"ทีเอ" สวนทางกลุ่มสื่อสาร Q1ขาดทุน6พันล้านบาท


ผู้จัดการรายวัน(22 พฤษภาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

ทีเอไตรมาสแรก ขาดทุนสุทธิหนักกว่า 6.25 พันล้าน บาท สวนกระแสกลุ่มสื่อสารที่มีแนวโน้มดีขึ้น เหตุจากต้องรับรู้ผลขาดทุนรายการพิเศษมูลค่า 7 พันล้านบาท ขณะที่กลุ่มชินคอร์ป กำไรสุทธิรวม 5.3

พันล้านบาท กลุ่มธุรกิจสื่อสาร นับเป็น กลุ่มที่นักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งได้มีการคาดการณ์ว่า ผลประกอบการประจำไตรมาสแรก

สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2545 ของกลุ่มสื่อสารจะมีการขยายตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากการสำรวจผลประกอบการ ปรากฏว่า

ส่วนใหญ่มีกำไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีเพียง 3 บริษัทเท่านั้นที่มีกำไรสุทธิลดลง คือ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอนจิเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC บริษัท

สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ SAMTEL และบริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TA ซึ่งเป็นบริษัทที่มีผลขาดทุน สูงสุดถึง 6,253.23 ล้านบาท ขาด ทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง

389.47% นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร TA กล่าวว่า บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานปกติประมาณ 165 ล้านบาท แม้ว่า

ภาพรวมจะมีผลขาดทุนสุทธิรวมกว่า 6253 ล้านบาท โดยเป็นผลขาดทุนจากรายการพิเศษ 2 รายการ จำนวน 7,284 ล้านบาท และผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 857 ล้านบาท รวมทั้ง TA

ยังสามารถทำกำไรจากผลการดำเนินงานปกติได้ก่อนระยะเวลาที่คาดการณ์ไว้ นั่นคือผลงานที่สร้างด้วยฝีมือพบว่าโตถึง 10%

แม้ว่าบริษัทยังไม่สามารถประเมินได้ชัดเจนว่าผลประกอบการในอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่บริษัทก็มีความเชื่อมั่นในศักยภาพที่จะทำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ในอีก 2-3 ไตรมาสข้างหน้านี้

"ผลประกอบการที่ดีขึ้นมาจากการปรับตัวที่ดีขึ้นของธุรกิจหลักของทีเอ รวมทั้งบริษัทย่อยที่ทีเอลงทุน คือ TA Orange ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งในไตรมาสนี้ ทีเอ รับรู้ผลกำไรใรในงบการเงินรวมถึง

331 ล้านบาท แม้ว่าจะต้องบันทึกผลขาดทุนจากการลงทุน ใน บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) หรือ UBC ผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก หรือเคเบิลทีวี เป็นจำนวนถึง

106 ล้านบาท" สำหรับผลประกอบการรวมที่มีผลขาดทุน เนื่องจากผลกระทบจากรายการพิเศษอื่นๆ จำนวน 7,284 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยผลขาดทุนจากบันทึกค่าเผื่อการลดมูลค่าของเงินลงทุนใน

FLAG จำนวน 5,722 ล้านบาท และเป็นการด้อยค่าของอุปกรณ์ IN (Intelligent Network) ที่ถูกทดแทนบางส่วน จำนวน 1,562 ล้านบาท ส่วนรายการที่เกี่ยวข้องกับ FLAG

ที่ยังไม่ได้สะท้อนในผลประกอบการในไตรมาสที่ 1 นี้ คือ การบันทึกกำไร จำนวน 944 ล้านบาท จากการยกเลิกสัญญา SAILS ระหว่างบริษัทย่อยและบริษัทภายนอก

คาดว่าจะบันทึกรายการดังกล่าวในไตรมาสที่ 2 นี้ กลุ่มชินกำไรพุ่งถ้วนหน้า นายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการ บริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SHIN

แจ้งผลการดำเนินงานของบริษัทสำหรับไตรมาสแรกสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2545 สอบทานแล้วว่า มีกำไรสุทธิ 1.70 พันล้านบาท หรือกำไรต่อหุ้น 0.58 บาท เทียบกับงวดเดียวกัน ปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ

