ไทยโมบายเตรียมเซ็นสัญญาสามารถ -ไออีซี เป็นตัวแทนขายและบริการในสัปดาห์นี้
หลังสัญญาผ่านตาอัยการ สูงสุด ด้านทศท.สั่งโรมมิ่งทั้งดีแทค-เอไอเอส หวังตัดปัญหาเครือ
ข่าย
คาดบริการเชิงพาณิชย์ต.ค.นี้ พร้อมเปิดแผนประมูลบริษัทพีอาร์ทำโฆษณามูลค่า
400 ล้านบาท ด้านไออีซีเสนอใช้วิธีผนึก 3 บริการโทรศัพท์บ้าน เพจเจอร์ และมือถือไทยโมบายทำตลาด
แหล่งข่าวจากองค์การโทร-ศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) กล่าวว่า คาดว่าภายในสัปดาห์นี้จะ
มีการเซ็นสัญญาแต่งตัวแทนการขายและบริการโครงการไทยโมบาย โทรศัพท์มือถือในย่านความถี่
1900
เมกะเฮิรตซ์ ระหว่างองค์การโทร-ศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ร่วมกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย
(กสท.) บริษัท สามารถ และบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริ่ง หรือไออีซี
ภายหลังจากที่ร่างสัญญาผ่านการพิจารณาจากอัยการสูงสุดแล้วว่าสามารถเซ็นสัญญาได้
โดยทศท.และกสท.ซึ่งถือเป็นหน่วยงานรัฐทั้งคู่ อยู่ที่ว่าจะมอบหมายให้ใครเป็นผู้เซ็นสัญญา
ซึ่งหลังจากพิจารณาแล้วในส่วนกิจการร่วมค้าจะให้นายสุธรรม มลิลา ผู้อำนวยการทศท.เป็นคนเซ็นสัญญากับเอกชนทั้ง
2 "ที่ผ่านมามีปัญหาเพราะกสท.ต้องการเซ็นสัญญาด้วย
ทั้งๆที่อยู่ในฐานะกิจการร่วมค้าหรือ จอยเวนเจอร์ให้ทศท.ซึ่งถือหุ้นมากกว่าเซ็นเองก็ได้
แต่กสท.ไม่ยอมจึงต้องส่งเรื่องไปอัยการ ตอนนี้เรื่องกลับมาแล้วพร้อมเซ็นได้ทันที
แต่ติด อยู่ที่กำลังนัดเวลากสท.อยู่
หากมีการเลื่อนออกไปอีก ก็เป็นเพราะด้านกสท.เป็นตัวเจ้าปัญหา" สำหรับเงื่อนไขหลักๆ
ที่สามารถและไออีซี ได้สิทธิในการขายและบริการมี 2 แนวทางคือ 1.ทศท.จัดหาซิมการ์ดเอง
โดยทั้ง 2
บริษัททำหน้าที่บริหารการจัดจำหน่ายและจัดการเครื่องลูกข่าย โดยได้รับค่าตอบแทนในอัตรา
1,300 บาทต่อเลขหมายจากลูกค้าไม่เกิน 2 หมื่นราย แต่หากเกินกว่านั้นแต่ไม่เกิน
5 หมื่นราย จะได้ 1,500
บาทแต่ถ้าเกิน 5 หมื่นรายจะได้ 1,700 บาท และ2.ทศท.จัดหาซิมการ์ดและเครื่องลูกข่ายเองโดยมีตัวแทนขายและจำหน่าย
ซึ่งทศท. สามารถแต่งตั้งตัวแทนขายเพิ่มเติมได้ โดยได้รับผลตอบแทน 18%
ของราคาขายปลีกเครื่องลูกข่าย โดยทศท.เป็นผู้กำหนดราคาขายปลีกของเครื่องลูกข่าย
อย่างไรก็ตาม แผนการตลาดอาจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนใหม่ให้ทันสถานการณ์มาก
ขึ้น
เพราะสภาพแวดล้อมธุรกิจโทรศัพท์มือถือเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะการที่ผู้ให้บริการ
ปลดอีมี่ ปลดล็อกซิมการ์ดทำให้ เกิดการทำตลาด อิสระระหว่างผู้ค้าเครื่องกับเจ้าของเครือข่าย
