รหัสสินค้า เทคโนโลยีใหม่สำหรับธุรกิจแทบทุกประเภท


นิตยสารผู้จัดการ( พฤษภาคม 2527)



กลับสู่หน้าหลัก

เคยมีสักครั้งไหม? ที่คุณหยิบสินค้าขึ้นมาชนิดหนึ่งแล้ว พลิกหีบห่อพินิจพิเคราะห์ดู แล้วตั้งข้อกังขาขึ้นมาว่า แถบถี่ๆ และตัวเลขที่กำกับอยู่ด้านล่างนั้นมีความหมายพิเศษอะไรบ้างไหม? และมีจุดประสงค์อย่างไรที่ต้องพิมพ์ขึ้นมา

มันไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะเอาปากกาขึ้นมาสักด้าม แล้วขีดแถบลงไปสักสองสามแถบบนสัญลักษณ์รหัสสินค้าสากล เผื่อว่าหากมีใครสักคนเล่นตลกด้วยการพยายามตัดทอนราคาหรือกลั่นแกล้งทำลายล้างระบบล่ะก็ เจ้ารหัสนี้ก็ได้แฝงระบบป้องกันเอาไว้แล้ว

เครื่องวิเคราะห์ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า UPC สามารถทำการค้นพบการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้นบนสัญลักษณ์เหล่านี้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็มีโอกาสเจอได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์

ความลับนี้ขึ้นอยู่กับตัวเลขตรวจสอบที่ล้อมแถบพิเศษตอนปลายสุดของสัญลักษณ์ตัวเลขตรวจสอบนี้คิดหามาได้ด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์จากข้อมูลที่ได้มาจากแถบอื่นๆ ที่ป้ายเอาไว้ในสัญลักษณ์ชุดเดียวกันนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น ตัวเลขตรวจสอบก็อาจจะใช้การไม่ได้

รูปแบบการกำหนดตัวเลขตรวจสอบนั้นจัดทำขึ้นโดย UNIFORM PRODUCT CODE COUNCIL ซึ่งเป็นสมาคมผู้ผลิตในเมืองเดย์ตัน รัฐโอไฮโอ

ในคู่มือแนะนำของ UPC ที่พิมพ์แจกให้สมาชิกของสมาคมว่าด้วยเทคนิคต่างๆ ได้เผยให้ทราบว่า ผู้ผลิตทุกรายที่ใช้รหัสสินค้าสากลนี้ จะมีวิธีการคำนวณตัวเลขตรวจสอบด้วยวิธีเดียวกันทั้งหมด

ในรูปแบบปกตินั้นสัญลักษณ์รหัสเหล่านี้จะมีตัวเลขตัวหนึ่งด้านซ้ายของแถบ และแบ่งกลุ่มตัวเลขออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัวด้วยกัน พิมพ์ไว้ด้านล่าง

แต่บางครั้งในรูปแบบที่สั้นกว่าอาจจะมีตัวเลขแค่หกตัวก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของหีบห่อที่เล็กเกินกว่าจะใส่ตัวเลขเข้าไปได้หมด

แต่ก็มีผลิตภัณฑ์อีกไม่กี่ชนิดที่พิมพ์ตัวเลขเกินกว่ากลุ่มละ 5 ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกต่อกรณีที่ผู้ผลิตเพียงรายเดียวผลิตสินค้าออกมาเป็นจำนวนมากๆ เช่น พวกนิตยสาร หรือหนังสือชนิดต่างๆ

เครื่องวิเคราะห์ไม่สามารถอ่านตัวเลขได้ ตัวเลขที่ปรากฏให้เห็นมีเพียงเพื่อความสะดวกแก่การตรวจสอบโดยมนุษย์ หากเกิดกรณีที่เครื่องวิเคราะห์ใช้งานไม่ได้ ผู้ตรวจสอบเหล่านี้ก็จะอ่านแถบต่างๆ เหล่านี้จะกำกับไว้ด้วยตัวเลขชุดเดียวกัน และตัวเลขตรวจสอบที่อ่านได้ด้วยเครื่อง

ตัวเลขตรวจสอบจะเป็นได้ตั้งแต่เลข 0-9 และมักจะไม่พิมพ์ออกมาในรูปตัวเลข (มีสินค้าเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่พิมพ์ตัวเลขตรวจสอบออกมา และจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเลขอื่นๆ ที่ปรากฏได้แถบสองแถบที่กำกับเอาไว้)

