แม็คโครปันผลกว่าพันล้าน จับตามาตรการ"รมช.เนวิน"


ผู้จัดการรายวัน(24 มิถุนายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

แม็คโคร ปันผลกว่า 1.14 พันล้านบาท โดยเฉพาะจ่ายปันผลระหว่างกาล 3 บาท เมื่อ 11 มิถุนายน หลัง "รมช.เนวิน" ฮึ่มใส่ค้าปลีกต่างชาติ

นักวิเคราะห์เผยที่ผ่านมาแม็คโครไม่เคยจ่ายปันผลระหว่างกาลมาก่อน แถมครั้งนี้จ่ายสูงเป็นพิเศษ การขึ้นเครื่องหมายสำหรับผู้ที่ซื้อหุ้นของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ MAKRO

จะไม่ได้รับเงินปันผล(XD)ระหว่างกาล ในอัตราหุ้นละ 3 บาท เมื่อวันที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา ส่งผลให้หุ้นของ MAKRO ปรับตัวลดลงไปค่อนข้างแรง โดยลดลงไปลึกถึง 6.25 บาท ที่ราคา 43.25 บาท

หรือลดลง 12.63% ก่อนที่จะกระเตื้องขึ้นมาปิดที่ 43.75 บาท ลดลง 5.75 บาท หรือลดลงไป 11.61% มูลค่าการซื้อขาย 13.98 ล้านบาท กำหนดการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลของ MAKRO มีขึ้นเมื่อวันที่

11 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมติกรรมการบริษัทมีมติให้บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัท ในอัตราหุ้นละ 3 บาท สำหรับหุ้นทั้งหมดจำนวน 240 ล้านหุ้น

เป็นเงินปันผลรวมทั้งสิ้น 720 ล้านบาท โดยไม่ต้องจัดสรรเงินสำรองตามกฎหมายเนื่องจากจำนวนเงินสำ รองของบริษัทเป็นไปตามที่กฎ หมายกำหนดแล้ว ทั้งนี้ให้กำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 8

กรกฎาคม 2545 เงินปันผลระหว่างกาลจำ นวนดังกล่าวทางคณะกรรมการบริษัท พิจารณาจากกำไรสะสมของบริษัท และกำไรซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการจำหน่ายเงินลงทุนทั้ง หมดในบริษัท

แม็คโครออโตแคร์ จำกัด เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2545 เป็นเงิน 643 ล้านบาท และสัญญาสมบูรณ์เมื่อ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา "หุ้นที่ปรับตัวลดลงไปกว่า 6 บาท

ถือว่าปรับตัวลงไปมากกว่าเงินปันผลที่มีการจ่ายกัน ไม่แน่ใจว่ามีผู้ถือหุ้นรายใดขายออกมาหรือไม่"นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่งตั้งข้อสังเกตและกล่าวต่อไป ว่า

ที่น่าแปลกใจกว่านั้นคือการประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลของ MAKRO ที่เดิมไม่เคยมีการจ่ายเงินปันผล แม้ว่าในขณะนั้นประเทศไทยจะเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ

และปันผลระหว่างกาลนี้ก็เป็นการปันผลในอัตราที่สูงกว่าการจ่ายเงินปันผลปกติทุกครั้ง อีกทั้งเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทางบริษัทก็ได้จ่ายเงินปันผลประจำปี 2544 ให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ

1.70 บาท รวมเป็นเงิน 420 ล้านบาท และครั้งนี้อีก 720 ล้านบาท รวมเป็น 1,140 ล้านบาท ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับ MAKRO เพราะนับตั้งแต่การเข้ามารับตำแหน่งของนายเนวิน ชิดชอบ

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง พาณิชย์ ได้เริ่มเอาจริงเอาจังกับบริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ข้ามชาติทั้ง 4 รายตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม โดยห้างที่ถูกจับตาประกอบด้วยห้าง แม็คโคร เทสโก้โลตัส บิ๊กซี

และคาร์ฟูร์ ซึ่งมี 2 ห้างที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คือ แม็คโครและบิ๊กซี ในส่วนของบิ๊กซีนั้นยังไม่มีการเคลื่อนไหวอะไร แต่ในส่วนของแม็คโครเริ่มมีการจ่ายปันผลระหว่างการออกมา

ซึ่งตามสถานะทาง การเงินของแม็คโครถือได้ว่าเป็นบริษัทที่มีฐานะทางการเงินดี มีส่วนเกินมูลค่าหุ้น มีกำไรสะสมในระดับที่สูง แม้ว่าการจ่ายเงินปันผลเพียงแค่ 1.14 พันล้านบาท อาจจะดูไม่มากนัก

หากเทียบ กับกำไรสะสมที่มีอยู่ 3 พันกว่าล้านบาท แต่อาจ จะเป็นการส่งสัญญาณอะไรบางอย่างสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกข้ามขาติที่เข้ามาในยุค แรกๆ ขณะนี้

ยังไม่มีรายละเอียดอะไรที่ชัดเจนมากนัก สำหรับมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ว่าจะดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับค้าปลีกข้ามชาติ