กลยุทธ์เดิมที่ไทยโมบายคิดจะใช้คือดัมป์ราคาเครื่องก็ไม่น่าจะใช้ได้ เพราะหากทำเช่นนั้นเครื่องราคาถูกจะไหลออกจากระบบ
1900 ไปเข้า ระบบอื่นที่เครือข่ายสมบูรณ์มากกว่า
และการดัมป์แอร์ไทม์หรือการโปรโมชั่น ไม่ว่าจะลดเหลือ นาทีละบาทหรือ 2 บาท
หรือต่ำแค่ไหนก็ตาม หากการใช้งานไม่สะดวก ก็ยากที่จะมีคนเลือกใช้ แหล่งข่าวกล่าวว่า
นายศุภชัย พิศิษฐวานิช
ประธานบอร์ดทศท.ได้สั่งการให้ไทยโมบาย ทำ การโรมมิ่งเครือข่ายกับดีแทค นอกเหนือจาก
เอไอเอส ทำให้เครื่องรุ่นต่อมาที่จะจัดซื้ออีก 1.5 แสนเครื่องจะต้องเป็นเครื่องที่พร้อมใช้งาน
3 ความถี่
"การโรมมิ่งกับดีแทค เป็นเพราะประธานบอร์ดกลัวถูกโจมตีว่าเข้าข้างเลือกแต่เอไอเอส
เพราะอัตราโรมมิ่งทั่วไปคิด 70/30 หมายถึงต้อง เสียให้เจ้าของเครือข่ายที่ไทยโมบายโรมมิ่ง
70% ของแอร์ไทม์
แต่การโรมมิ่งทั้ง 2 เครือข่าย ช่วยให้ไทยโมบายหมดปัญหาในเรื่องเครือข่ายทั่วประเทศ"
ไทยโมบายเลื่อนเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ออกไปเป็นเดือนต.ค. ซึ่งหมายถึงเครือข่ายเฟสที่
1
จะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงนั้นพอดี แนวคิดด้านการ ตลาดที่สามารถและไออีซี จะนำมาใช้ในช่วงเปิดตัวคือการผนึก
บริการของทศท.ในรูปแพกเกจโปรโมชั่น ที่ไว้จูงใจลูกค้า นายจเรรัฐ ปิงคลาศัย
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ ไออีซี กล่าวว่า แนวทางการทำตลาดไทยโมบายของทศท.
สามารถทำได้โดยผนึกบริการที่ทศท.มีเข้าไว้ด้วย กันอย่างเช่น บริการโทรศัพท์พื้นฐาน
บริการโทร-ศัพท์ติดตามตัวและโทรศัพท์มือถือไทยโมบาย โดยคิดค่าบริการรายเดือนแบบเหมารวม
เช่น เดือนละ 200-300 บาท "ลองคิดดูหากโทรศัพท์บ้าน เพจเจอร์ และมือถือ
ใช้เลขหมาย 4
ตัวท้ายเหมือนกัน และคิด รายเดือนถูกๆ น่าจะจูงใจลูกค้าให้หันมาใช้ไทยโมบายมากขึ้น"
นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยี ทำให้สามารถส่ง ผ่านการสื่อสารไปมาระหว่างกันในบริการทั้ง
3 ประเภท อย่างเช่น
หากเรียกเข้าโทรศัพท์บ้านแล้ว ไม่มีคนรับสาย ก็จะส่งผ่านไปยังโทรศัพท์มือถือ
หากยังไม่รับอีก ก็สามารถไปฝากข้อความไว้ที่เพจเจอร์ได้ ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารได้สะดวก
และทศท.ยังสามารถใช้ลูกเล่นของการคิดค่าบริการเป็นจุดแข็งในการทำตลาดได้
อย่างการโอนสายระหว่างโทรศัพท์บ้านไปมือถือหรือเพจเจอร์
ก็เสียเพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้นไม่ต้องเสียค่าโอนสายระหว่างกัน "อย่างโทรศัพท์มือถือ
หากมีการโอนสายนอกจากคนโทร.หาจะเสียค่าโทร.แล้ว คนใช้มือถือก็ยังต้องเสียเงินค่าโอนสายอีก
แต่หากทศท.
