ยักษ์ใหญ่รุ่นเยาว์ของอเมริกาในวันนี้อายุไม่ถึง 30


นิตยสารผู้จัดการ( พฤษภาคม 2527)



กลับสู่หน้าหลัก

ในขณะที่อเมริกามัวแต่คุยเฟื่องเรื่องนักแสดงรุ่นเยาว์ นักแสดงแบบ นักร้องเพลงร็อกและนักกรีฑาที่กำลังพุ่งแรงกันอยู่นั้นก็มีคนรุ่นหนุ่มสาวที่ก้าวขึ้นมาสู่ความสำเร็จในการทำธุรกิจก่อนที่จะมีอายุถึง 30 กันอยู่หลายคน ผู้จัดการรุ่นเยาว์ทั้ง 6 คนที่จะแนะนำให้รู้จักกันนี้มีความสามารถรวบรวมทรัพย์สินเงินทองนอกกฎเกณฑ์ได้เกินกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณเกือบ 700 ล้านบาท)ด้วยตนเองทั้งๆ ที่ทุกคนอายุยังไม่ถึง 30 กันทั้งนั้น

ตัวอย่างทั้ง 6 คนเป็นพวกที่ยังไม่โด่งดังสักเท่าไรนัก

อาจจะมีรอดหลงหูหลงตาอยู่หลายคน หรือไม่ยอมเปิดเผยตัวเล็ดลอดไป มีบางคนที่ละเว้นไปเสียเพราะมีการเปิดเผยตัวให้สาธารณชนเป็นที่รู้จักโด่งดังไปมากพอแล้ว

คนที่เด่นที่สุดในกลุ่มนี้คือ สตีเวน จ็อปส์ วัย 29 ประธานบริษัทที่มีมูลค่านับร้อยล้านเหรียญคือ แอปเปิลคอมพิวเตอร์

วิลเลียม เฮช เกทส์ ที่สาม อายุ 28 ปี ซึ่งบริษัทไมโครซอฟท์ของเขาเป็นผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์รายใหญ่ที่สุดรายหนึ่ง

ซาเวียร์ โรเบิร์ต วัย 28 เช่นกัน นักออกแบบของบริษัทผู้ผลิตตุ๊กตาหนูน้อยไร่กะหล่ำ

ส่วนจำนวน 3 ใน 6 ต่อไปที่จะกล่าวถึงนี้ก็อยู่ในวงการคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัวบ่งชี้ง่ายของอุตสาหกรรมชนิดนี้คือ การที่สามารถแยกแตกแขนงธุรกิจออกไปได้นั่นเอง

ทั้ง 6 คนนี้มีข้อเด่นที่เหมือนๆ กันคือ พวกเขาเริ่มต้นจากความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง มีสายตากว้างไกล กล้าได้กล้าเสียไม่ย่อท้อ หรือท้อถอยต่อตัวเลขที่กำหนดอายุของพวกเขา

- เบรท จอห์นสัน

จบวิชาเอกเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี 1979 จอห์นสันลงทุนซื้อหมวกที่ทำด้วยผ้าฝ้ายไว้จำนวนหนึ่ง ก่อนหน้าการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมเยลและฮาร์วาร์ด มาด้วยราคาใบละแค่เหรียญเดียวและนำมาพิมพ์อักษร “H” สีแดงสด แล้วเร่ขายออกไปได้ถึง 200 ใบในราคาที่ขึ้นมาเป็นสองเหรียญครึ่ง

จากกำไรที่ได้มาอย่างรวดเร็วนี้ทำให้เขามีช่องทางกับตลาดผู้คนในสนามเชียร์กีฬาได้ เขาจึงตั้งบริษัท คราวด์ขึ้นมาจากเงินที่ยืมมาจากยายของตนเองจำนวน 1,500 เหรียญ โอกาสทองมาถึงจนได้เมื่อโรงงานยาสูบของสหรัฐฯ ให้สัมปทานทำหมวกโฆษณาชักชวนให้กับสินค้าที่ชื่อว่า โคเปนเฮเกน และ สโคล นอกจากที่ขายให้กับบริษัทเองแล้ว เขายังได้ขายไปให้กับร้านค้าปลีกอีกครึ่งล้าน ส่วนใหญ่ก็ขายให้กับคนหนุ่มสาว

