บริษัทโนเกีย (Nokia) เปิดตัวโทรศัพท์มือถือไตรแบนด์ (Triband) รุ่นใหม่ล่าสุด
พร้อมจอสีความละเอียดสูง สำหรับนักธุรกิจหรือโมบายล์โปรเฟสชั่นแนล ในงาน
"Nokia Connection 2002"
ที่ประเทศสิงคโปร์ โนเกีย 6610 (Nokia 6610) เป็นโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ในระดับบิสซิเนสคลาสของบริษัทโนเกีย
ที่มีฟีเจอร์ต่างๆมาให้ใช้งานกันอย่างครบครัน เช่น ระบบไตรแบนด์
ที่สามารถนำไปใช้งานกับ เครือข่ายจีเอสเอ็มได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย
GSM/GPRS 900, 1800 หรือ 1900 นอกจากนั้น ยังสนับสนุนเทคโนโลยี จาวา (Java),
สนับสนุนเอ็มเอ็มเอส (Multimedia
Messaging Service), ชุดลำโพงแฮนด์ฟรี, วิทยุเอฟเอ็ม, เสียงเรียกเข้าแบบโพลีโฟนิค
(Polyphonic Ringtone) และปุ่มควบคุมเคอร์เซอร์แบบ 4 ทิศทาง สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของโนเกีย
6610
ใหม่ก็ไม่ต้องรอนาน เพราะบริษัทโนเกียมีแผนวางจำหน่ายโทรศัพท์รุ่น ดังกล่าวในกลุ่มประเทศยุโรปและเอเชียแปซิฟิก
รวมถึงประเทศไทย ประมาณไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ "เรามีความยินดีที่จะแนะนำผลิต-
ภัณฑ์ใหม่ อีกหนึ่งผลงานการดีไซน์โทรศัพท์มือถือเอ็มเอ็มเอส สำหรับผู้ใช้ระดับโมบายล์โปรเฟสชั่นแนล
ที่มาพร้อมจอภาพสี, สนับสนุนจาวา และระบบไตรแบนด์ โนเกีย 6610 จะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง
ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของนักธุรกิจ ที่มักต้องเดินทางไปในภูมิภาคต่างๆ
ทั้งอเมริกา, ยุโรป และเอเชียแปซิฟิก และจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา"
โรเบิร์ต แอนเดอร์สัน
(Robert Anderson) รองประธานบริษัทโนเกียโมบายล์โฟนส์ ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
กล่าว เขากล่าวต่อว่า "การเปิดตัวโนเกีย 6610 พร้อมการสนับสนุนเอ็มเอ็มเอส
ในครั้งนี้
เป็นการพิสูจน์คำมั่นที่โนเกียเคยมีไว้กับผู้บริโภคว่าจะปล่อยโทรศัพท์ที่สนับสนุนเอ็มเอ็มเอสออกมาให้ครบ
ทุกเซ็กเมนต์ เราเคยพูดว่า ภายในปี 2002 ครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์โนเกียจะซัปพอร์ตเอ็มเอ็มเอส"
โนเกีย 6610 จะสนับสนุนจาวา ทูไมโครเอดิชั่น (Java 2 Micro Edition; J2ME)
ซึ่งเป็นดีไซน์พิเศษสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก จาวา
แพล็ตฟอร์มจะถูกพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของโมบายล์อินฟอร์เมชั่นดีไวซ์โปรไฟล์
1.0 (Mobile Information Device Profile 1.0; MIDP 1.0) ซึ่งช่วยให้นักพัฒนา
แอปพลิเคชั่นสามารถสร้างแอปพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์โมบายล์ได้ นอกจากนั้น
จาวาทูไมโครเอดิชั่นยังอำนวยให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดจาวาแอปพลิเคชั่นต่างๆได้
ตั้งแต่อินเตอร์
แอคทีฟและกราฟิกเกม ไปจนถึงแอปพลิ-เคชั่นเชิงธุรกิจ รวมถึงฟีเจอร์อื่นๆ
