ตั้งทีมบริหารทีพีไอ


ผู้จัดการรายวัน(26 มิถุนายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

สหภาพแรงงานทีพีไอ ยื่นหนังสือถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขณะที่เดินทางไปร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี สัญจร เรียกร้องให้ตั้งคณะทำงานพิเศษขึ้นบริหารแผนฟื้นฟูกิจการ "ทีพีไอ" แทน

"อีพีแอล" เหตุบริหารแผนล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง อันจะกระทบต่อเสถียรภาพของพนักงานทีพีไอและครอบครัว หลังจากที่ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งเห็นชอบกับแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ และแต่งตั้งให้บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด หรืออีพีแอล เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2543 ที่ผ่านมา

การเข้ามาบริหารแผนฟื้นฟูกิจการของอีพีแอล ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างอีพีแอลกับพนักงานทีพีไอทุกคน ตั้งแต่ระดับผู้บริหารและลุกลามถึงพนักงานระดับผู้ปฏิบัติการ

ทั้งนี้เนื่องจากพนักงานต่างมีความเชื่อมั่นว่า อีพีแอลไม่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ เพียงพอที่จะนำพาทีพีไอบรรลุถึงเป้าหมายได้

รวมทั้งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายจนกระทั่งถึงขั้นล้มละลายได้ ล่าสุดนายวิชิต นิตยานนท์ รองประธานสหภาพแรงงานผู้บริหารทีพีไอ เปิดเผยว่า สหภาพ แรงงานทีพีไอ

ได้ยื่นหนังสือถึงพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในช่วงที่คณะรัฐมนตรีเดินทางไปประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ที่จังหวัดระยองและตราด

โดยหนังสือฉบับดังกล่าวได้ระบุถึงเป็นปัญหาของทีพีไอในด้านแรงงานและความมั่นคงของ ชาติ ทั้งนี้หลังจากที่อีพีไอ เข้ามาบริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอปรากฏว่า

การบริหารงานของอีพีแอลล้มเหลวโดยสิ้นเชิง คือไม่สามารถดำเนิน การได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่กำหนดไว้ คือ สามารถทำได้เพียง 40% ของเป้าหมายในแผนฟื้นฟูกิจการ

และเป็นการยากที่จะสามารถดำเนิน การให้บรรลุตามแผนฟื้นฟูฯ ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ทีพีไอล้มละลายได้ในที่สุด เพราะทีพีไอมีภาระหนี้สินจำนวนมาก

สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้แผนฟื้นฟูกิจการไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้นั้น นอกจากภาระหนี้สินจำนวนมหาศาลแล้ว ในแผนฟื้นฟูกิจการไม่ได้มีการปรับลดหนี้ (Hair Cut) ให้กับทีพีไอแต่อย่างใด

และต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา MLR+2% ภายในระยะเวลา 4 ปี ค่าบริหาร แผนสูงกว่า 1,000 ล้านบาท รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าที่ปรึกษา ค่าจ้างพนักงานรักษาความปลอด ภัย

ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความจำเป็นที่ทีพีไอ จะต้องเป็นผู้แบกรับภาระทั้งหมด นายวิชิต กล่าวเพิ่มเติมว่า หากทีพีไอตกอยู่ในสถานะล้มละลายแล้ว ไม่เพียงแต่จะทำให้พนักงานทีพีไอตกงานกว่า 7,000

คน แต่จะส่งผลกระทบกับครอบครัวของพนักงานกว่า 25,000-30,000 ชีวิตที่จะต้องเดือดร้อนไปด้วย รวมถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง

รวมปัญหาด้านสังคมจะตามมาและที่สำคัญคือผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจระดับชาติ ความไม่มั่นใจในการลงทุนจากต่างชาติ

ศักยภาพและความได้เปรียบในธุรกิจปิโตรเคมีที่ครบวงจรของทีพีไอที่ต่างชาติมุ่งทำลาย "รัฐบาลต้องรีบหามาตรการรองรับโดยด่วน เพราะหากเกิดภาวะล้มละลายของทีพีไอ

จะเกิดความสับสนของพนักงายและเสี่ยงต่อความปลอด ภัย เนื่องจากภายในโรงงานเต็มไปด้วยสารไฮโดรคาร์บอนและน้ำมันที่ไวไฟปริมาณมหา ศาล" พร้อมกันนี้ สหภาพแรงงานทีพีไอ ได้เรียก

ร้องให้นายกรัฐมนตรีเข้ามาแก้ไขปัญหาทีพีไออย่างไรด่วน และเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานพิเศษ เพื่อร่วมกันหาแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาทีพีไอ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น

อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อพนักงาน ทีพีไอ และประเทศชาติ โดยคณะทำงานพิเศษนั้น สภาพแรงงานทีพีไอ เสนอให้มีการแต่งตั้งจากตัวแทนของฝ่ายต่างๆ อาทิ

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการคลัง สำนักนายก รัฐมนตรี รวมถึงนักวิชาการที่มีความเป็นกลางและเป็นที่ยอมรับในสังคมและสหภาพแรงงานในเครือทีพีไอ

อย่างไรก็ตาม หากเรื่องร้องเรียนดังกล่าว รัฐบาลไม่ได้ดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรม ทางสหภาพแรงงานทีพีไอพร้อมกับพนักงานกว่า 7,000 คน จะเดินทางจากระยองมาทวงถามความ

เป็นธรรมกับรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ในเร็วๆ นี้ ก่อนหน้านี้ สหภาพแรงงานทีพีไอ ได้เข้าร้อง เรียนต่อนุกรรมาธิการแรงงานของรัฐสภา ตั้งแต่เดือนเดือนพฤศจิกายน 2544

เกี่ยวกับผลกระทบต่อสภาพการจ้างงานของพนักงานทีพีไอกว่า 7,000 คน โดยการเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ จนทำให้อนุกรรมาธิการแรงงานฯ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผู้เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ

ยอมรับในเหตุผลทั้งยังตระหนักถึงผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อสภาพการจ้างงานของพนักงานทีพีไอ รวมถึงบริษัททีพีไอ ที่เป็นบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของคนไทยด้วย ต่อเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม

2545 ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมาธิการแรงงานของรัฐสภา ได้เรียกให้สหภาพแรงงานฯ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์เข้ารับฟังผลการพิจารณา ซึ่งตัวแทนสหภาพแรงงานทีพีไอกว่า 50 คน

ได้เข้าร่วมรับฟังการให้ปากคำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผลการพิจารณาของอนุกรรมาธิการแรงงาน ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ผลประกอบการของทีพีไอไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้

และต่ำกว่าที่กำหนดไว้มาก



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.