"บัวหลวง"สับ SMEไทยเนิบ ยืนกรานให้กู้


ผู้จัดการรายวัน(20 มิถุนายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

นักวิชาการเผยเอสเอ็มอีไทยมีการปรับตัวล่าช้าอย่างมาก อ้างจากผลงานวิจัยพบมีปัญหารุมเร้ามากมาย ทั้งปัญหาการตลาด การเงินและ ปัญหาด้านการผลิต

แนะรัฐสร้างกลไกที่เอื้อต่อเอสเอ็มอีให้มากขึ้น แบงก์กรุงเทพยืนยันขอเดินหน้าปล่อยกู้เอื้อเอสเอ็มอี วานนี้(19) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL จัดสัมมนา

ให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ของธนาคารในหัวข้อเรื่อง "สถาน ภาพและแนวทางการพัฒนาเอสเอ็มอี" นายวิทยา ด่านธำรงกูล อาจารย์ประจำคณะพาณิชย-

ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "สถานภาพของเอสเอ็มอีไทย" ว่า

จากการที่คณะพาณิชยศาสตร์ได้ทำการวิจัยภายใต้การสนับสนุนของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.)โดยได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของเอสเอ็มอี ทั่วประเทศส 22

จังหวัดครอบคลุมภาคเหนือ ใต้ กลางและตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงการทำการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยพบว่าหลังจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 2540

ที่ผ่านมานั้นเอสเอ็มอีของไทยมีการปรับตัวช้าอย่างมาก "เป็นเรื่องแปลกที่เอสเอ็มอีส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้นไม่น่าตกใจมากนัก

ซึ่งผมมีความรู้สึกว่าเป็นมุมมองที่ให้ความสำคัญต่อปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นน้อยกว่าความเป็นจริง ซึ่งน่าเป็นห่วงมากและอาจเป็นเหตุผลของการปรับตัวที่ล่าช้า นายวิทยากล่าวและว่า

นอกจากนี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ยังมองว่าปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกมากว่าที่จะเห็นว่ามาจากปัจจัยภายใน สำหรับการศึกษาถึงสภาพปัญหาทั่วไปของเอสเอ็มอี

นายวิทยากล่าวว่ามีความเห็นว่าปัญหาด้าน การตลาดคือปัญหาใหญ่ที่สุด เอสเอ็มอีผลิตสินค้าแล้วไม่มีตลาดรองรับหรือมีแต่ไม่สามารถที่จะแข่งขันได้ไม่สามารถรักษาฐานลูกค้าเก่าได้

โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกรายย่อยประสบปัญหาอย่างมากเมื่อมีค้าปลีกรายใหญ่เข้ามาในพื้นที่ นายพิภพ อุดร อาจารย์ประจำคณะพาณิชย ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า

เอสเอ็มอียังมีปัญหาด้านการเงินที่ส่วนใหญ่ระบุว่าไม่ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคาร พาณิชย์ ทั้งๆที่ผ่านมานั้นรัฐบาลได้พยายามที่จะระบุว่า มีการช่วยเหลือด้านการเงินแก่เอสเอ็มอีอย่าง เต็มที่

ธนาคารพาณิชย์เองก็แทบจะไม่ปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอี อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้อาจเป็นเพราะเอสเอ็มอี เองยังมีปัญหาภายในที่ยังไม่มีการปรับตัวเต็มที่ และสถาบันการเงินยังเห็นว่าเป็นความเสี่ยงอยู่

ดังนั้นคงเป็นหน้าที่ของเอสเอ็มอีเช่นกันที่จะทำอย่างไรให้ธนาคารพาณิชย์เห็นว่ามีความน่าสนใจในการปล่อยกู้ ยังมีปัญหาการจัดการทางการเงิน ระบบบัญชีที่ยังไม่มีการปรับปรุงมากนัก

ซึ่งอาจเป็นเพราะเครื่อง มือทางการเงินทั้งระบบ รวมถึงระบบกฎหมายปัจจุบันอาจยังไม่เอื้อต่อเอสเอ็มอีมากนักและรัฐบาล เองก็กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะดำเนินการปรับปรุงอย่างไร นายโฆสิต

ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพเห็นว่าเอสเอ็มอีมีความสำคัญกับ เศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก

จึงได้พยายามที่จะพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรุ่นใหม่เพื่อให้มีการปรับตัวอย่างทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคต

"ธนาคารยังคงให้การสนับสนุนด้วยการให้สินเชื่อบัวหลวงเพื่อเอสเอ็มอี อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ทางเลือกคือทางเลือกแรกอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 6.25 เป็นเวลา 2 ปี

และอัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ลบร้อยละ 1 เป็นเวลา 2 ปี" นายโฆสิตกล่าว



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.