เส้นทางธุรกิจส่งออกของ"Propaganda"


ผู้จัดการรายวัน(27 มิถุนายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

ประสบการณ์ธุรกิจสอนให้ Propaganda รู้ว่าธุรกิจส่งออกเป็นอีกในช่องทางที่ผู้ประกอบการไม่ควรละเลย ชี้รีเทลเป็นธุรกิจดีในระยะสั้นมีรายได้ทุกวันขณะที่ส่งออกเป็นธุรกิจสร้างชื่อ

เผยเตรียมสร้างแวร์ เฮ้าส์ในเยอรมัน-อเมริกาหวังสร้างอนาคต Propaganda เอาจริงธุรกิจส่งออกอีกครั้ง เมตตา สุดสวาท กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพพาแกนดิส ผู้ผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์เนม

Propaganda กล่าวว่านอก จากการเปิดทำธุรกิจในประเทศแล้ว ตลาดต่างประเทศเป็นอีกหนึ่งตลาด ที่น่าสนใจ

โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการอยู่ในธุรกิจนี้อย่างจริงจัง ต้องให้ความสำคัญกับตลาดส่งออกพอๆกับธุรกิจประเทศ เพราะนอกจากในแง่รายได้แล้วยังเป็นการสร้างแบรนด์ของสินค้าให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลกได้เป็นอย่างดี

จุดเริ่มต้นของการเข้ามาในธุรกิจส่งออกของ Propaganda เริ่มต้นขึ้นจากความต้องการที่จะมีเงินสดเข้ามาหมุนเวียนมากยิ่งขึ้นโดยเกิดขึ้นจากการสังเกตลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าว่ามีจำนวนหนึ่งที่เป็น

ลูกค้าชาวต่างชาติโดยมีทั้งลักษณะ การซื้อสดและการซื้อไปเพื่อจำหน่ายต่อ ซึ่ง ณ จุดนั้นเองจึงเป็น ที่มาของแนวความคิดของการหันมาทำธุรกิจส่งออกอย่างจริงจัง

"การตั้งราคาเป็นหนึ่งในปัญหาของผู้ส่งออกซึ่งทีมผู้บริหาร Propaganda ประสบมาแล้ว เพราะความไม่รู้ ไม่เคยอยู่ในธุรกิจ ส่งออกมาก่อนจึงไม่รู้ว่าต้องตั้ง

ราคาขายกับต่างชาติสักเท่าไรจึงจะเหมาะสม ทำให้ในช่วงแรกขาดทุนอย่างมากเพราะไม่ได้บวกค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้ด้วย"

เมื่อต้องการจะเป็นผู้ส่งออกอย่างจริงก็ต้องมองหาช่องทางในการเปิดตัวสินค้า เมตตาแนะนำว่า การออกงานโชว์ต่างๆ จะเป็น ประโยชน์กับผู้ต้องการส่งออกอย่าง

ยิ่งเพราะเป็นแหล่งที่ทำให้ผู้ซื้อมาพบผู้ขายหรือผู้ผลิตได้โดยตรง โดยเฉพาะงานโชว์ในต่างประเทศที่เป็นงานระดับโลกจะเป็นการยกระดับสินค้าได้เป็นอย่างดี ที่ผ่านมาสินค้าของ Propaganda

เป็นที่รู้จักอย่างดีในสหรัฐอเมริกาแต่หลังจากเหตุการณ์เวิล์ดเทรดเซ็นเตอร์ธุรกิจซบเซาลงไปบ้าง มาในปีนี้ Propaganda จะกลับไปรุกตลาดอเมริกาอีกครั้งโดยจำนำสินค้าไปเปิดตัวที่ซานฟรานซิสโก

"ธุรกิจส่งออกหัวใจหลักอยู่ที่ตัวสินค้า ที่ผ่านมาเราพบว่าสินค้า ที่เน้นการออกแบบง่ายจะไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ในขณะ ที่สินค้าที่มุ่งเน้นเรื่องดีไซน์จะเป็นที่ต้องการของตลาด" เมตตา กล่าว

ผู้บริหาร Propaganda กล่าวว่าจากประสบการณ์ของการอยู่ในธุรกิจนี้มากว่า 8 ปีทำให้พบข้อดีและข้อด้อยของสินค้าไทย คนไทยไม่สามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ในเรื่องเทคโนโลยี

เพราะเราไม่มีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน โรงงานผลิตสินค้าที่มีอยู่ก็มักไม่ยอมลงทุนเพิ่มเทคโนโลยีใหม่เข้าเมื่อลูกค้ามีความต้องการให้ผลิตสินค้าที่แปลกใหม่ขึ้นมา

ในขณะที่ต่างประเทศเขาจะยอมลงทุนไปกับลูกค้าผู้จ้างให้ผลิตสินค้าด้วย เพราะมองว่าเป็นการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าอีกระดับหนึ่ง การไม่ยอมพัฒนากระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยี

ที่ทันสมัยนี้เองนับเป็นอุปสรรคของผู้ประกอบการไทยอีกอย่างหนึ่ง เมื่อค้นพบว่าศักยภาพทาง การแข่งขันของกำลังการผลิตของไทยไม่สามารถแข่งขันในเรื่องเทคโนโลยีได้ Propaganda

