ซี.เอส.ผนวกล็อกซอินโฟ นั่งแท่นเบอร์หนึ่งแกร่งสุดแซงหน้าไอเน็ต


ผู้จัดการรายวัน(5 มิถุนายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

ซี.เอส.อินเทอร์เน็ต-ล็อกซอินโฟประกาศ รวมกิจการแปรสภาพสู่บริษัทใหม่ภายใต้ชื่อ "ซี.เอส.ล็อกซ อินโฟ" สร้างความแข็งแกร่งเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ อินเทอร์เน็ต ลดต้นทุนในการดำเนินกิจการ

มั่นใจหลังรวมกิจการสามารถสร้างรายได้ 120 ล้านบาทต่อเดือน ด้วยทุนจดทะเบียนรวมกันกว่า 1,000 บาท หลังทุกอย่างลงตัวคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 3 เดือนหลังจากนี้ พร้อมแซงหน้าผู้นำ

ตลาดอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จากเครือข่ายและฐานลูกค้าครอบคลุมมากกว่า ก่อนขยายสู่ตลาดต่างประเทศ (วานนี้ 4 มิ.ย.) บริษัท ซี.เอส. คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(ไอเอสพี)

ภายใต้ชื่อซี.เอส.อินเทอร์เน็ต และบริษัท พอยท์ เอเชีย ดอท คอม(ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะบริษัทแม่ของล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในนามล็อกซอินโฟ ได้บรรลุข้อตกลง

(เอ็มโอยู) ในการรวมกิจการผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตระหว่างซี.เอส. อินเทอร์เน็ตและล็อกซอินโฟ เป็นบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อ ซี.เอส.ล็อกซ อินโฟ เพื่อรองรับการขยายตัวของ ธุรกิจอินเทอร์เน็ต

และครอบคลุมตลาดมากขึ้น ครอบคลุมทั้งตลาดผู้บริโภคทั่วไปและลูกค้าองค์กร โดยบริษัท ชินบรอดแบนด์ อินเตอร์ เน็ต(ประเทศไทย) จำกัดถือหุ้น 51% และพอยท์เอเชีย 49%

การรวมกิจการของไอเอสพีทั้ง 2 รายครั้งนี้ ได้มีการเจรจาและศึกษาซึ่งกันและกันมาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ซึ่งทางซี.เอส.เองได้พิจารณาแล้วว่าการรวมกิจการกับล็อกซอินโฟ

ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่มีศักยภาพสูงมีความแข็งแกร่งทั้งด้านเครือข่าย บุคลากร การบริการหลังการขายและเป็นที่ยอม รับทั้งภาครัฐและเอกชนในการให้บริการอินเทอร์เน็ตด้านต่างๆ

ขณะที่ซี.เอส.เองก็ได้รับความนิยมอย่าง กว้างขวางในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป จึงตัดสินใจรวมกิจการกัน "การรวมกิจการครั้งนี้เรามั่น ใจว่าจะส่งผลให้คุณภาพของผลิต

ภัณฑ์และบริการอินเทอร์เน็ตมีศักยภาพมากขึ้น เพราะล็อกซอินโฟ เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจอินเทอร์เน็ตและมีประสบ การณ์

และจากศักยภาพเครือข่ายทั้งภาคพื้นดินและดาวเทียมจะทำให้เราให้บริการอินเทอร์-เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ได้อย่างมีคุณภาพ" นายดำรง เกษมเศรษฐ์ ประธานกรรม การบริหาร บริษัท

ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทแม่ของชินบรอดแบนด์กล่าว จากข้อตกลงในการรวมกิจการของทั้ง 2 ฝ่าย เชื่อว่าจะช่วยลดต้นทุนที่ซ้ำซ้อนกัน

และยังเอื้อประโยชน์ต่อผู้บริโภคหรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนจะลดต้นทุนได้ขนาดไหนนั้นยังอยู่ระหว่างการศึกษาตัวเลขคร่าวๆ

จากนั้นซี.เอส.ล็อกซอินโฟจะเริ่มแผนงานด้านการพัฒนาโครงข่ายเพื่อให้บริการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการตลาดและทุกส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

ด้านทุนจดทะเบียนหลังซี.เอส.อินเทอร์เน็ต และล็อกซอินโฟรวมกิจการ จะมีกว่า 1,000 ล้านบาท และเชื่อว่าจะสามารถสร้างรายได้หลังการควบกิจการเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3

เดือนหลังจากนี้ 115-120 ล้านบาทต่อเดือน และคาดว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 40-50% ซึ่งตัวเลขตรงนี้ได้พิจารณาจากรายได้ของไอเอสพีรายใหญ่ 3-4 รายเป็นหลัก

ตัวเลขส่วนแบ่งทางการตลาดจากการรวมกิจการครั้งนี้ ย่อมส่งผลให้ผู้นำตลาดอย่างบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด(มหาชน) หรือไอเน็ต ต้องตกลงมาเป็นเบอร์สองของตลาดอย่างแน่นอน

ส่วนบุคลากรหลังการรวมกิจการจะมีประมาณ 400 กว่าคน ซึ่งทางกลุ่มชินยือนยันว่า จะไม่มีการปลดพนักงาน แต่จะโยกย้ายไปทำงาน ในส่วนที่มีการขยายกิจการไปในต่างประเทศ

