนเป็นห่วงเพราะบริษัทขนาดใหญ่ เช่น เอนรอน เวิลด์คอม ล่าสุดคือ

ซีรอกซ์เป็นบริษัทที่มีธุรกิจใหญ่แต่มีการตกแต่งบัญชีให้มีกำไรทำให้คนสหรัฐอเมริกา ไม่มั่นใจเกี่ยวกับธุรกิจของสหรัฐฯ ที่ดำเนินกิจการอยู่ว่าดีจริงหรือไม่ จึงทำให้คนสหรัฐฯไม่ไว้ใจธุรกิจขนาดใหญ่

นายชวลิต กล่าวว่า หากภาคเอกชนและทางการสหรัฐฯไม่มีการทำอะไรเลยก็จะกระทบกระเทือนตลาดหุ้นสหรัฐฯ และไม่แน่ใจว่าจะกำไรดีจริงหรือไม่หากสถานการณ์ในสหรัฐฯ

ยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก และตอนนี้เงินทุนในสหรัฐฯได้ไหลออกจากสหรัฐฯแล้วแต่ไม่แน่ใจว่าไหลออกจากสหรัฐฯแล้วจะมาสู่ไทยหรือไม่ ปัญหาของสถาบันการเงิน ในปัจจุบันคือ

เรื่องการมีธรรมาภิบาล โดยต้องดำเนินการอย่าง จริงจัง เพราะปัญหาที่คั่งค้างของไทย คือ เรื่องเอ็นพีแอล ยอมรับว่ายังคาราคาซังอยู่ ปัญหาการ

ปฏิรูปสถาบันการเงินก็ยังไม่จบว่าจะทำอย่างไรให้แข็งแกร่ง เพราะเมื่อเทียบกับประเทศเกาหลีแล้วสถาบันการเงินของไทยแพ้หลุดลุ่ยเลย

เหตุที่เทียบกับเกาหลีเพราะเข้าโครงการการกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ โดยเกาหลีกู้ยืมถึง 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เป็นจำนวนเงินกู้มากกว่าไทยค่อน ข้างมาก แต่ ณ

ปัจจุบัน เกาหลีแก้ไขปัญหา ด้วยการปฏิรูปสถาบันการเงินได้จริง แต่สถาบันการเงินของไทย แก้ไขและปฏิรูปในลักษณะค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป คล้ายๆ กับการออมชอม ไม่รุน แรงซึ่งเป็นเรื่องวัฒนธรรม"

อดีตผู้ว่าฯธปท. กล่าวและว่า สถาบันการเงินของไทยจะเข้มแข็งต้องมีรัฐเข้ามาช่วย แม้ว่ารัฐจะได้มีการจัดตั้งบรรษัทบริหารสิน ทรัพย์(บสท.) ขึ้นมา เพื่อรับโอนหนี้ของสถาบันการเงินแล้ว

แต่ประเด็นที่ตามมาคือ หนี้เสียที่โอนไปจะมีการจัดการอย่างไร ในขณะที่ภาคธนาคารเองก็ต้องปรับปรุงตัวเองให้มากที่สุด ต้องทำงานให้อยู่ได้กับโลกสมัยใหม่ พาณิชย์ยันไม่กระทบผู้ส่งออก

ขอแค่ไม่ผันผวนเกินไป นายสุวรรณ วลัยเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า การที่ค่า เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เท่าที่ได้มีการสอบถามผู้ส่งออกต่างๆ

ได้รับการยืนยันว่ายังไม่ส่งผลกระทบการส่งออกมากนัก หากค่าเงินบาทไม่แข็งค่าขึ้นไปกว่า 40 บาทต่อดอลลาร์ สหรัฐ "สิ่งสำคัญที่ผู้ส่งออกวิตกคือ ความผันผวน

ของค่าเงินจะทำให้ยากแก่การกำหนดราคาสินค้า และการที่ระบุว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจะส่งผลเสียต่อการส่งออกนั้น ไม่เป็นความจริงเสมอไป

เนื่องจากมีสินค้าส่งออกบางรายการที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบมาจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้การนำเข้า วัตถุดิบถูกลงด้วย" สำหรับเป้าหมายการส่งออกทั้งปีคาดว่า น่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 4-5