จึงหันมาให้ความสำคัญกับการออก แบบดีไซน์เพื่อจุดเด่นของสินค้ามากกว่า ปัจจุบันคอนเซ็ปต์สินค้าที่ Propaganda ออกแบบขึ้นจะอยู่บนแนวทางของการมองความเป็นไปได้ของชีวิตประจำวัน

มองความ จำเป็นต่อเนื่องของการใช้วัสดุหรืออุปกรณ์นั้น จึงเป็นที่มาของการออก แบบสินค้าให้มีความลงตัวในด้านการใช้งานจนได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆ มากมาย เช่น

ถาดใส่ผลไม้ที่มีมีดเสียบพร้อมใช้งานได้สะดวก หรือขวดพริกไทกับเกลือ ที่อยู่ติดกัน ล้วนเป็นสินค้าที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น เมตตากล่าวว่านอกจากแนว ทางการดำเนินธุรกิจที่วางไว้แล้วทีม

งานยังให้ความสำคัญกับปรัชญาใน การทำธุรกิจที่ยึดถือว่าดีไซเนอร์ต้องไม่ก๊อบปี้งานของผู้อื่น ซึ่งก็เป็นแนวทางเริ่มแรกของการก่อตั้งธุรกิจมาจนถึงทุกวันนี้

ขณะที่คุณภาพของสินค้าก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทั้งผู้ส่งออกและทำตลาดในประเทศต้องระลึกไว้เสมอ ว่าผู้ที่เสียเงินซื้อสินค้าย่อมต้อง การได้สินค้าที่ดี มีคุณภาพ ยิ่งหาก

เป็นสินค้าที่ต้องการส่งออกก็ตามควรทำให้ได้มาตรฐาน

โดยควรศึกษาว่าในแต่ละประเทศที่ส่งสินค้าออกไปนั้น มีมาตรฐานรองรับอย่างไร เพื่อจะได้ผลิตสินค้าที่รองรับการใช้งานของผู้บริโภคในประเทศนั้นได้

มิใช่ผลิตโคมไฟส่งไปประเทศในแถบยุโรปโดยไม่รู้ว่าเขาใช้ไฟลักษณะไหน ยิ่งได้รับการยอมรับติดตรามาตร ฐานของประเทศนั้นจะทำให้สินค้าได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภคในประเทศเป็นอย่างดี

จากจุดเริ่มแรกของการลง ทุนด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท โดยปัจจุบันเพิ่มทุนเป็น 12.5 ล้าน โดยมียอดขายตกปีละประมาณ 35 ล้านต่อปี

โดยผู้บริหารกล่าวว่าในการทำธุรกิจโปรดักส์ดีไซน์เป็นธุรกิจที่มองหากำไรยาก

โดยการเติบโตของธุรกิจต้องเป็นไปด้วยตัวสินค้าเองหากจะมุ่งหวังให้เป็นธุรกิจที่มีกำไรเป็นพันล้านเหมือนธุรกิจคงเป็นไปยากแต่ได้ความภาค ภูมิใจมากกว่า ในอนาคต Propaganda วาง

ไว้ว่าจากจะมุ่งเน้นการทำตลาดรีเทลให้มากยิ่งขึ้นโดยมีการเปิดชอปขึ้นอีกเรื่อยๆ โดยในระยะสั้นพบว่ารีเทลชอปในประเทศเป็นธุรกิจที่ดีและอยู่รอดได้

มีเงินหมุนเวียนเข้ามาเร็วทุกวันและดีกว่าการส่งออก ในขณะที่ธุรกิจส่งออกก็คงต้องทำไปเพราะความต้อง การที่จะสร้างชื่อ Propaganda ให้ ติดปากคนทั่วโลกเมื่อนึกถึงโปร-

ดักส์ดีไซน์ก็นึกถึงคนไทยขึ้นมา จากการวางอนาคตไว้ว่าจะเน้นตลาดในประเทศแต่เราก็จะไม่ทิ้งตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะอเมริกา โดยล่าสุด Propaganda

เตรียมเปิดแวร์เฮ้าส์ที่อเมริกาและเยอรมันเพื่อทำธุรกิจขายตรงให้กับผู้ประกอบการในประเทศนั้นได้เลย ซึ่งจะทำให้ทำให้ตลาดได้มาก ขึ้นแต่แน่นอกก็ต้องมีการทำการตลาดในทั้ง 2 ประเทศด้วย

"ถ้าจะถามว่าเป้าหมายหลังการตั้งแวร์เฮ้าส์ในทั้ง 2 ประเทศนี้เป็นเช่นไรคงยังตอบไม่ได้ในตอนนี้ แต่เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดการส่งออกเราต้องทำ โดยเราพยายามขาย

ผ่านเซลส์เอเจนและจะพยายามไม่มีอิมพอร์ตเตอร์ไปยังอเมริกาและยุโปร ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าจะเป็นแนว ทางที่เดินมาถูกทางหรือไม่

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแนวทางธุรกิจที่วางไว้ที่จะให้ความสำคัญกับธุรกิจส่งออก จากเดิมสัดส่วนการทำตลาดในธุรกิจรีเทล 80 และส่งออก20 มา เป็น 70-30 และในอนาคตวางสัด

ส่วนการทำตลาดส่งออกไว้ที่ 50 และ ธุรกิจรีเทลอีก 50%"



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.