เขาสามารถเข้าถึงลูกค้ารายใหญ่ๆ เช่น แอนเฮิร์ส เซอร์บุช โคคาโคลา แมค

ด้วยการจับธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เขาอยู่ในมหาวิทยาลัยนอร์ทเทกซัส สเตท เขาได้ละทิ้งงานเซลส์แมนขายเครื่องอัดฉีดน้ำมันและแก๊สในปี 1981 เริ่มด้วยการขายบ้านพักเพื่อเริ่มต้นเก็บทุนทำธุรกิจ และด้วยสิทธิบัตรพิเศษในการขายปลีกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้กับร้านค้า 600 แห่งทั่วโลก โรนิคได้เปิดสาขาคอมพิวเตอร์แลนด์ขึ้นในเมืองฮุสตันที่เขาพักอยู่ และเดี๋ยวนี้เขาสามารถจะมีบ้านหลังใหม่ ซึ่งตกแต่งประดับประดาด้วยรางวัลในการล่าหมูป่า เขาสามารถสะสมทุนเพิ่มขึ้นในปี 1983 โดยขายหุ้นร้อยละ 49 ของบริษัทให้แก่ผู้สนใจภายนอก และสามารถเปิดร้านขึ้นอีก 5 แห่งในฮุสตัน ตอนนี้เขามีอายุ 29 แล้ว

- วิลเลียม เบเกอร์

ก็เหมือนกับผู้ประกอบการธุรกิจการขายคอมพิวเตอร์รายอื่นๆ เบเกอร์ได้รับการส่งเสริมจากบริษัทไอบีเอ็มโดยจำนวนการสั่งอุปกรณ์ของเขาสะดุดตาบริษัทไอบีเอ็มเข้า ในปี 1980 บริษัทได้ขอให้เขาออกแบบเวิร์ดโพรเซสเซอร์ให้กับเครื่องพีซีที่เรียกชื่อเฉพาะว่า อีซีไรเตอร์ ที่ออกสู่ตลาดในภายหลัง ซึ่งตอนนี้ไม่เพียงแต่ไอบีเอ็มเท่านั้นที่มีอยู่ยังมีบริษัทอื่นๆ ที่จะนำออกสู่ตลาด เช่น เทกซัส อินสทรูเมนท์ ดาต้า เนเจอรัล เบเกอร์บอกขายบริษัทอินฟอร์เมชั่น อันลิมิเตด ซอฟต์แวร์ของเขาให้กับคอมพิวเตอร์ แอสโซซิเอชั่น อินเตอร์เนชั่นเนล ไปเมื่อเดือนกรกฎาคมของปีที่แล้ว ในราคาที่จะทำเงินให้ถึง 10 ล้านเหรียญ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงินรายได้ของบริษัทในอนาคต ตัวเขาอยู่ในฐานะรองประธานบริษัท แต่ก็กลับมาเป็นประธานใหญ่ของบริษัท ไอแลนด์ กราฟฟิค ซึ่งเป็นบริษัทที่เพิ่งจะตั้งขึ้นมาในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิก เบเกอร์อายุ 28 ปี อยู่ในบ้านอันแสนสุขสบายในซานฟรานซิสโก และหัดเล่นกีตาร์เพื่อการพักผ่อน

- เดวิด ชเลซิงเจอร์

ราคาขึ้นในฟิลาเดเฟียในปี 1973 ในขณะที่ตนเองยังเรียนหนังสืออยู่ในมหาวิทยาลัยเพนซิลเวนีย เงินทุนตั้งร้านส่วนหนึ่งได้มาจากการยืมเงินออมของน้องชายและน้องสาวของเขาคนละ 1,500 เหรียญ ทุกวันนี้เขาเป็นเจ้าของผู้จัดการร้านหนังสืออิสระในฟิลาเดเฟีย คือร้านอองคอร์ บุค ซึ่งมีร้านย่อยๆ สาขาอีก 15 แห่ง รวมยอดขายเกิน 10 ล้านในทุกๆ ปี ชเลซิงเจอร์ อายุ 29 แล้ว เขาหวังที่จะเปิดร้านหนังสือเพิ่มอีก 7 แห่งในอนาคต และจะขยายให้ถึง 30 แห่งในสิ้นปี 1986 เขามีนัดกินอาหารกับอาเธอร์ โกลด์ ลูกค้าของเขาที่ร้าน เลอ เบค ฟิน ซึ่งแน่นอนล่ะว่า ไม่ใช่ภัตตาคารราคาเบากระเป๋าเลย

