|

ผลิตเอ็มบีเอกันอย่างไร ที่มหาวิทยาลัยผม
นิตยสารผู้จัดการ( มิถุนายน 2527)
กลับสู่หน้าหลัก
ดอกเตอร์โคทนีย์ ซี. บราวน์ เป็นคณบดีที่เกษียณอายุแล้ว และเป็นศาสตราจารย์ประจำวิชา Policy and Business Responsiliity ของคณะบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ท่านเป็นประธานคณะกรรมการคนใหม่ของอเมริกัน แอสเซมบลี
ดอกเตอร์โคทนีย์ เกิดในปี 1904 ในเซ็นต์หลุยส์ มลรัฐมิสซูรี ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์และศึกษาในระดับกว่าปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทำงานในกระทรวงการต่างประเทศและองค์การบริหารอาหารสงคราม ด้วยการเจรจากับประเทศอื่นเพื่อจัดหาอาหารที่เหลือจากการบริโภคในประเทศ
หลังสงครามยุติลง เขาเข้าทำงานกับบริษัทแสตนดาร์ด ออยล์(นิวเจอร์ซีย์)ในตำแหน่งหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์น้ำมัน และเป็นผู้ช่วยของประธานกรรมการบริษัท
ดอกเตอร์บราวน์มีประสบการณ์เป็นเวลานานกับคณะกรรมการขององค์กรธุรกิจและองค์การกุศล กรรมการของบริษัทเอสโซ่ แสตนดาร์ด ออยล์ แสตนดาร์ด อเมริกัน อิเล็กทริค พาวเวอร์ เดอะ บอร์แดน ยูริส บิลดิ้งส์ และตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก
ในปัจจุบันเป็นกรรมการของแอสโซซิเอทเต็ด ดราย ฟู้ดส์–เดอะ โคลัมเบีย บรอดแคสติ้ง ซิสเต็ม แปซิฟิก คอร์เปอเรชั่น และเดอะ เวสท์ ไซด์ แอ็ดไวซ์ซอรี่ เคมิคัล แบงก์ ในจำนวนนี้ท่านเป็นกรรมมการบริหารสองบริษัท นอกจากนี้ยังอยู่ในคณะอนุกรรมการซึ่งมีหน้าที่เฉพาะ
มีประสบการณ์ในฐานะกรรมการขององค์การกุศลมากเช่นกัน โดยได้เป็นกรรมการของเดอะ อินเตอร์เคาน์ซิล ฟอร์ บิสิเนส ออพพอร์จูนิตี้ และเดอะ นิวยอร์กแอ็ดไวซอรี่ บอร์ด ออฟ ดิ ซัลเวชั่น อาร์มี
ในปัจจุบันท่านเป็นกรรมการของอเมริกัน แอสเซมบลี และดิ อะแคดิมี่ ออฟ โพลิติคัล ไซน์ และเป็นกรรมการกิตติมศักดิ์ของเดอะ เคาน์ซิล ฟอร์ ไฟแนนเชียล เอด ทู เอดยูเคชั่น
ในปัจจุบันดอกเตอร์บราวน์เป็นกรรมการของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
มีคำพูดอยู่บ่อยๆ ว่าการขายแนวความคิดให้แก่คณาจารย์ ถ้าเป็นความคิดเกี่ยวกับเป็นสิ่งที่ยาก หรืออย่างน้อยก็ยากกว่าการขายสินค้า หลักสูตรการศึกษาละก้อ ควรระวังให้ดี ถ้าไม่เชื่อลองถามนักการเมืองดูก็ได้ หรือถ้าจะการบริหารงานในมหาวิทยาลัยชั้นนำ ให้ลองถามผู้บริหารการศึกษาที่พยายามขายแห่งหนึ่งมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนใคร เคยเรียกว่าอนาธิปไตยแบบมีระบบ ตัวผมต้องตกอยู่ในภาวะแวดล้อมที่สับสนเช่นนี้หลังจากที่ทำงานเป็นเวลา 8 ปีในบริษัท แสตนดาร์ด ออยล์ ซึ่งมีรูปแบบการจัดการที่ดีเยี่ยม
ผมได้รับการเชื้อเชิญให้เป็นคณบดีของคณะบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียเ ป็นเวลาหลายปีที่ผมได้ความคิดในเรื่องที่ว่าหลักสูตรของการศึกษาบริหารธุรกิจ ควรจะจัดในรูปแบบใด แต่โชคไม่ดีที่ความคิดนี้มิได้เกิดจากการร่วมกันพัฒนากับคณาจารย์ของผม