สำหรับจาวาแอปพลิเคชั่นที่ติดมากับโนเกีย 6610 จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ตัว คือ
1.คอนเวอร์เตอร์ (Converter)
สำหรับการแปลงหน่วยต่างๆ เช่น สกุลเงิน, อุณหภูมิ และน้ำหนัก เป็นต้น 2.พอร์ตโฟลิโอแมเนเจอร์
(Portfolio Manager) สำหรับติดตามความเคลื่อน ไหวของตลาดหุ้นและระบบรักษาความปลอดภัยอื่นๆ
และ 3.จาวาเกม (Java Game) โนเกีย 6610 ถูกพัฒนาขึ้นบน "โนเกียซีรีย์
40 ยูสเซอร์อินเตอร์เฟส" ซึ่งเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็ก
ใช้จอภาพสีที่สามารถแสดงผลได้สูงสุดถึง 4,096
เฉดสี ส่งผลให้การ ใช้งาน WAP, จาวาแอปพลิเคชั่น และ เกม เต็มไปด้วยสีสันสดใส
สร้างความเพลิดเพลิน ไม่จืดชืดเหมือนที่ผ่านมา ฟีเจอร์ในโนเกีย 6610 ยังรวมไป
ถึงโพลีโฟนิกริงโทนและวิทยุเอฟเอ็ม
ที่ให้คุณได้สัมผัสกับเสียงสเตริโอคุณภาพสูง ทั้งยังสามารถใช้เป็นเสียงเรียกเข้าส่วนตัว
(Personal Ringtone) และเสียงเตือนเมื่อได้รับข้อความเอสเอ็มเอสได้ด้วย
คุณอาจหาโพลีโฟนิกริงโทนได้จากเอ็มเอ็มเอสที่ส่งมาจากเพื่อนของคุณ หรือดาวน์โหลดจากคลับโนเกีย
(Club Nokia) ซึ่งเป็นบริการผ่าน WAP หรืออินเทอร์เน็ต
ที่จะเปิดตัวในประเทศไทยในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ด้วยโนเกียพีซีสูท 5.0 (Nokia
PC Suite 5.0) นอกจากนั้น ยังมีชุดลำโพงแฮนด์ฟรีที่ให้คุณสามารถประชุมหรือ
ฟังวิทยุได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้หูฟังพิเศษ
ที่คลับโนเกีย ผู้ใช้ยังสามารถดาวน์โหลดจาวาแอปพลิเคชั่น, โพลีโฟนิกริงโทน
และรูปภาพผ่าน WAP, เก็บภาพในห้องภาพส่วนตัวในโฟโต้โซน (Photo Zone) และส่งภาพผ่านเอ็มเอ็มเอสจากคลับโนเกีย
เว็บไซต์ได้อีกด้วย ทั้งนี้ ในตลาดเอเชียแปซิฟิก โนเกีย 6610 จะมีให้เลือกอยู่ด้วยกัน
2 สี คือ ดำ และขาว ในแพกเกจมาตรฐานที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ปัจจุบัน
บริษัทโนเกียคือผู้นำในตลาดมือถือโลกด้วยตัวเลขส่วนแบ่งทาง การตลาดจำนวน
40% โดยมีการเติบโตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากที่สุด ในปี 2001 มีจำนวนผู้ใช้มือถือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทั้งสิ้น
33% จากจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลก 930 ล้านคน ประเทศจีนคือตลาดที่มีอัตรา
การเติบโตสูงที่สุดในภูมิภาคนี้ ตามมาด้วยประเทศฟิลิปปินส์เป็นอันดับ 2 และไทยเป็นอันดับ
3 และคาดว่าในปี
2005 จำนวนผู้ใช้มือถือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะเพิ่มขึ้นเป็น 39% จากจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกจำนวน
1.5 พันล้านราย ในปี 2001 บริษัทโนเกียมีรายได้จากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจำนวนทั้งสิ้น
26% หรือ 3.38 แสนล้านบาท จากรายได้รวมทั่วโลกจำนวน 1.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น
6% จากจำนวน 23% ของรายได้รวมในปี 2000