บิ๊กซี-คาร์ฟูร์ ยอมรับเก็บค่าธรรมเนียมสินค้าแรกเข้า


ผู้จัดการรายวัน(2 กรกฎาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

บิ๊กซี-คาร์ฟูร์ยอมรับมีการเรียก เก็บค่าธรรมเนียมสินค้าแรกเข้า และค่าโฆษณาสิน ค้าจริง แต่เก็บเท่าไรไม่ตอบ อ้างจะส่งรายละเอียด ให้ในภายหลัง แถมพบ 1 ใน 2

รายก็ยังยอมรับมีการนำสินค้าที่ขอจากซัปพลายเออร์ฟรีๆ เพื่อนำไปลดแลกแจมแถมมาลงเป็นรายรับจริง ส่วนการผลิตสินค้าเฮาส์แบรนด์ขึ้นมาแข่งบอกไม่แน่ ใจ ระบุ

ทั้งหมดล้วนเป็นการสมยอมระหว่างกัน "เนวิน" ลั่นชี้แจงไม่ได้เรื่อง แต่ยังเดินหน้าไล่บี้ให้ถึงที่สุด วานนี้ (1 ก.ค.) คณะอนุกรรมการการแข่งขัน ทางการค้า ที่มีนายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่า

การกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ได้เชิญดิสเคานต์ สโตร์ที่เหลืออีก 2 ราย คือ บิ๊กซีและคาร์ฟูร์มาชี้แจงข้อกล่าวหากรณีซัปพลายเออร์ได้ร้องเรียนว่าดิสเคานต์สโตร์มี การดำเนินธุรกิจการค้าไม่เป็นธรรม

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เชิญให้แม็คโครและเทสโก้โลตัสมาชี้แจงแล้ว นายเนวินกล่าวว่า ในครั้งนี้ ทั้ง 2 รายได้เข้ามาชี้แจง แต่ก็ยังมีบางประเด็นที่ไม่สามารถชี้แจงได้ เนื่องจากข้อมูลไม่พร้อม โดยทั้ง 2

รายได้ขอที่จะส่งรายละเอียดเพิ่มเติมให้ในภายหลัง แต่โดยรวมแล้วถือว่าชี้แจงได้ไม่เคลียร์เท่าที่ควร ซึ่งทั้ง 2 รายคงจะคิดว่าคณะอนุกรรมการจะไม่ถามในรายละเอียดถึงขนาดนี้

แต่ก็ได้ย้ำไปว่าขอให้ส่งข้อมูลที่ เหลือมาให้โดยเร็วที่สุด เพราะต้องการที่จะสรุปเรื่อง นี้ให้เสร็จสิ้นเสนอให้คณะกรรมการการแข่งขันทาง การค้าที่มีนายอดิศัย โพธารามิก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พิจารณาภายในเดือนกรกฎาคม 2545 นี้ สำหรับข้อชี้แจงที่ไม่ชัดเจนนั้นทางผู้บริหารทั้ง 2 รายได้ยืนยันว่าจะทำเป็นหนังสือชี้แจงมาอีกครั้งในภายหลัง เช่น

การทำสัญญาระหว่างดิสเคานต์สโตร์กับซัปพลายเออร์ในการนำสินค้าจากซัปพลาย-เออร์ไปวางจำหน่าย การนำสินค้าของซัปพลายเออร์ออกจากห้าง (Delete) หลังจากที่มีจ้างให้ผลิตสินค้า

ภายใต้แบรนด์เนมของดิสเคานต์สโตร์ (เฮาส์แบรนด์) รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการลงโฆษณาสินค้า "ผู้บริหารทั้ง 2 รายยอมรับว่า ได้มีการเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Entrance fee) จริง แต่เงื่อน

ไขและวิธีการเก็บแตกต่างกันและยอมรับว่ามีการเรียกเก็บค่าลงโฆษณา ค่าชั้นวางสินค้าที่แตกต่างกัน แต่อ้างว่าเป็นการสมยอมกันระหว่างดิสเคานต์สโตร์กับซัปพลายเออร์ แต่อนุกรรมการฯ

พิจารณาแล้วไม่ตรงกับที่ซัปพลายเออร์ร้องเรียนมา"นายเนวินกล่าว อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร 1 ใน 2 รายที่มาชี้แจง ได้ยอมรับว่ามีการนำสินค้าที่ได้มาจากซัปพลายเออร์ ฟรีๆ เพื่อนำไปจัดโปรโมชั่นลด

แลก แจก แถมในการเปิดสาขาใหม่ แต่เมื่อแจกไม่หมดก็นำไปลงบัญชีว่าเป็นรายรับของบริษัทจริง นายเนวินกล่าวว่า ผู้บริหารของดิสเคานต์สโตร์

ต่างชาติยังได้แจ้งว่าการเข้ามาลงทุนของเขาได้สร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและรัฐบาลไทยมากมาย เพราะฉะนั้น เรื่องค้าปลีกแค่นี้เป็นเพียงเรื่องเล็กๆ

เท่านั้นเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่เขามอบให้กับสังคม แต่คณะอนุกรรมการฯ ก็เพียงรับทราบเท่านั้น คงไม่ได้มี ผลต่อการตัดสินของคณะอนุกรรมการฯ แต่อย่างใด

"จะมีการเชิญซัปพลายเออร์มารับฟังการชี้แจง ของที่ได้รับจากดิสเคานต์สโตร์ทั้ง 4 รายอีกครั้ง โดยจะถามว่าพอใจคำชี้แจงของดิสเคานต์สโตร์หรือไม่ โดยจะบอกว่าดิสเคานต์สโตร์ว่าอย่างนี้

และส่วนใหญ่บอกว่าเป็นการสมยอมกันระหว่างดิสเคานต์สโตร์กับซัปพลายเออร์ ซึ่งหากซัปพลายเออร์บอกไม่จริง ก็ต้องเชิญให้ดิสเคานต์สโตร์ทั้ง 4 รายมาชี้แจงอีก

ก่อนที่จะสรุปให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าพิจารณา" นายเนวินกล่าว สำหรับขั้นตอนการเสนอให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าพิจารณาดำเนินการต่อไปนั้น

จะแยกแต่ละประเด็นว่าข้อกล่าวหานั้นๆ เข้าข่ายความผิดและตรงกับความรับผิดชอบของหน่วยงานใด เช่น เรื่องภาษีจะส่งให้กรมสรรพากรรับไปดำเนิน การ เรื่องเครื่องหมายการค้า

ส่งให้กรมทรัพย์สินทาง ปัญญาดำเนินการ เรื่องการทำการค้าไม่เป็นธรรมส่งให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ดำเนินการ

หรือหากมีส่วนใดเกี่ยวข้องกับกฎหมายการแข่งขันทางการค้า คณะกรรมการการแข่งขันทาง การค้าก็จะพิจารณาเอง ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการฯ

ได้เชิญผู้บริหารของเทสโก้ โลตัส และแม็คโครมาชี้แจงข้อร้องเรียนของซัปพลายเออร์เช่นกันซึ่งทั้ง 2 รายยอมรับเช่นกันว่ามีการเรียกเก็บ EntranceFee มีการ Delete สินค้าออกจากห้างจริง

โดยเฉพาะกรณีสินค้าเฮาส์แบรนด์ของดิสเคานต์สโตร์นั้นข้อมูลเบื้องต้นพบว่าเป็นการทำการค้าที่ไม่เป็นธรรมมาแล้ว



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.