พลิกยุทธศาสตร์ ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ จากคนขายคอนเทนต์ไปสู่การเป็นเจ้าของเครือข่ายขนาดย่อม
เริ่มจากออดิโอเท็กซ์ 108 1009 ก่อนขยับขยายไปเล่นไอพี สร้างพลังผนึกธุรกิจ
4 สายหลัก
มุ่งเป็นบริษัท มาร์เก็ตติ้ง โซลูชั่น ไม่ขายแค่โฆษณา แต่ยกระดับเป็นพาร์ตเนอร์
ช่วยคิด ช่วยขาย ยรรยง อัครจินดานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทราฟฟิกคอร์น
เนอร์ โฮลดิ้ง
เดิมเคยเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการด้านการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์
เซอร์วิสหรือเอไอเอส เป็นคนคิดโลโก จีเอสเอ็ม 2 วัตต์ เป็นแม่ทัพด้นการตลาดมานานกว่า
12 ปี
เป็นคนปลุกปั้นให้เอไอเอสเป็นผู้นำในตลาดโทรศัพท์มือถือ กลุ่มบริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์
ทำธุรกิจด้านสื่อ ทำรายการทีวีเป็นหลัก กลุ่มผู้ก่อตั้งมีสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ
ที่มีพื้นฐานจากงานโฆษณา เอเจนซี่ มีประสบการณ์บริหารงานสื่อโฆษณา กีฬาและบันเทิง
มานานกว่า 10 ปี หลังจากนั้นขยายธุรกิจไปทำรายการวิทยุ ธุรกิจไปได้ดี จนมาถึงช่วงธุรกิจดอทคอมบูม
ก็ขยายไปสู่อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ ฮอตลีกดอทคอมหรือเรียกว่าแตกไลน์เข้าสู่ธุรกิจนิวมีเดีย
วันนั้นของทราฟฟิกคอร์นเนอร์ อยู่ในภาคเนื้อหาสาระข้อมูลหรือที่เรียกว่าคอนเทนต์
เป็นการสร้างคอนเทนต์มาให้บริการผ่านเน็ตเวิร์กคนอื่น ตัวอย่างเล็กๆในเชิงธุรกิจที่ทั้งคู่ร่วมกันทำอย่างฮอตลีกดอทคอม
กลายเป็นเว็บไซต์ที่เลี้ยงตัวเองรอด ไม่ปิดตัวเองไปในช่วงดอทคอมซึม
เคยถูกเสนอซื้อด้วยเงินก้อนโตจากเจ้าของเน็ตเวิร์กอย่างชินนี่ดอทคอมในสมัยหนึ่งเพราะมองเห็นรูปแบบธุรกิจที่ทำเงินได้จริง
เมื่อยรรยงโบกมือลาจากเอไอเอส สุรพงษ์จึงชวนมาทำงานด้วย
ภารกิจของยรรยงคือพัฒนาการเติบโต เอาทั้งด้านเน็ตเวิร์กและด้านคอนเทนต์
มาตอบสนองความต้องการของลูกค้า จนกลายมาเป็นบริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ โฮลดิ้ง
"ภารกิจของผมคือการสร้างชื่อบริษัท ระบบริหารซึ่งต้องเอาไอทีมาช่วย
แบ่งสายธุรกิจเป็นฟังก์ชั่นที่ชัดเจน มีการจัดกลุ่มเพื่อสร้างพลังผนึกในแต่ละธุรกิจ"
ยรรยง อัครจินดานนท์ CEO
ทราฟฟิกคอร์นเนอร์โฮลดิ้งกล่าว "คุณยรรยง มีประสบการณ์ในบริษัทขนาดใหญ่
เขาจัดการงานให้เป็นระบบได้ดีมาก ถือว่าเป็นช่วงสำคัญมากเพราะเราต้องการเอา
ทราฟฟิกคอร์นเนอร์เข้าตลาดหลักทรัพย์" สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย COO กล่าว
ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ ภายหลังจัดระเบียบ แบ่งเป็น 4 สายธุรกิจหลักคือ1.ทีวี
2.วิทยุ 3. อีเวนท์ มาร์เก็ตติ้ง และ 4.นิวมีเดีย
โดยประ กอบด้วย 6 บริษัทคือ 1.บริษัท ทีวี ฟอรัม ประกอบธุรกิจสื่อบันเทิงทางทีวี
เช่น รายการถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์จากอังกฤษ บุน- เดสลีกา เยอรมนี การถ่ายทอดรายการกีฬาอื่นๆ
จากต่างประเทศและในประเทศ และการจัดคอนเสิร์ตซี สแควร์ 2.บริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์
เรดิโอ ประกอบธุรกิจสื่อบันเทิงทางทีวีเป็นผู้บริหารคลื่นลูกทุ่งเอฟเอ็ม
95 MHz,Soft 107
MHzและคลื่นคนดนตรี 94 MHz 3.บริษัท ดรีมมีเดียประกอบธุรกิจบริหารลิขสิทธิ์และสร้างสรรค์งานดนตรี
4.บริษัท บลิส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ประกอบธุรกิจ เว็บไซต์ ฮอตลีกดอทคอม,ลูกทุ่ง
เอฟเอ็ม
ดอทคอม บริการ SMS ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือและบริการเนื้อหาสำหรับธุรกิจออดิโอเท็กซ์
5.บริษัท ไลฟ์โปรเจค ประกอบธุรกิจเป็นผู้จัดการแสดงคอนเสิร์ตทั้งในและต่างประเทศ
การจัดกิจกรรมการตลาดต่างๆและ 6.บริษัท 108 1009 ออดิโอเท็กซ์ได้รับสิทธิจากองค์การโทร-ศัพท์แห่งประเทศไทย(ทศท.)