แต่การที่รัฐมนตรีช่วยออกมาอย่างนี้ถือว่าไม่ใช่สัญญาณในเชิงบวกสำหรับค้าปลีกต่างชาติที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะ MAKRO ที่ในระยะหลังมีการขยายสาขาไม่มากนัก

ซึ่งก่อนหน้านั้นก็เคยมีกระแสข่าวว่าผู้ถือหุ้นอาจจะถอนการลงทุนจากเมืองไทย แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ ดังนั้นคงจะต้องรอความชัดเจนจากกระ ทรวงพาณิชย์ก่อนว่า

นโยบายการคุ้มครองผู้ค้าปลีกรายย่อยในประเทศจะกระทบต่อค้าปลีกข้ามชาติมากน้อยแค่ไหนเพียงใด กิมเอ็งประเมินกำไรหด บทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์กิมเอ็ง (ประเทศไทย)

เคยออกบทวิจัยไว้เมื่อ 28 พฤษ-ภาคมที่ผ่านมาว่า เชื่อว่าผลการดำเนินงานของบริษัทจะมีแนวโน้มแย่ลง เนื่องจากการที่ยอดขายมีการเติบโตที่ชะลอตัวลงและอัตรากำไร

ขั้นต้นที่ลดลงโดยมีการแข่งขันด้านราคากับดีสเคานต์สโตร์ ดังนั้นฝ่ายวิจัยของกิมเอ็งจึงปรับประมาณการกำไรของปี 2545 และ 2546 ลง 14% และ 17% ตามลำดับ MAKRO

หลังจากไม่ได้ขยายสาขาตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีก่อน MAKRO จะเปิดสาขาที่ 21 ที่สามเสนในเดือนมิถุนายนนี้ โดยมีพื้นที่ขาย 6,000 ตารางเมตร ส่งผลให้ MAKRO มีสาขาในกรุงเทพฯ ทั้งหมด 8

แห่งและต่างจังหวัด 13 แห่ง สำหรับสาขาแห่งใหม่จะเป็นต้นแบบของสาขาอื่นๆ ที่จะเปิดใหม่ต่อไปโดยมีลักษณะเป็นร้านค้าส่งเต็มรูปแบบและไม่มีแอร์ นอกจากนั้น บริษัทยังมีพื้นที่อีก 2

แห่งคือที่เชียงรายและกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับอนุญาตก่อสร้างแล้วและอาจจะเริ่มก่อสร้างในช่วงปลายปีนี้ MAKRO เริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบภายในสาขาและการจัดเรียงสินค้าให้อยู่ในลักษณะของ

กิจการค้าส่งเต็มรูปแบบ โดยสาขาแรกที่ปรับคือสาขาลาดพร้าวซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนมิถุนายนนี้ และจะเป็นสาขาต้นแบบสำหรับสาขาเดิมอื่นๆ ของ MAKROซึ่งจะมีการปรับรูป แบบสาขาตามมา

อย่างไรก็ตามเราไม่ค่อยเห็นด้วยกับแนวคิดการอนุญาตให้เฉพาะลูกค้าที่มีบัตรสมาชิกเข้าไปซื้อสินค้าใน MAKRO โดยบริษัทเน้นที่ลูกค้าหลักคือ ผู้ค้าปลีกรายย่อย ผู้ประกอบกิจการร้านอาหาร

และหน่วยงานราชการ บริษัท ห้างร้าน มากกว่าผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา MAKRO ทำสัญญาขายหุ้นทั้งหมดของบริษัทย่อย คือ บริษัท แม็คโคร ออโตแคร์ (MAX)

ซึ่งทำธุรกิจเป็นศูนย์บริการเปลี่ยนอุปกรณ์รถยนต์ ล้างรถ ยนต์อัตโนมัติและสถานีบริการน้ำมัน ให้กับบริษัท อาร์ บี เซอร์วิส ที่ราคาเบื้องต้น 643 ล้านบาท โดยคาดว่าสัญญาจะเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 31

พฤษภาคมนี้ ซึ่งจะทำให้ MAKRO สามารถบันทึกผลกำไรจากการขายเงินลงทุนในบริษัทย่อย เป็นเงินประมาณ 100-200 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 สำหรับการขายเงินลงทุนดังกล่าวก็เป็นไปตาม

นโยบายของบริษัทในการเน้นทำธุรกิจหลัก แต่เนื่องจากรายได้ของ MAX คิดเป็น 3% ของรายได้รวม เราคาดว่า ในปีนี้ MAKRO จะมีรายได้รวมลดลง 2.6% จากปีก่อนเป็น 37,235 ล้านบาท

ฐานะการเงินของบริษัทยังคงแข็งแกร่งเช่น เดิม โดยมีฐานะเป็นเงินสดสุทธิ (Net cash po-sition) ที่ 4,400 ล้านบาท หรือ 19 บาทต่อหุ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่มีแนวคิดในการซื้อหุ้น คืนในขณะนี้

ถ้าไม่รวมกำไรจากการขายเงินลงทุนประ มาณ 100 ล้านบาท เราคาดว่าในปีนี้ MAKRO จะมีกำไร 846 ล้านบาทซึ่งลดลง 14% จากปีที่ผ่านมา

เนื่องจากยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นลดลงจากการที่บริษัทหันมาทำธุรกิจค้าส่งเต็มตัวโดยลดราคาสินค้าลง



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.