ทำเองก็ไม่ต้องเสีย เอาจุดนี้มาเล่นได้" นายเจรรัฐ กล่าวและว่ายังมีเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถฝากข้อความไว้ที่โทรศัพท์บ้านได้อีก
ซึ่งจากบริการทุกอย่างที่ทศท.มีอยู่ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าไทยโมบายยังมีโอกาสเติบโตได้
โดยเฉพาะเมื่อดูจำนวนประชากร 60 ล้านคน มีคนใช้โทรศัพท์เพียง 10 ล้านคนเท่านั้น
"เรื่องเน็ตเวิร์กถือว่าไม่น่ามีปัญหาแล้วเพราะโรมมิ่งได้หมด"
เปิดแผนพีอาร์และการตลาด ไทยโมบาย ยังมีงบโฆษณาและส่งเสริมการขายอีก 400
ล้านบาทที่อยู่ระหว่าง รอการประมูลหาบริษัทโฆษณา
ถึงแม้จะมีเสียงเล็ดรอดในช่วงแรกว่าจะยกให้บริษัท สปาฯ แต่คาดว่าเมื่อถึงการเปิดประมูลงานโฆณาจริง
คงมีบริษัท โฆษณาชั้นนำเสนอตัวคึกคัก ซึ่งแนวทางการโฆษณาเพื่อที่จะสร้างรายได้
และฐานลูกค้าในระยะเวลาอันจำกัด จะแบ่งกลุ่มลูกค้าเป็น 1.กลุ่มพนักงานและลูกค้าเดิมทศท.ที่จะได้รับสิทธิพิเศษในการใช้การบริการ
2.กลุ่มผู้ใช้บริการผู้ชื่นชอบเทคโนโลยีที่เลือกใช้เนื่องจากในอนาคตจะสามารถรองรับการพัฒนาไปสู่
3G ซึ่งควรมีกำหนดระยะเวลาให้เห็นว่าจะสามารถพัฒนาถึงขั้นนั้นได้เมื่อไร
เพื่อสร้างความรู้สึกว่าสามารถจับต้องได้ ไม่เลื่อนลอย โดยในระหว่างที่รอเทคโนโลยี
ก็ควรหาเครื่องโทรศัพท์ในระบบนี้ที่ดูไฮเทคมาร่วมใช้ในการโปรโมต เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของความก้าวล้ำนำสมัย
3.กลุ่มประชาชนทั่วไป ที่เน้นคุณภาพดี ราคาสมเหตุสมผล ซึ่งสามารถกระตุ้นตลาดได้สองทางคือ
การเน้นบริการพรี-เพด ที่สามารถสร้างรายรับได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มสภาพคล่องให้กับองค์กร
ทั้งยังสอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่น ใหม่ซึ่งคนกลุ่มนี้มักต้องการบริการที่ดี
ค่าใช้จ่าย ค่อนข้างต่ำ และมีความสะดวกสูง คือไม่ต้อง ผ่านขั้นตอนยุ่งยากในการจดทะเบียน
สามารถซื้อได้ทั่วไปแล้วใช้ได้เลย
และเติมเงินได้โดยสะดวก มีช่องทางการขาย และการบริการที่สะดวกสบาย หาโปรโมชั่นที่แปลกใหม่
เช่น ให้เครื่องโทรศัพท์ฟรีเมื่อเซ็นสัญญาใช้บริการตามกำหนด
ซึ่งโปรโมชั่นนี้จะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่มีความรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบในเรื่องราคาที่สูงเกินความจริงของเครื่องโทรศัพท์
แต่สิ่งที่ควรระวังคือหนี้สูญ จึงควรหาวิธีการชำระค่าใช้จ่าย เช่น
เซ็นสัญญาให้ตัดเงินผ่านบัตรเครดิตตลอดระยะเวลาที่กำหนดไว้ เป้าหมายทางการตลาด
คือต้องสร้างความ รู้จักแบรนด์ (Brand awareness) ในช่วงแรก โดยกลยุทธ์การตลาดที่ใช้ต้อง
1.เร็ว แรง
และสร้างผลกระทบในระยะเวลาอันสั้นและ2.มุ่งเน้น หาพันธมิตรที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญ
ในงานแต่ละด้าน เช่น พันธมิตรในการจัดจำหน่าย และบริการหลังขาย พันธมิตรในด้านผลิตภัณฑ์
พันธมิตรด้านสินเชื่อเงินผ่อนพันธมิตรสถาบันการเงินพันธมิตรด้านเนื้อหา
และต้องดำเนินการ ทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งโฆษณา ประชา-สัมพันธ์ และกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและการขาย
3.ข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าปัจจุบันของ ทศท. เช่น นำเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ
470 MHz มาแลกซื้อเครื่องในระบบใหม่ได้ในราคาพิเศษสุด หรือต้อง Bundle กับบริการอื่นของ
ทศท. เช่น
โทรศัพท์พื้นฐาน คู่สายเช่า และ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 4.มีรางวัลช่วยขาย
(Incentive) ให้กับพนักงานของ ทศท. 5.เน้นการทำการตลาดทั้งพรีเพด และ โพสต์เพด
โดยปรับกิจกรรมทางการตลาดให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน และ6.สามารถเลือกวิธีการดำเนินการตลาดเองทั้งหมด
หรือแบ่งสัดส่วน ผสานกันระหว่างส่วนหนึ่ง ทศท. ทำการตลาดเอง
อีกส่วนขายเหมาให้ผู้ประกอบการอื่น