ตลท.ตัดสินหุ้นยูไนเต็ดเช้านี้


ผู้จัดการรายวัน(22 พฤษภาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

ผลการพิจารณาของ ทีมงานตลาดหลักทรัพย์วันนี้จะรู้ผลว่า หุ้นของบล.ยูไนเต็ดจะสามารถทำการซื้อขายต่อไปได้หรือไม่ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่ กับผลการตรวจสอบการซื้อขายในช่วงบ่ายวานนี้

ที่ทิ้งหุ้นกันต่อเนื่อง มีทั้งห้ามซื้อขายแบบหักกลบในวันเดียว หรืออาจถึงขั้นขึ้นเครื่องหมายห้ามซื้อขายแต่มีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะรอด แหล่งข่าวจากตลาดหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า วานนี้(21

พ.ค.)คณะกรรม การตลาดหลักทรัพย์มีมติอนุมัติมอบอำนาจให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เข้าตรวจสอบการซื้อขายหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ ยูไนเต็ด จำกัด

(มหาชน) หรือ US ทั้งนี้ ในช่วงเช้าตลาดหลักทรัพย์ได้มีการเข้าไปตรวจสอบปริมาณการซื้อ ขายของหุ้น US พบว่าปริมาณการซื้อขายยังไม่เข้าเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์จะดำเนินมาตรการ 3 มาตรการ

เพื่อระงับพฤติกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผิดปกติ อย่างไรก็ตาม ในช่วงบ่ายตลาด หลักทรัพย์มีการตรวจสอบและติดตาม การซื้อขายหุ้น US อย่างใกล้ชิด

ซึ่งหากพบว่าราคายังเคลื่อนไหวหวือหวาและปริมาณการซื้อขายเข้าข่ายที่จะใช้ 3 มาตรการในการกำกับดูแลการซื้อขาย หลักทรัพย์ที่ผิดปกติ ในวันนี้(22

พ.ค.)ทางตลาดหลักทรัพย์จะมีการประชุมเพื่อหารือกันถึงผลการซื้อขายหุ้น US ที่เกิดขึ้นในช่วงบ่ายวานนี้ หากมีสิ่งที่ผิดปกติเกิดขึ้นก็จะดำเนินการตามกฎระเบียบของตลาด หลักทรัพย์

ส่วนจะเป็นวิธีใดนั้นคงขึ้นอยู่กับ รูปแบบของการกระทำความผิด ซึ่งตลาดหลัก ทรัพย์มี 3 มาตรการกำกับดูแลการซื้อขายที่ผิดปกติประกอบด้วย มาตรการแรก

ตลาดหลักทรัพย์จะห้ามไม่ให้บริษัทสมาชิกส่งคำสั่งซื้อขายของลูกค้าราย ที่ตรวจสอบพบว่ามีพฤติกรรมทำให้การซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วันทำการ

มาตรการที่ 2 ตลาดหลักทรัพย์จะให้บริษัทสมาชิกห้ามลูกค้าทำการซื้อขายแบบหักกลบลบหนี้ภายในวันเดียว(Netsettlement) หรือการซื้อขายในลักษณะมาร์จิ้น

หรือการขายชอร์ตอย่างหนึ่งอย่างใดหรือประกอบกัน

โดยให้ซื้อขายด้วยวิธีเงินสดเป็นการชั่วคราว หากตรวจสอบพบว่ามีพฤติกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ทำให้เกิดสภาพผิดปกติในหลักทรัพย์นั้นๆ และมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อระบบการซื้อขายโดยรวม

ส่วนมาตรการที่ 3 หลังจากดำเนินการตามมาตรที่ 1 และ 2แล้วยังเห็นว่าสภาพการซื้อขายที่ผิดปกติ อาจก่อให้เกิดอันตรายรุนแรง ต่อระบบการซื้อขายแก่ตลาดหลักทรัพย์โดยรวม จะสั่งห้ามซื้อขายหลักทรัพย์นั้นเป็นการชั่วคราว (SP)

"ส่วนผลจะออกมาเป็นอย่างไรคงจะแจ้งให้นักลงทุนทราบก่อนที่จะเปิดตลาดภาคเช้า แต่ถ้าไม่มีสิ่งที่ผิดปกติก็จะสามารถซื้อขายหุ้น US ได้ตามปกติ"แหล่งข่าวกล่าว ขณะเดียวกันในวันที่ 24 พฤษภาคม