อำนาจในเรื่องการจัดหลักสูตรของคณาจารย์เปรียบเสมือนกับวัวศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดูที่จะแตะต้องไม่ได้
ในโลกของการศึกษามีสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นเช่นนี้ และควรจะเป็นเช่นนี้ อันเนื่องมาจากวิวัฒนาการอันยาวนานของมหาวิทยาลัย
สถาบันการศึกษาเหล่านี้มีจุดเริ่มต้นในยุโรปในศตวรรษที่ 13 โดยเรียกว่าคอลเลจเจียมส์ ซึ่งเป็นหมู่นักปราชญ์ซึ่งมาชุมนุมกันเพื่อสอนวิชาของตนเอง รับนักเรียนเอง และเก็บค่าเล่าเรียนของตนเอง มันเป็นระบบที่เป็นส่วนตัวมาก
เนื้อหาของวิชาที่สอนเป็นผลมาจากการค้นคว้า การศึกษา การไต่ถาม และพินิจพิเคราะห์ด้วยตนเองของนักปราชญ์ราชบัณฑิต
ความจริงข้อนี้ก็ยังคงอยู่สำหรับการศึกษาในระดับสูง ไม่มีอะไรสำคัญในคณะมากไปกว่าความมั่นคงในด้านปัญญาความคิดพร้อมด้วยการศึกษา โอกาสในการทำตามความเชื่อมั่นของตน
อาจารย์จะเสริมสร้างกองทุนแห่งปัญญาเช่นเดียวกับนักธุรกิจก่อสร้างทุนเพื่อการผลิต
คณะบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียให้ทำการสะสมกองทุนของความรู้มาเป็นเวลา 10 ปี
เมื่อคณบดีคนใหม่มาถึง มีเพียงผู้ที่พาซื่อเท่านั้นที่กล้าแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ หากไม่ใช่เป็นเพราะปรารภจากอาจารย์ แต่ละคนที่แสดงความไม่ชอบใจหลักสูตรบ่อยๆ แล้ว การเสนอความเห็นแบบนี้ ก็เหมือนกับการแสดงความอวดดีออกมา
แต่การแสดงความไม่พอใจกับหลักสูตรก็มักจะเป็นการกล่าวถึงเนื้อหาวิชาของอาจารย์คนอื่น หรือเป็นเรื่องของการขาดสมดุลหรือการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหลักสูตรโดยส่วนรวม
การศึกษาหลักสูตรการบริหารธุรกิจ เริ่มต้นในสหรัฐที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียในคณะที่มีชื่อว่าวาร์ตัน สคูล ลักษณะโครงสร้างของหลักสูตรของมหาวิทยาลัยนี้ถูกนำไปใช้ในคณะบริหารบริหารธุรกิจ ในมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ในกลางทศวรรษ 1950 รวมทั้งที่โคลัมเบียด้วย
การศึกษาวิชาการบริหารธุรกิจถูกแบ่งเป็นแนวดิ่งสำหรับการศึกษาเฉพาะด้าน คือการประกันภัย ธุรกิจบ้านและที่ดิน การธนาคาร การขนส่งและอื่น ๆ และมีวิชาหลักหลายวิชาแทรกอยู่ในการศึกษาเฉพาะด้าน คือ บัญชี สถิติ การพนักงานและการจัดการ นักศึกษาจะเลือกวิชาเฉพาะด้านเพื่อรวมกับวิชาหลักดังกล่าวซึ่งเป็นวิชาบังคับ
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นแห่งแรกที่ดัดแปลงโครงสร้างหลักสูตรดังกล่าว ด้วยการใช้กรณีตัวอย่างในการสอน ซึ่งเป็นการเอาอย่างมาจากคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศ
คณะบริหารธุรกิจของโคลัมเบียได้พิจารณาเรื่องการใช้กรณีตัวอย่างในการสอนแล้วก็ตัดสินใจไม่ใช่เป็นวิธีหลักในการสอน ซึ่งตามความเห็นของผมแล้วเป็นการตัดสินใจที่ฉลาด
การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรได้กระทำกันมาแล้ว 5–6 ครั้ง ก่อนที่ผมจะเข้ามารับตำแหน่งคณบดี อาจารย์สองท่านจะเปรียบเทียบวิชาที่ทั้งสองสอนเพื่อดูว่ามีอะไรที่ซ้ำซ้อนกันหรือไม่ ผลก็คือพบเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนหลายประการ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในวิชาของอาจารย์ผู้อื่น
เขาไม่พยายามค้นหาว่าขอบข่ายที่สำคัญของธุรกิจด้านใดบ้างที่ยังไม่มีการสอน เพราะขอบข่ายวิชานั้นๆ ไม่ได้อยู่ในความสนใจของอาจารย์ท่านใดๆ จึงไม่จำเป็นต้องพูดก็ได้ว่าความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าไม่ประสบความสำเร็จ และนักศึกษากับคณาจารย์ก็มีความไม่พอใจกับหลักสูตรที่มีอยู่
เป็นที่เห็นได้ชัดว่าหากเราใช้วิธีเดิมอีกก็จะไม่เกิดประโยชน์ เราจะต้องทดลองใช้วิธีใหม่ๆ ควรเป็นวิธีใหม่ๆ ควรเป็นวิธีที่ต้องใช้กลเม็ดเด็ดพรายบ้าง และหลีกเลี่ยงการใช้วิธีเสนอความคิดแบบบังคับจากคณบดีพยายามไม่ให้มีการแข่งขันหรือเอาอย่างกันแบบที่เคยใช้ไม่ได้ผลมาแล้ว
การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตาม จะต้องเกิดจากความคิดใหม่ๆ มีการพิจารณาอย่างพินิจพิเคราะห์และการพูดคุยกับคณาจารย์ทั้งแบบตัวต่อตัวและเป็นกลุ่ม
ด้วยแรงผลักดันพอสมควรจากคณบดี เราจึงตัดสินใจใช้วิธีแปลกใหม่ ซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนในการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
ในขั้นต้น เราปฏิเสธวิธีการเปรียบเทียบหลักสูตรของมหาวิทยาลัยของเรากับมหาวิทยาลัยแห่งอื่น ไม่ว่ามหาวิทยาลัยอื่นจะมีคุณภาพเพียงใด?
เราไม่ได้สนใจแม้แต่จะวิเคราะห์สิ่งที่เราทำมาตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน แต่ในฐานะที่เราเป็นคณะบริหารธุรกิจที่สอนวิชาในระดับสูง ดังนั้นเราจึงสนใจกับการดำเนินธุรกิจในโลกของความเป็นจริง ความคิดของคนในวงการธุรกิจ และลักษณะของภาระปัญหาของธุรกิจ
หลังจากพินิจพิเคราะห์ธุรกิจในปัจจุบันอย่างลึกซึ้ง กว้างขวางทุกแง่ทุกมุมแล้ว พร้อมที่จะนำผลการศึกษาส่วนต่างๆ ไปทำการศึกษาเพื่อการพัฒนาต่อไป
ความคิดที่เสนอให้คณาจารย์มิใช่เป็นการนำเนื้อหาเฉพาะวิชามาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอามาทั้งหมด แต่มันเป็นการรับเอาขบวนการแปลกใหม่ สำหรับการศึกษาหลักสูตรทั้งหลักสูตร โดยเริ่มต้นจากธุรกิจแล้วก็เลื่อนขึ้นมาศึกษาขั้นตอนต่างๆ ของธุรกิจ และในที่สุดก็เป็นรูปแบบของเนื้อหาสำหรับเฉพาะวิชา ซึ่งจะพัฒนาโดยตัวอาจารย์เอง
มันเป็นงานที่ค่อนข้างเสี่ยง ทุกคนประหวั่นใจเล็กน้อย แต่กระบวนการใช้ที่พุ่งตรงไปยังธุรกิจการค้าก่อน ส่วนเนื้อหาของวิชาที่แสดงถึงลักษณะที่สำคัญของธุรกิจเป็นขั้นตอนสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้นมันเป็นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อความก้าวหน้าและเป็นการค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการ
มีการจัดคณาจารย์เป็นคณะกรรมการ พิจารณารายงานความก้าวหน้าของแต่ละธุรกิจ มีการศึกษาประเด็นที่น่าสนใจ 3 ประเด็นคือ
- สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
- ลักษณะของการจัดรูปแบบองค์กรและการจัดการของธุรกิจ
- เครื่องมือในการสื่อสารและวิเคราะห์วงการธุรกิจใช้
หนึ่งในสามของคณาจารย์ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบประเด็นใดประเด็นหนึ่ง โดยให้มีอาจารย์อาวุโสเป็นประธาน อาจารย์แต่ละกลุ่มปฏิบัติภารกิจอย่างเอาจริงเอาจัง ออกรายงานบ่อยครั้งเพื่อเอาไปพิจารณาในที่ประชุมสภาคณาจารย์
ลักษณะเนื้อหาสำคัญที่น่าสนใจ ซึ่งควรอยู่ในแต่ละประเด็นค่อยๆ ปรากฏขึ้นมาจากผลงานและการอภิปรายเหล่านี้
ได้มีการสรุปว่าธุรกิจดำเนินไปในภาวะแวดล้อมอันเป็นผลจากปัจจัยหลักๆ 3 ปัจจัย ดังนี้
- สภาวะเศรษฐกิจ
- แนวความคิดและทัศนคติซึ่งสืบทอดตั้งแต่อดีต
- ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรที่เป็นสิ่งของ เทคโนโลยี และมนุษย์
นี่เป็นวิชาหลักๆ 3 อย่างที่นักศึกษาวิชาบริหารธุรกิจในระดับปริญญาโทควรจะศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์จุลภาคให้เรียบร้อยแล้ว แต่วิชาหลักอีก 2 อย่างจะต้องการจัดเนื้อหาและรูปแบบขึ้นมาใหม่
วิชาใหม่ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการศึกษาในเรื่องนี้ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงบริษัทในยุคปัจจุบันซึ่งเรียกว่า พื้นฐานแนวความคิดทางธุรกิจ
วิชานี้เป็นการวิเคราะห์ข้อปัญหาที่โต้เถียงเกี่ยวกับสังคมและจริยธรรม ซึ่งเผชิญหน้ากับการตัดสินใจทางธุรกิจ วิชานี้ประสบผลสำเร็จพอสมควร
นอกจากนี้เรายังพบว่ามีความจำเป็นต้องสร้างวิชาใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นวิชาหลักในด้านการจัดองค์กรและการจัดการของธุรกิจ
ในขณะนั้นวิชาพฤติกรรมศาสตร์ เป็นวิชาที่มีการถกเถียงกันมากในแวดวงการศึกษา รู้สึกว่ามีความจำเป็นต้องค้นคว้าอย่างกว้างขวางและนำไปใช้ในเรื่องพฤติกรรมและการตัดสินใจทางธุรกิจ อีกวิชาหนึ่งคือ การจัดการและโครงสร้างขององค์กร ซึ่งมีการสอนมานานแล้ว และลำดับการศึกษาแบบแผนของพฤติกรรม
เค้าโครงของกฎหมายซึ่งจะขีดวงสำหรับการดำเนินงานของธุรกิจเป็นเนื้อหาที่ทำให้ส่วนที่สองของการศึกษาสาขาบริหารธุรกิจสมบูรณ์ และมีความรู้สึกว่านักศึกษาในระดับปริญญาโทควรจะได้ศึกษาวิชาทั้งสามดังกล่าว
เครื่องมือที่ใช้ในธุรกิจได้รวมอยู่ในหลักสูตรอยู่แล้ว มีการพยายามจะรวมบัญชีและสถิติเข้าด้วยกัน ซึ่งมักจะกระทำกันในการดำเนินธุรกิจจริงๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เหล่าคณาจารย์ต่างคนก็แยกกันอยู่มานาน