ในการให้บริการข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์
"เราให้นิยามบริษัทเราว่าเป็นมาร์เก็ตติ้ง โซลูชั่น คัมปานี ไม่ใช่มีเดีย
คัมปานี เราไม่ได้แข่งกับแกรมมี่ถึงแม้เรามีรายการวิทยุ เราไม่ได้แข่งบีอีซีถึงแม้เราทำคอนเสิร์ต
เพราะเราไม่มีศักยภาพขนาดนั้น
แต่เราใช้ความได้เปรียบของบริษัทขนาดกลางมาแข่งขันด้วย" ในเชิงยุทธศาสตร์การเป็นมาร์เก็ตติ้ง
โซลูชั่น ทำให้ไม่ใช่แค่ขายโฆษณาได้แล้วจบ เพราะหากต้องการรายได้เพิ่ม
ก็มีแค่ขึ้นค่าโฆษณาหรือไม่ก็ทำรายการเพิ่มซึ่งความเสี่ยงสูง แต่การเปลี่ยนฐานะตัวเองจากแค่ขายโฆษณา
ให้เป็นเหมือนพาร์ตเนอร์ เสนอโซลูชั่น ที่เป็นแพก-เกจระยะยาว
อย่างรายการถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก 90 นาที หน้าที่บริษัท คือทำให้มันเป็นมากกว่า
90 นาทีของการแข่งขันฟุตบอล เอาทีวีเป็นหลัก หากิจกรรมมาเสริม หรือเอานิวมีเดีย
อย่างออดิโอเท็กซ์มาร่วมสนุก "เราต้องฉกฉวยประโยชน์จากกระแส แต่อย่าอ่อนล้ากับกระแส
เพราะหากเราวางตัวว่าเป็นมีเดีย พอเศรษฐกิจไม่ดีต้องตัดงบโฆษณา 5 สปอตก็ลดเหลือ
1 หรือ 2
แต่สำหรับทราฟฟิก คอร์นเนอร์ เราจะเสนอรูปแบบกิจกรรมต่างๆ เพิ่มเติมเข้าไปอีก
เห็นได้ชัดว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาถึงเศรษฐกิจไม่ดีแต่เรามีกำไรเพราะเราคิดสิ่งใหม่ๆมาขาย"
ภารกิจของยรรยง
หลังจากจัดระเบียบโครงสร้างสายธุรกิจให้เข้ารูปเข้ารอยแล้ว เขายังรับผิดขอบสายธุรกิจใหม่หรือนิวมีเดียโดยตรง
ด้วยความที่คุ้นเคยมากกว่าผู้บริหารคนอื่น นิวมีเดีย คำจำกัดความเชิงกลยุทธ์คือการ
มองว่าการทำธุรกิจมีเดียใดๆที่มีรูปแบบธุรกิจต่างไปจากธุรกิจเดิม เป็นการทดลองรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ
อย่างสื่อเดิมๆก็คือมีเวลาไม่ว่าจะเป็นทีวีหรือวิทยุ แล้วก็ไปขายมีรายได้จากค่าโฆษณา
หรืออาจจัดกิจกรรม อีเวนท์มาร์เก็ตติ้งต่างๆ ได้เงินจากตรงนั้น แต่ในธุรกิจนิวมีเดีย
ลักษณะการได้เงินมามันใหม่ทั้งสิ้น อย่างฮฮตลีกดอทคอม คนทั่วไปอาจรู้จักว่าเป็นแค่เว็บไซต์
แต่เป็นเว็บไซต์ที่เลี้ยงตัวเองรอด มีรายได้จาก 1.ค่าสมาชิกซึ่งรายได้น้อยแต่ประโยชน์มากจากฐานข้อมูล
เพื่อใช้ในการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคว่ากระแสมุ่งไปทางไหน
2.รายได้หลักมาจากการขายคอนเทนต์ ผ่านระบบส่งข้อความสั้นหรือ SMS กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออย่างเอไอเอส
และดีพีซี ส่วนฤดูการแข่งขันหน้า จะเริ่มให้บริการกับดีแทค ลูกค้าเสียเพียงเดือนละ
50 บาทแล้วบริษัท แบ่งรายได้คนละครึ่งกับเอไอเอส จ่ายเงินเข้าบิลเอไอเอส
"ลูกค้าได้รายงานผลทันควัน เอไอเอสได้คอนเทนต์ให้บริการลูกค้า ได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจาก
SMS
เราทำคอนเทนต์ให้ออดิโอเท็กซ์อย่าง กลุ่มสามารถ เราเป็นเจ้าแรกๆที่ทำโหวตติ้งฟุตบอล
แพ้ชนะ" การขายคอนเทนต์ผ่านออดิโอเท็กซ์ของกลุ่มสามารถ
ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กลุ่มสามารถกลายเป็นเบอร์ 1 ในธุรกิจออดิโอเท็กซ์
ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ หลังจากเพราะบ่มคอนเทนต์จนได้ที่ ก็ถึงเวลาก้าวสู่การเป็นเจ้าของเน็ตเวิร์กตัวเองบ้าง
เพราะการไปใช้เน็ตเวิร์ก คนอื่น มีข้อจำกัดหลายอย่างทำให้ทำกลไกการตลาดบางอย่างไม่คล่องตัว
โดยได้สิทธิให้บริการออดิโอเท็กซ์จากทศท.ในปลายเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา และเริ่มให้บริการผ่านบริษัท
108 1009 หรือเลขหมาย 1900 444 xxx ผ่านบางรายการของช่อง 3 เขามองว่าธุรกิจออดิโอเท็กซ์ยังอยู่ในช่วงตั้งไข่
แนะนำตัวเท่านั้น รายได้หลักยังมาจากกีฬาและหมอดู
ซึ่งในแง่การตลาดถือว่าเป็นการตามพฤติกรรม ตามกระแสผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อความอยู่รอด
แต่ในเฟสต่อไปต้องถึงระดับสร้างพฤติกรรมให้เกิดกับผู้บริโภค เช่น
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ หรือให้คำปรึกษาข้อกฎหมายต่างๆ เพียงแต่ช่วงแรกของธุรกิจต้องเริ่มจากบันเทิงทั่วๆไปถือว่าอยู่แค่ระดับผิวๆ
แต่ในระยะยาวหากธุรกิจจะรุ่งเรือง ต้องลงลึกในพฤติ-
กรรมผู้บริโภค ดึงพฤติกรรมออกมาให้ได้ ไม่ใช่สนองตอบอย่างเดียว ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ทราฟฟิก
คอร์นเนอร์ อยู่ในระดับ 50/30/10/10 (ทีวี/วิทยุ/กิจกรรม/นิวมีเดีย)
แต่ในอนาคตนิวมีเดียจะเป็นตัวทำเงินที่ดี "เทคโนโลยีไอพี โปรโตคอล
จะเป็นอนาคต มีพัฒนาการที่เลิศเลอ ทำให้มีจินตนาการสร้างบิสซิเนส โมเดลใหม่ๆ
อย่างไม่มีขีดจำกัด
ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ เข้าตลาดMAI
ทราฟฟิกคอร์เนอร์ โฮลดิ้งจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) และทำการซื้อขายในวันที่
5 มิ.ย.นี้ โดยเปิดขายให้ประชาชนทั่วไปในวันที่ 28-29 พ.ค.จำนวน 30 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ
4.50
บาท จากราคาพาร์ 1 บาท บริษัทจะได้เงินจากการระดมทุนในครั้งนี้ 135 ล้านบาท
โดยจะนำเงินไปใช้ในการซื้อลิขสิทธิ์คอนเสิร์ตและราย การถ่ายทอดสดกีฬาต่างประเทศ
และเชื่อ
ว่าการเติบโตของธุรกิจ 30-35% จะช่วยทำให้บริษัทเข้าขดทะเบียนในตลดาหลักทรัพย์นได้ภายในเวลา
2 ปี หลังเข้าตลาด MAI ทราฟฟิกคอร์น เนอร์ โฮลดิ้ง จะมีทุนจดทะเบียน 100
ล้านบาทโดยสุรพงษ์ เตรียมชาญชัยและวินิจ เลิศรัตนชัย กรรมการบริษัทจะถือหุ้นรวม
กันเหลือ 30% จากเดิมที่ถือ 52.86% และจะจ่ายปันผลทันที 50% สำหรับผลประกอบการในปี
2544 ที่ผ่านมา
มีกำไรสุทธิ 33.16 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 22.10 บาท พีอีเรโช 22 เท่าพีอี
กลุ่ม 30 เท่าและในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ตากค่าโฆษณามากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก
ที่ธุรกิจวิทยุ
น่าจะมีการเติบโตไม่ต่ำกว่า 50% ส่วนธุรกิจทีวีจะเติบโตประมาณ 30%
ออดิโอเท็กซ์มองเรื่องเอาไอพีมาเกี่ยวข้อง การสื่อสารข้อมูล หาบริการใหม่ๆ
มันเหมือนเด็ก ต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโต ต้องหาที่อยู่ให้เหมาะสม"