หลังจากเชส แมนฮัตตัน ธนาคารยักษ์ใหญ่สัญชาติอังกฤษตกลงจ่ายเงิน
4,880 ล้านปอนด์ หรือ 27.44 ปอนด์/หุ้น เพื่อเข้ามาเป็นเจ้าของสถาบันการเงินเก่าแก่แห่งหนึ่งของฝั่งตะวันตกเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ในประเทศไทย บล.เจ.เอฟ.ธนาคม คือ แขนขาของจาร์ดีน
เฟลมมิ่ง โดยบล.เจ.เอฟ.ธนาคมเป็นบริษัทหลักทรัพย์ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างผู้ถือหุ้นต่างชาติ
คือ จาร์ดีน เฟลมมิ่ง 43% และผู้ถือหุ้นไทย คือ บง.เอกธนกิจ 31% ตระกูลจาติกวณิช
16% และผู้ถือหุ้นเดิมอีก 10%โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 1988
เมื่อกลางปีที่แล้วโครงสร้างผู้ถือหุ้นบล.เจ.เอฟ.ธนาคม
เปลี่ยนเป็น จาร์ดีน เฟลมมิ่ง โฮลดิ้ง 40.38% บริษัทพีจีดับเบิลยู 25% ตระกูลจาติกวณิช
24.60% ผู้ถือหุ้นอื่นๆ อีก 10% ปัจจุบันโครงสร้างนี้ได้เปลี่ยนไปโดยตระกูลจาติกวณิชลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือประมาณ
15%โดยขายหุ้นคืนให้กับจาร์ดีน เฟลมมิ่ง
จาร์ดีน เฟลมมิ่ง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นต่างชาตินั้น เป็น
tradingcompany ก่อตั้งมาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี โดยการร่วมทุนในส่วน 50:50
ระหว่างโรเบิร์ต เฟลมมิ่ง ซึ่งเป็น investment banker ที่มีชื่อเสียงในอังกฤษ และจาร์ดีน
แมทเธอร์สันของฮ่องกง ดังนั้น การร่วมทุนของจาร์ดีนกับผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยนับว่าเป็นผลดีต่อการดำเนินการของบล.เจ.เอฟ.ธนาคมอย่างยิ่ง
และผลของการร่วมทุนกับจาร์ดีน เฟลมมิ่งนี้เองช่วยสร้างจุดแข็งให้กับบริษัทในการสร้างฐานลูกค้า และเครือข่ายทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม หลังจาก ที่เชสฯ ซื้อหุ้นในจาร์ดีน
เฟลมมิ่งแล้วเชสฯ ในประเทศไทยก็อยากจะรวมกิจการกับบล.เจ.เอฟ.ธนาคมด้วยเช่นเดียวกัน
โดยจะเข้าถือหุ้น 100% ดังนั้น การเจรจาซื้อขายหุ้นระหว่างเชสฯ กับผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยจึงดำเนินไปอย่างราบรื่น
โดยเฉพาะกลุ่มตระกูลจาติกวณิช ที่ถือว่าเป็นผู้มีบทบาทในการบริหารงานในบล.เจ.เอฟ.ธนาคม
โดยมีเกษม จาติกวณิช เป็นประธานกรรมการ ส่วนกรณ์ จาติกวณิช เป็นกรรมการอำนวยการ
แม้ว่ามูลค่าการซื้อขายหุ้นครั้งนี้จะไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนก็ตาม
แต่คาดว่าฝ่ายไทยน่าจะได้ "ราคา" ระดับ ที่พอใจเช่นเดียวกับจาร์ดีน เฟลมมิ่ง
มีเพียงกรณ์ ซึ่งถือหุ้นในนามส่วนตัว 13.92% บอกว่า การตัดสินใจขายหุ้นเพราะเชสฯ
อยากซื้อหุ้น และตัวเขาเองก็อยากขาย เพื่อลดความเสี่ยง นั่นหมายความว่าตั้งแต่ก่อตั้งบล.เจ.เอฟ.ธนาคมขึ้นมา
กรณ์ถือหุ้น เพื่อ "การลงทุน" เท่านั้น
จากนี้ไปคงจะได้เห็นรูปแบบการทำงานของบล.เจ.เอฟ.ธนาคมภายใต้ร่มเงาธนาคารเชสแมนฮัตตันมากขึ้น