“จะต้องควบคุมการตั้งหรือขยายโรงงานอุตสาหกรรม” ยิ่งยง ศรีทอง ผู้อำนวยการกองควบคุมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม


นิตยสารผู้จัดการ( เมษายน 2527)



กลับสู่หน้าหลัก

ผู้จัดการ: ในการขยายโรงงานอุตสาหกรรมในเมือง มีเงื่อนไขอย่างไร?

ยิ่งยง: พูดถึงหลักทั่วๆ ไป สถานะของโรงงานที่จะขยายจะดูที่

1. สถานที่จะประกอบการ จะเดือดร้อนชาวบ้านหรือไม่?
2. การคมนาคม ถ้าเป็นสถานที่แออัด คนไปมาไม่สะดวกเกิดปัญหาการจราจรความสะดวกต่อการขนย้ายวัตถุดิบ
3. Space ที่จะตั้งเครื่องจักร ซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิค โดยดูว่าจะแน่นหรือไม่เช่นการวางเครื่องจักร และขึ้นอยู่กับอากาศในนั้นด้วยว่าเพียงพอหรือไม่ และความปลอดภัย
4. นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งกองเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดกระทรวง จะเป็นผู้รวบรวมศึกษา ภาวการณ์ตลาดของอุตสาหกรรมแต่ละชนิด อุตสาหกรรมไหนพอเพียงแล้วก็เสนอผ่านรัฐมนตรีไป

ถ้าออกใบอนุญาตแล้ว เราจะต้อง control ได้ การจะขยายต้องมี Limit ต้องไม่เพิ่มมลภาวะหรือมลพิษ ระยะเวลาจดทะเบียนกำหนดไว้ 3 ปีจึงจะต่อในอนุญาตครั้งหนึ่งแต่ในปีที่ 3 นี่ เราก็จะดูว่าถ้าไม่ดำเนินตามกฎหมาย เราก็จะไม่ต่อใบอนุญาต แต่ถ้าเผื่อดำเนินการตามกฎหมาย เราก็จะต่อให้เรื่อยๆ เราไม่มีนโยบายจะไปลิดรอนสิทธิ เว้นแต่จะไม่ดำเนินการตามที่ว่า เราก็อาจจะสั่งให้แก้ไข ถ้าแก้ไขได้เราก็โอเค จะให้ดำเนินการไปเรื่อยๆ แต่เราจะ control ไว้ให้ใหญ่เกินควร ดูว่าแล้วแต่สภาพของเขา ถ้าเพิ่มอะไรเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจเป็นไปได้ ถ้าเพิ่มเป็นจุดใหญ่ๆ เพิ่มผลผลิต มันก็ต้องขออนุญาตก่อน แต่ถ้าเราเห็นว่าพอแล้วก็ไม่ให้ขยายเราจะ control อุตสาหกรรมในเมืองไม่ให้ใหญ่มาก ถ้าจะขยายก็อาจจะไปในที่ที่เหมาะสม นั่นก็คือในขีดควบคุมของมัน

ผู้จัดการ: การจะตั้งโรงงานอุตสาหกรรมหรือขยายในตัวเมืองจะเป็นไปได้หรือไม่?

ยิ่งยง: มันจะต้องควบคุม เราจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ ต้องรายงานก่อน รัฐมนตรีจะอนุมัติ หรือไม่ก็ต้องดูก่อน

เงื่อนไขนั้น มันก็มีทั้งเงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ขึ้นอยู่กับสถานะของโรงงานนั้น ตามที่ว่าสามสี่อย่างข้างต้นจะเป็นอย่างไร

ส่วนเงื่อนไขที่จะห้ามโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัวในเขตเมืองนั้น ยังไม่ได้กำหนด แต่ไม่ใช่ไม่มีเงื่อนไข คือเราต้องดูอย่างที่ว่า แต่ก็ห้ามไม่ได้เด็ดขาด บางอย่างมันก็จำเป็นอยู่ การขยายก็ขอให้ดูตามพระราชบัญญัติ ซึ่งก็มีออกมาเรื่อย เรื่องไหนรีบด่วนเขาก็จะรีบออกมาก่อน


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.