2545 จะเป็นวันที่กลุ่มพันธมิตรรายใหม่ต้องชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งถ้าดำเนินการเรียบร้อย คาดว่า หลังจากนั้นส่วนแบ่งการตลาดของบล.ยูไนเต็ดเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

สิ่งที่บล.ยูไนเต็ดไปดึงลูกค้าของโบรกเกอร์ อื่นเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น ถือว่าเป็นการสั่นสะเทือนวงการหลักทรัพย์ ทำให้โบรกเกอร์ที่เหลืออยู่จะต้องปรับตัว เพื่อรองรับการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้น

สำหรับราคาหุ้นบล.ยูไนเต็ดขณะนี้มีความเสี่ยง เนื่องจากราคาหุ้นเพิ่มขึ้นมามาก โดยบริษัทไม่แนะนำให้ลูกค้าเข้าไปซื้อขาย ส่วนลูกค้า ที่มีหุ้นบล.ยูไนเต็ด ก็แนะนำให้หาจังหวะขายทำกำไรออกไปก่อน

ทั้งนี้วานนี้นายกุลวัฒน์ เจนวัฒนวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บล.ยูไนเต็ด ได้แจ้งตลาด หลักทรัพย์ว่าบริษัทยังไม่มีความคืบหน้าหรือพัฒนาการใด นอกเหนือจากที่ได้แจ้งตลาด หลักทรัพย์

ในมติที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 8/2545 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2545 สำหรับหุ้น US วานนี้ปิดที่ 19 บาท ลดลง 0.70 บาทหรือลดลง 3.55% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 474.04 ล้านบาท อยู่ในอันดับ 2

หุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด ซึ่งในช่วงเช้าแม้ว่าจะมีข่าวลือออกมาว่าทางการอาจจะห้ามการซื้อขายใน ลักษณะซื้อขายหักกลบกันในวันเดียว

แต่ก็ไม่มีคำสั่งดังกล่าวออกมาทำให้ราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นไปทำจุดสูงสุดของวันที่ 20.40 บาท แต่ในช่วงบ่ายกระแสเรื่องการตรวจสอบของ US แรงขึ้นทุกขณะทำให้มีการทิ้งหุ้น US

ออกมาจนราคาหล่นมาที่ 18.60 บาท ก่อนที่จะกระเตื้องขึ้นไปปิดที่ 19 บาท นักวิเคราะห์กล่าวว่า โอกาสที่จะถูกทางการ ลงโทษนั้นคงเป็นไปได้น้อย เพราะการซื้อขายถือว่าเป็นไปตามหลักการปกติ

เว้นแต่จะมีรายใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทนี้เข้าทำการขายหุ้นตัวนี้ด้วย ซึ่งโดยวิธีการปฏิบัติแล้ว คงจะไม่กล้าใช้ชื่อของตนเองซื้อขายหุ้น

ซึ่งในระยะที่ผ่านมาเราได้เห็นแล้วว่ามีการใช้นอมินีหรือตัวแทนในการซื้อหุ้นของ US "เราไม่กล้าที่จะวิเคราะห์หุ้นตัวนี้ เพราะว่าราคาหุ้นเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานไปนานแล้ว

เช่นเดียวกันในแง่ทางเทคนิคหุ้นตัวนี้ก็มีราคาที่สูงเกินกว่าเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ ส่วนการที่มีแรงซื้อขายหุ้นตัวนี้มาก คงตอบยากว่าเพราะอะไร แต่ที่แน่ๆ คือเมื่อราคาหุ้นพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นักลงทุนรายย่อยชอบที่จะเข้ามาไล่ตาม" เจ้าหน้าที่การตลาดของโบรกเกอร์รายหนึ่ง กล่าวว่า "ไม่ใช่ว่าจะไม่ห้ามนักลงทุน แต่เมื่อเขาเป็นลูกค้า เมื่อเขาสั่งซื้อขายเราก็ต้องทำตาม

เพราะไม่อย่างนั้นเราก็จะเสียลูกค้าไป เพราะถ้าเราไม่ยอมทำคำสั่งซื้อขายให้เขา ถ้าเขาตั้งใจแล้วเขาก็ต้องไปหาคนอื่นให้ทำรายการให้อยู่ดี" ทางการน่าจะเข้ามาดูแลในเรื่องนี้ให้ดี ว่าเกิดขึ้นจากอะไร

จะเหมือนกับกรณีของหุ้นไทยธนาคารที่มีการไล่ราคากันอย่างมากในช่วงที่ผ่านมาหรือไม่



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.