ลดลงจากเป้าหมายเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.6 หากยัง คงรักษาระดับอัตราการส่งออกตั้งแต่เดือน มิถุนายน-ธันวาคมนี้ ให้ใกล้ระดับการส่งออกของเดือนพฤษภาคมที่ส่งออกได้ 5,900

ล้านเหรียญสหรัฐ โดยวันที่ 15-18 ก.ค.นี้นายสมคิด จาตุศรี-พิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะเป็นหัวหน้าคณะทั้งภาครัฐบาลและเอกชนของไทยเดินทางไปจีน

เพื่อเจรจาในเรื่องขอเพิ่มโควตาสินค้า การลดภาษีนำ เข้า และการขอความสะดวกเกี่ยวกับวีซ่าให้กับคน จีนเพื่อเดินทางมาเที่ยวไทยได้มากขึ้น และตนจะเป็นหัวหน้าคณะเจรจากับภาคเอกชนของจีน

โดยสินค้าที่ไทยมีศักยภาพที่จะนำไปเจรจาเพื่อขายให้กับจีน 4 รายการ คือ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา และน้ำตาล ไทยจะขอให้จีนลดภาษีนำเข้ายางพาราที่เก็บ ภาษีผลิตภัณฑ์ยางพาราในอัตราที่สูง

เช่น ถุงมือแพทย์ หากนำเข้ายางดิบ ยางแผ่น ภาษีจะถูกกว่า กันมาก เพราะว่าจีนมีโรงงานที่ผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพาราเหมือนกัน ทำให้มีการปกป้องโรง งาน ภายในประเทศ

ส่วนสินค้ามันสำปะหลังไทยจะไม่ผลักดันให้เพิ่มโควตานำเข้า เนื่องจากผลผลิตของไทยมีน้อย ส่วนในเรื่องโควตาข้าว ขณะนี้จีนได้จัดสรรโควตาให้กับมณฑลต่างๆ แล้ว

ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องไปติดต่อแต่ละมณฑลเพื่อขอโควตาดังกล่าวกันเอง อนึ่งค่าเงินบาทวันที่ประกาศลอยตัว 2 ก.ค. 2540 อยู่ที่ 27.80 บาทต่อดอลลาร์ เคยอ่อนค่ามากสุดประมาณ 52

และวันนี้ค่าเงินบาทอยู่ที่ 41.55/60 นักบริหารเงินกล่าวว่าค่าเงินบาทช่วงปิดตลาดอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากช่วงเปิดตลาด โดยปิดตลาดอยู่ที่ 41.55/60 บาทต่อดอลลาร์ ช่วงเปิดตลาดอยู่ที่ 41.53/55

บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งปริมาณการซื้อขายปานกลางและค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนขึ้นลงตามทิศทางของค่าเงินเยนเป็นหลัก โดยในช่วงปิดตลาดค่าเงินเยนปรับตัวอ่อน ลงแตะระดับ 120 เยนต่อดอลลาร์

ตลอดทั้งวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวประมาณ 10 สตางค์ โดยอ่อนค่าสุดที่ระดับ 41.56 บาทต่อดอลลาร์ และแข็งค่าสุดที่ระดับ 41.46บาทต่อดอลลาร์ "การซื้อขายเงินบาทวันแรกของเดือนก.ค.

ปรับตัวอ่อนลงเล็กน้อยตอนปิดตลาดตามทิศ ทางของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าแตะระดับ 120.80 เยนต่อดอลลาร์ช่วงบ่าย

จากแรงขายดอลลาร์เยนของนักลงทุนในตลาดต่างประเทศส่งผลให้ค่าเงินภูมิภาคปรับตัวอ่อนลงตาม แต่ช่วงเช้าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากแรงขายดอลลาร์ของกลุ่มผู้ส่งออกสินค้า" นักบริหารเงิน

คาดว่า วันนี้(3 ก.ค.)เงินบาท จะมีแนวรับอยู่ที่ 41.50 และแนวต้านที่ 41.60 บาทต่อดอลลาร์



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.