อย่างไรก็ตาม คณิตศาสตร์สำหรับการวิจัยเชิงปฏิบัติเป็นเรื่องที่ดึงดูดใจ อาจารย์หลายท่านได้บุกเบิกวิชาที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ทดสอบข้อสมมุติฐานและการตัดสินใจทางธุรกิจด้วยการใช้การคำนวณ และมีความเห็นว่าการได้เข้าถึงเครื่องมือต่างๆ สำหรับธุรกิจเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาโท
ในแต่ละด้านของธุรกิจ 3 ด้าน คณาจารย์ได้ระบุเนื้อหาซึ่งต้องแบ่งเป็น 3 วิชา หลายวิชาในจำนวนนี้ ทำให้ต้องมีการทำรายละเอียดของหัวข้อความรู้สำหรับแต่ละวิชา ซึ่งนับว่าเป็นงานหนักมากหากจะต้องทำให้สมบูรณ์
แต่คณาจารย์ก็ไม่ได้พอใจเพียงเท่านี้ มีความเห็นว่าในเทอมสุดท้ายนักศึกษาควรจะได้ประสบการณ์ในการตัดสินใจเป็นกลุ่ม โดยใช้วิชาความรู้ที่เรียนมาในเทอมต้นๆ ในการนี้ได้มีการเพิ่มวิชาขึ้นอีกวิชาหนึ่ง ซึ่งสอนด้วยการใช้กรณีตัวอย่าง เมื่อรวมแล้วจึงเป็นวิชาบังคับ 10 วิชา จากจำนวน 20 วิชา ซึ่งเป็นหลักสูตรของปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ
วิชาอื่นอีก 5 วิชาจะต้องเลือกจากสาขาที่นักศึกษาเลือกเรียน เช่น การเงิน การตลาด การค้าระหว่างประเทศ หรือการขนส่ง
อีก 5 วิชาที่เหลือ นักศึกษาสามารถจะเลือกวิชาใดก็ได้ในคณะบริหารธุรกิจหรือคณะอื่นในมหาวิทยาลัย
การใช้หลักสูตรนี้ทำให้ประสบความสำเร็จหลายอย่าง มันทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความสมดุลซึ่งเป็นที่ต้องการของคณาจารย์มานาน
วิธีการนี้เริ่มเข้าสู่การศึกษาบริหารธุรกิจ ด้วยการถือว่าธุรกิจเป็นกิจกรรมที่กว้างขวาง ซึ่งเน้นถึงอิทธิพลของธุรกิจและสังคม ซึ่งมีต่อกันและกัน
วิธีการนี้เปลี่ยนวัตถุประสงค์หลักของการศึกษาการบริหารธุรกิจ จากการเตรียมตัวนักศึกษาให้พร้อมสำหรับงานแรก ไปเป็นการเตรียมตัวนักศึกษาสำหรับการดำเนินอาชีพธุรกิจของเขา
นอกจากนี้ยังมีผลพลอยได้ที่สำคัญคือ ทำให้เห็นถึงความซ้ำซ้อนของเนื้อหาวิชาในวิชาเฉพาะด้าน ซึ่งได้สะสมกันมาจากหลักสูตรที่ไม่เหมือนหลักสูตรใหม่นี้ และมีวัตถุประสงค์ไม่เหมือนหลักสูตรใหม่ วิชาที่สอนซึ่งเดิมมี 130 วิชาถูกลดลงเหลือ 80 วิชา
หากใช้วิธีการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรด้วยการเปรียบเทียบกับสถาบันอื่นแล้ว ก็คงจะไม่ก่อให้เกิดผลดีเช่นนี้ได้ และถึงแม้จะใช้วิธีเปรียบเทียบวิชาที่สอนอยู่ที่คณะบริหารธุรกิจของโคลัมเบียก็คงจะไม่เป็นผลเช่นกัน วิธีการนี้เคยใช้มาแล้วหลายครั้ง
หากคณบดีแสดงความคิดเห็นในเรื่องการปรับปรุงหลักสูตรให้แก่คณาจารย์ เขาก็คงจะเสียใจ แต่การขายความคิดสำหรับกระบวนการที่นำไปสู่การแก้ไขหลักสูตรได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นไปได้และทำได้สำเร็จ
ที่จริงวิธีการที่ใช้นี้ทำให้เกิดบูรณภาพซึ่งดึงดูดความสนใจของอาจารย์และนักศึกษาทั่วประเทศและในต่างประเทศ
กลับสู่หน้าหลัก
 ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|