เลขอื่นๆ ของสัญลักษณ์ถูกกำหนดขึ้นอย่างง่ายๆ

ตัวเลขโดดๆ ด้านซ้ายนั้นเป็นระบบตัวเลข 0 ตัวหนึ่ง หมายถึงสิ่งของตามร้านชำทั่วไป 2 ใช้สำหรับสิ่งของที่มีน้ำหนักต่างๆ กัน เช่น เนื้อสัตว์ หรือผลไม้ 3 ใช้สำหรับยาหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับสุขภาพ 5 ใช้กับบัตรลดราคา

กลุ่มเลขห้าตัวในกลุ่มแรกนั้น หมายถึงผู้ผลิต ตัวอย่างเช่น 43000 คือ บริษัท เจนเนอรัลฟูดส์ 37000 คือ บริษัทพรอคเตอร์และแกมเบิล 11141 คือสินค้าจากกลุ่มเอแอนด์พี 51000 คือซุปยี่ห้อแคมเบล

ส่วนกลุ่มที่สองนั้นจะบอกลักษณะผลิตภัณฑ์ขนาดหีบห่อที่บรรจุ

ตัวเลขทั้งห้าตัวหลังนี้กำหนดขึ้นโดยผู้ผลิตแต่ละรายๆ ไป ถ้าเลข 20043 หมายถึงชุดซุปมะเขือเทศบรรจุกระป๋องขนาด 10 ออนซ์สำหรับผู้ผลิตรายหนึ่ง มันไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นซุปมะเขือเทศสำหรับรายอื่น

เมื่อใช้เลขกำกับสินค้าแล้ว ก็จะใช้แถบเส้นมากำกับเลขนั้นอีกชั้นหนึ่ง

รูปแบบของแถบเส้นนั้นอาจจะต่างกันได้ในเรื่องของขนาด ขนาดเล็กที่สุดคือ 0.816 นิ้วคูณด้วย 1.175 นิ้ว

ส่วนขนาดที่ใหญ่ที่สุดอาจจะเป็น 2.040 นิ้วคูณด้วย 2.938 นิ้ว

แถบสีมืดนั้นอาจจะเป็นสีเข้มใดๆ ก็ได้ (ยกเว้นสีแดง) ส่วนพื้นหลังของแถบเส้นนั้นอาจจะเป็นสีขาวหรือสีอ่อนๆ อื่นๆ

แถบสองแถบที่อ่านจากซ้ายไปขวาแถบแรกนั้นไม่มีความหมายพิเศษใดๆ เป็นแค่ตัวหยุดวรรคเพื่อให้เครื่องวิเคราะห์รู้ว่าจะเริ่มอ่านได้ตรงไหน? และจะเป็นเช่นนี้ซ้ำอีกในตรงกลางและขวาสุด

แถบสองแถบแรกที่นับไปด้านขวาหลังแถบเว้นวรรคนั้นจะกำกับลักษณะระบบตัวเลข คือตัวเลขที่มองเห็นตรงกลางด้านซ้าย ถ้าเป็นตัวเลขศูนย์ตัวหนึ่ง ก็จะมีช่องว่างหนึ่งช่อง แถบหนาๆ หนึ่งแถบ และช่องว่างแคบๆ หนึ่งช่อง แถบบางๆ หนึ่งแถบ รหัสของแถบจะเป็นเลขศูนย์

ตัวเลขอื่นๆ แต่ละหลักจะปรากฏเป็นแถบสองแถบ และช่องว่างสองช่อง ส่วนของสัญลักษณ์ยูพีซี กำหนดให้หลักหน่วยแต่ละหลักประกอบด้วยหน่วยที่เท่าๆ กัน 7 หน่วยหรือเรียกว่า โมดูล ซึ่งแต่ละอันจะเป็นส่วนที่มืดหรือสว่างก็ได้ สัญลักษณ์ของเลขศูนย์คือโมดูลสว่างๆ 3 ช่อง (ช่องว่างแคบๆ) และโมดูล 1 ช่อง (แถบบางๆ) อย่างนี้แทนเลขได้ว่า 001101 ซึ่ง 0 ก็คือโมดูลสว่าง และ 1 ก็คือโมดูลมืด

คำแปลสัญลักษณ์กลับกันใช้ในส่วนของสัญลักษณ์ยูพีซีที่อยู่ด้านขวาของแถบสองแถบจากตรงกลาง ตัวเลขศูนย์ที่ปรากฏด้านขวาจะกลายเป็น 1110010 นั่นคือ แถบหนา 1 แถบ ช่องว่างแถบแคบๆ และช่องว่างแคบๆ รหัสที่แตกต่างกันสองรหัสนั้นใช้เพื่อที่เครื่องวิเคราะห์จะสามารถสังเกตได้ว่า กำลังอ่านสัญลักษณ์ด้านใดอยู่ ด้วยวิธีการนี้ ไม่จำเป็นต้องป้อนหีบห่อเข้าเครื่องวิเคราะห์เพียงด้านใดด้านหนึ่ง