980.93 ล้านบาทหรือกำไรต่อหุ้น 0.33 บาท โดยกำไรเพิ่มขึ้นจำนวน 722 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 74% จากจำนวน 981 ล้านบาท ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากบริษัทมีกำไรจากการลงทุนเพิ่มขึ้นสูงมากอีกทั้งมีรายได้อื่นเพิ่มขึ้นเป็น 329 ล้านบาท และบริษัทมีกำไรจากการลดสัดส่วนการลงทุนในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือ ITV จำนวน 283

ล้านบาท รวมทั้งบริษัทมีส่วนแบ่งผลกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียคือจาก บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC 1,379

ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันปีก่อนที่มีจำนวน 915 ล้านบาท บริษัท ชินแซทเทไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SATTLE 210 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันปีก่อนที่มีจำนวน 124 ล้าน บาท

บริษัทไอทีวีมีผลขาดทุน 170 ล้านบาทเทียบ จากงวดเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุน 104 ล้านบาทบริษัทดิจิตอลโฟนและอื่นๆ 2 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันปีก่อนที่มีผลขาดทุน 165 ล้านบาท

ดังนั้นจึงมีส่วนแบ่งกำไรเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้จำนวน 1,396 ล้านบาท หรือสูงขึ้นจากไตรมาส เดียวกันของปีก่อนถึง 554 ล้านบาท นายสมประสงค์ บุญยะชัย กรรมการ ADVANC กล่าว

บริษัทมีกำไรจากผลการดำเนิน งานไตรมาสที่ 1 ปี 2545 จำนวน 3,208 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 924 ล้านบาท หรือคิดเป็น 40% จากงวดเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากไตรมาสแรกปีนี้มีรายได้จากการให้บริการและให้เช่าอุปกรณ์ ทั้งสิ้น 12,548 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,843 ล้านบาท หรือ 44% โดยมีจำนวนลูกค้าบริษัทฯเพิ่มขึ้น 3,731,338 ราย จากเดิมที่มีลูกค้า

2,430,474 ราย อีกทั้งยังมีส่วนแบ่งผลกำไรในบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น 67% จาก ไตรมาสแรกปีก่อน เนื่องจากบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (AWM) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ในสัดส่วน 99.99%

มีผลประกอบการสูงขึ้นอย่างมากจากยอดขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เพิ่มขึ้น 66% บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SATTEL กำไรสุทธิ 389.26 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.89 บาท

เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 278.75 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.64 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 39.64% โดยสาเหตุหลักที่ทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น

เกิดจากบริษัทมีรายได้รวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6% คือ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 1,303 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมลดลงจาก 850 ล้านบาท เหลือ 831 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 2%

รวมทั้งบริษัทมีภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลงจากปีก่อนถึง 27% เนื่องจากบริษัทมีการทยอยคืนเงินกู้และหุ้นกู้ จัสมินฯกำไร 302 ล้านบาท นายพงษ์ชัย ศิรินฤมิตร กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท จัสมิน

อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JASMIN กล่าวว่า กลุ่มบริษัท จัสมินฯมีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2545 จำนวน 302 ล้านบาท โดยบริษัทฯ และบริษัทย่อยมียอดขาย

1,115 ล้าน บาท เพิ่มขึ้น 135 ล้านบาท หรือ 13% จากงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้ในส่วน "เทิร์นคีย์ โปรเจกต์" (Turn Key Project)

และการให้บริการโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมเพิ่มขึ้น รวมทั้งบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงาน 61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 158

ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา และมีส่วนแบ่งกำไรจากบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด จำนวน 94 ล้านบาท SAMARTกำไรเพิ่ม 140% นายศิริชัย

รัศมีจันทร์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAMART แจ้งผลประกอบการไตรมาสแรกปีนี้ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 67.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของ

ปีก่อนที่มีผลขาดทุน 168.96 ล้านบาท เนื่องจาก รายได้รวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 61 และกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 140

เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ธุรกิจการจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ การให้บริการข้อมูลและความบันเทิงผ่านเครือข่ายโทรศัพท์และการควบคุมจราจรทางอากาศในประเทศกัมพูชาซึ่ง

เป็นธุรกิจใหม่และได้ให้บริการเร็วกว่าที่กำหนดไว้ ในขณะเดียวกัน มีบางบริษัทที่มีรายได้ลดลงตามแนวโน้มของธุรกิจ คือ รายได้จาก บริษัท สามารถเพจจิ้ง จำกัด รายได้จากการให้บริการระบบสื่อสาร

ข้อมูลภาพและเสียงผ่านดาวเทียม และรายได้จากโครงการรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจซึ่งเลื่อนการรับรู้รายได้ไปไตรมาสถัดไป บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ SAMTEL

แจ้งผลประกอบการไตรมาสแรก ปีนี้ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 2.79 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 22.51 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นลดลงจาก 0.43 บาทเป็น 0.05 บาทต่อหุ้น

เนื่องจากมีรายได้การขายลดลงประมาณ 6.86 ล้านบาท และรายได้จากค่าบริการลดลงประมาณ 19.70 ล้านบาท โดยมีสาเหตุจากการขายโครงการต่างๆ ลดลง

ส่วนสาเหตุจากรายได้ค่าบริการลดลงเนื่องมาจากการแข่งขันจากบริการทดแทน และรายได้จาก นางวาสนา คงมั่น ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ

UCOM แจ้งผลประกอบการ ไตรมาสแรกของปีนี้ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 394.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 367.84 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มจาก 0.84 บาทเป็น 0.91

บาทต่อหุ้น เนื่องจากบริษัทมีรายได้จากการดำเนินงาน 3,212 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.75

เพราะกงานโครงการภายใต้ส่วนงานบริการด้านเครือข่ายโทรคมนาคมที่ได้เสร็จสิ้นตั้งแต่ปลายปีก่อนและโครงการใหม่ๆ อยู่ในระหว่างเริ่มต้น

แต่รายได้จากส่วนงานการขายอุปกรณ์และบริการสื่อสารไร้สาย และ ส่วนงานบริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การชำระหนี้ระยะยาวบริษัทสามารถจ่ายหนี้ได้เพิ่ม 9%

ของหนี้คงค้างทั้งหมด TT&Tกำไรสุทธิ 295 ล้านบาท นายประสิทธชัย กฤษณยรรยง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและบัญชี บริษัททีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) หรือ TT&T

แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาสแรกว่ามีกำไรเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนอยู่ 956.16 ล้านบาท แต่ปีนี้มีกำไร 295.91 ล้านบาท ส่งผลให้จากที่ขาดทุนอยู่ 0.85 บาทเป็นมีกำไร 0.11

บาทต่อหุ้น เนื่องจาก บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 424 ล้านบาท และมีผลกำไรสุทธิจำนวน 296 ล้านบาท เทียบกับกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 326 ล้านบาท

และมีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 956 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปี 2544 เนื่องจากการเปลี่ยน แปลงทั้งด้านรายได้และรายจ่าย IECกำไรสุทธิ 6 ล้านบาท นางทิพวรรณ อุทัยสาง รองกรรมการผู้อำนวยการ

บริษัทอินเตอร์เนชั่นเนิล เอนจีเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC แจ้งผลประกอบการไตรมาสแรกปีนี้ว่าผลประกอบการต่างจากงวดเดียวกันของปีก่อน 20% โดยมีกำไรสุทธิ 6.46 ล้านบาท

ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 74.58 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นลดลงจาก 1.59 บาทเหลือเพียง 0.09 บาทต่อหุ้น เนื่องจากบริษัทฯ ไม่มีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้

ในขณะที่ในงวดเดียวกันของปี 2544 บริษัทมีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้เป็นจำนวน 59.9 ล้านบาท และบริษัทฯ มีส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 2544

เป็นจำนวน 17.9 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทฯมีดอกเบี้ยจ่ายลดลงจำนวน 7.9 ล้านบาท และยังมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2544 เป็นจำนวน 9.1 ล้านบาท



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.