สำหรับผู้บริหารระดับสูงที่จะเข้ามารับผิดชอบและดูแลซี.เอสล็อกซอินโฟ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างพิจารณาตัวบุคคลที่เหมาะสม "คนที่จะมาบริหารตรงนี้เราก็ดูๆ อยู่ แต่ต้องรอให้ทุกอย่างลงตัวก่อน ซึ่งเราไม่ได้แบ่งว่าเป็นคนของซี.เอส.หรือล็อกซอินโฟ เพราะการร่วมมือครั้งนี้เป็นการรวมกิจการแบบฉันมิตรโดยการแลกหุ้นกัน" นายดำรงกล่าว ด้านนายวสันต์ จาติกวณิช ประธานกรรม การบริษัท

พอยท์ เอเชีย ดอท คอม (ประเทศไทย) กล่าวว่าท่ามกลางสภาวการณ์ธุรกิจอิน- เทอร์เน็ตที่มีการแข่งขันกันสูง การผนึกกำลังกับพันธมิตรย่อมส่งผลให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากจะช่วยลดต้นทุนที่ซ้ำซ้อน ยังเอื้อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการโดยตรง "ซี.เอส.อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมในตลาดผู้บริโภคทั่วไป ทั้งยังมีความโดดเด่นด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม

ประกอบกับวัฒนธรรมองค์กรและลักษณะการดำเนินงานที่มีความใกล้เคียงกับล็อกซอินโฟ การรวมกันครั้งนี้จึงเป็นการ จับคู่ที่ลงตัวในหลายๆ ด้าน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่บนพื้นฐานที่ทัดเทียมกัน"นายวสันต์กล่าว ที่ผ่านมาล็อกซอินโฟต้องกัดฟันลุยธุรกิจด้านอินเทอร์เน็ตมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งขึ้นมาเป็น 1 ใน 3

ผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ แต่ก็เหมือนกับผู้ประกอบการหลายๆ แห่งทั่วโลก ที่พ่ายแพ้ต่อเกมธุรกิจในโลกอินเทอร์เน็ต อยู่ในสภาพโตก็ลำบากตายก็ลำบาก

แม้ว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนอย่างต่อเนื่อง และมีผู้ถือหุ้นเงินหนา เช่น กลุ่มล็อกซเล่ย์, สิงเทล และ การสื่อสารแห่งประเทศไทย แต่เมื่อพิจารณาถึงรายได้กับไม่คุ้มค่าใช้จ่ายมาตั้งแต่เปิดบริการ

การรวมกิจการกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด การลงเอยระหว่างซี.เอส.อินเทอร์เน็ตและล็อกซอินโฟ

ส่วนสำคัญที่ทำให้การรวมกิจการครั้งนี้ประสบความสำเร็จน่าจะมาจากผู้ถือหุ้นอย่างสิงเทล เนื่องจากสิงเทล ถือหุ้นทั้ง ล็อกซอินโฟและกลุ่มชินคอร์ป

ทำให้ซี.เอส.อินเทอร์เน็ตได้มีโอกาสเจรจากับกลุ่มล็อกซอินโฟเพื่อรวมกิจการสู่บริษัทใหม่ ธุรกิจที่คาดว่าล็อกซอินโฟจะเข้าไปรวมกับซี.เอส.อินเทอร์เน็ต ได้แก่ ธุรกิจจากกลุ่ม Loxinfo Service

อันประกอบด้วย ธุรกิจบริการอินเทอร์เน็ตซึ่ง Loxinfo มีส่วนแบ่งการตลาดในด้าน Corporate Commercial Account มากที่สุดในประเทศไทย มีมากกว่า 400 ราย

และเป็นธุรกิจที่กลุ่มล็อกซอินโฟประกาศมาตลอดว่าเป็นธุรกิจที่ได้กำไร อีกธุรกิจหนึ่งที่จะเข้าไปรวม คือธุรกิจด้าน IDC (Internet Data Center หรือ ศูนย์บริการจัดเก็บข้อมูล)

ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ที่ยังไม่สามารถทำกำไรได้ ในเชิงธุรกิจการรวมกิจการของทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน ย่อมเกิดผลดีทั้งสองฝ่าย เพราะต่างมีเทคโนโลยีที่แข็งแรงด้วยกันทั้งคู่

นอกจากนี้ซี.เอส.อินเทอร์เน็ตมีตลาดอินเทอร์เน็ตแบบส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ขณะที่ล็อกซอินโฟมีตลาดในส่วนองค์กร ซึ่งจะทำให้มีฐานการตลาดที่ใหญ่ และกว้างขวางที่สุด

รวมทั้งมีฐานการเงินที่แข็งแกร่งจากกลุ่มชินคอร์ปและสิงเทล จะมี Bandwidth เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ระบบมีความเสถียรสูงมากขึ้น เพราะ บริษัทแม่ของซี.เอส.อินเทอร์เน็ตมีระบบดาว เทียมของตนเอง

ดังนั้น ไม่ต้องวิตกว่าโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ใต้ทะเลจะมีปัญหาเหมือนที่แล้วๆ มา เพราะมีเครือข่ายดาวเทียมสำรอง มี Network ครอบคลุมพื้น ที่กว้างขวางทั่วประเทศ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.