- เทอรี่ ดอร์แมน

ดอร์แมนจบจากสถาบันที่มีชื่อเสียงมากคือ ฟิลิปส์ อาคาเดมี ในบ้านเกิด คือแอนโดเวอร์ มลรัฐแมสซาชูเซตต์ แต่ไม่ได้ร่ำเรียนต่อถึงมหาวิทยาลัย เขาเริ่มจับงานพิมพ์ซิลค์สกรีนที่ชั้นล่างตึกที่พ่อแม่อาศัยอยู่กับเพื่อนคนหนึ่ง คือ ปีเตอร์ โปโดนอฟ โทั้งคู่เริ่มจากงานพิมพ์โปสเตอร์และเสื้อยืด แล้วขยับขยายมารับงานจากบริษัทออกแบบ ต่อมาก็ได้รับการว่าจ้างให้ทำป้ายโฆษณาแสดงขนาดใหญ่สำหรับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีชั้นสูงจากบริษัทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในท้องถิ่นที่เขาอาศัย จนสามารถเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวดอร์แมนถึง 300,000 เหรียญ ในปีที่แล้วบริษัทดอร์แมนและโบโนดอฟมีรายได้ถึง 7 แสนเหรียญ ส่วนใหญ่ในขณะนี้บริษัทจะทำพวกวงจรอิเล็กทรอนิกส์ คีย์บอร์ด และอุปกรณ์ไฟฟ้าให้กับลูกค้ารายใหญ่ๆ ซึ่งมีทั้งไอบีเอ็ม ซีร็อกซ์ และอาร์ซีเอ โบโนดอฟเลิกกิจการไปเมื่อปี 1979 แต่ดอร์แมนซึ่งตอนนี้อายุเพียง 27 และครองแชมป์นักขับจักรยานยนต์สมัครเล่น ยังคงมุ่งมั่นต่อไปตามลำพังในฐานะผู้บริหารใหญ่ของบริษัท

- ชารอน คอร์

โสมเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันมาก เสียแต่ราคาของมันแพงจนจรดไม่ลงทีเดียว ตามที่วางขายอยู่ในร้านอาหารเสริมสุขภาพต่างๆ ในเมืองชิคาโก ชารอน และสามี (คือโรเบิร์ต) ได้ค้นหาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับโสมที่ราคาไม่แพงจนเกินไปในปี 1977 พวกเขาพยายามตรวจค้นเอกสารบันทึกสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ของรัฐ ขุดค้นหาเครื่องดื่มที่ผสมโสมที่กล่าวขวัญกันมาแล้วถึง 70 ปี และพบสูตรบางส่วนที่เมืองประวัติศาสตร์เล็กๆ ในวิสคอนซิน โดยการช่วยเหลือแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญการผลิตเครื่องดื่ม พวกเขาได้ปรับปรุงเครื่องดื่มที่เรียกว่า จินเซง รัช และนำตัวอย่างไปออกแสดงสินค้า ในปี 1978 มันติดตลาดทันที ทั้งคู่ได้รับใบสั่งจองจำนวนถึง 10,000 หีบ บริษัทเคอร์ ซึ่งขายเครื่องดื่มธรรมชาติได้ออกผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีก 9 ชนิดในขณะนี้ซึ่งทำให้มีรายได้สุทธิถึง 20 ล้านเหรียญในปีที่ผ่านมา ชารอนเป็นสาวอายุ 27 ควบตำแหน่งทั้งผู้จัดการฝ่ายขายและฝ่ายการตลาดคู่ไปกับตำแหน่งเจ้าของในบริษัทที่ชิคาโกอีกครึ่งหนึ่ง ประธานของบริษัทคือโรเบิร์ต


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.