ตัวเลขตรวจสอบที่ปรากฏด้านขวาสุดนั้นกำกับคอลัมน์ด้านขวาบน แถบแคบๆ สองแถบแยกจากกันด้วยช่องว่างกว้างๆ 3 เท่า แทนที่จะเป็นตัวเลข 7 เป็นต้น

รหัสเดิมบางตัวกับหลักหน่วยตรวจสอบของมันจะเป็นดังนี้:-

พริกไทยดำยี่ห้อ แอนน์ เพจ ขนาด 2 ออนซ์ 0 11141 26230 1

ผักโขมบดโรยเส้นหมี่ยี่ห้อรอมซินี ขนาด 12 ออนซ์ 0 71300 00137 0

ซุปผักสไตล์สเปนยี่ห้อ แคมเบล ขนาด 10 ออนซ์ 0 51000 02677 4

รูปแบบน่ะหรือ ก็คือการนำตัวเลขของสัญลักษณ์ (ยกเว้นแต่ตัวเลขตรวจสอบ) และจับกลุ่มตามลำดับในสัญลักษณ์เขียนตัวเลขตัวแรก ตัวที่สาม ตัวที่ห้า ตามลำดับเลขคลี่ลงไปบนแถวหนึ่ง และเลขตามลำดับคู่คือ 2 4 6 ไปบนอีกแถวหนึ่งก็จะแยกออกมาได้ดังนี้ เช่น

0 11141 26230 คือ
- 0 1 4 2 2 0
- 1 1 1 6 3

แล้วบวกตัวเลขแต่ละแถวเอาไว้
0+1+4+2+2+0 = 9
1+1+1+6+3 = 12

คูณจำนวนของลำดับคี่ด้วย 3
9x3 = 27

แล้วนำไปบวกกับผลไม้ของลำดับคู่
27+12 = 39

ลบผลที่ได้ด้วยเลขครบหลักสิบตัวถัดไป ในที่นี้คือ เลข 40 จะเป็นหลักสิบตัวถัดไป
40-39 = 1
40-40
ผลที่ได้ก็คือ 1 ตัวเลขตรวจสอบที่ถูกต้อง

การเปลี่ยนแปลงตัวเลขเพียงตัวเดียวในรหัสจะทำให้ตัวเลขตรวจสอบแตกต่างออกไป ไม่มีทางใดที่ใครสักคนจะใช้ปากกาขีดเขียนเพื่อหวังจะเปลี่ยนรหัสไปให้เป็นของที่มีมูลค่าต่ำกว่า

วิธีที่ดีที่สุดคือการเปลี่ยนรหัสอย่างส่งเดช บางที รหัสที่เปลี่ยนแปลงไปจะกลายเป็นของที่ถูกกว่า บางทีก็อาจจะแพงกว่า บางทีก็จะเป็นรหัสที่ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้น หน่วยตรวจสอบจะสร้างความไม่แน่ใจว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็จะถูกจับได้ แม้รหัสที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะเป็นรหัสที่ถูกกำหนดขึ้นมาก็ตาม

วิธีกะเทาะรหัสสินค้าสากล

1. แถบคุมบางๆ สองแถบไม่มีความหมายแต่อย่างใด เพียงแต่ล้อมกรอบข้อความไว้ และจะมีซ้ำตรงกลางอีกพร้อมตรงปลายอีกด้านหนึ่ง

2. ช่องกว้างๆ แถบ ช่องแคบๆ แถบบางๆ กำกับตัวเลขศูนย์ทางตอนซ้ายของสัญลักษณ์ ศูนย์หมายถึงสินค้าร้านชำทั่วไป 3 คือยา

3. ช่องว่าง 10 ช่อง และแถบ 10 แถบ กำกับ 1 2 3 4 5 ในตอนล่างจะชี้บอกผู้ผลิต 21000 คือบริษัทคราฟท์

4. เลขกำกับ 6 7 8 9 0 ซึ่งจะชี้บอกผลิตภัณฑ์ รวมทั้งขนาดหีบห่อ ราคาไม่ได้กำกับไว้

5. เลขตรวจสอบที่เป็นความลับ (ในที่นี้คือ 5) เพื่อจะจับเอาข้อผิดพลาดใดๆ หรือการชักจูงใดๆ ถ้ามีใครสักคนขยายแถบออกเพียงแต่ขนาดปลายปากกา ตัวเลขตรวจสอบจะช่วยให้เครื่องวิเคราะห์จับเอาไว้ได้


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.