ได้เปรียบ" SCCC ปรับโครงสร้างทางการเงินเสร็จ
บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) หรือปูนกลาง (SCCC) เป็นวิสาหกิจอีกรายหนึ่ง
ที่นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาซื้อกิจการพร้อมกับ ดำเนินการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้
และล่าสุดได้ปรับโครงสร้างทางการเงิน เรียบร้อยแล้วด้วย
โดยในส่วนของโครงสร้างหนี้นั้น บริษัทได้จัดการชำระหนี้ส่วนหนึ่งจำนวน 250
ล้านเหรียญไปแล้วในคราว ที่ได้เงินจากการออกหุ้นเพิ่มทุนขายให้ ผู้ถือหุ้นเดิม
และขายกิจการส่วนหนึ่งออกไป ส่วนหนี้ระยะยาว ที่เหลืออยู่ อีก 290 ล้านเหรียญนั้น
บริษัทจะทยอยชำระคืนเป็นรายไตรมาส รวมทั้งสิ้น 22 งวดหรือ 5 ปีครึ่ง เริ่มตั้งแต่
1 มี.ค. 2544 ถึง 1 มิ.ย. 2549
นอกจากนี้ บริษัทก็ยังได้ปรับโครงสร้างทางการเงินด้วยการจัดรีไฟ แนนซ์เงินกู้ใหม่จำนวน
200 ล้านเหรียญ และออกหุ้นกู้ไม่มีหลักประกัน และไม่ด้อยสิทธิไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท
อายุไม่เกิน 6 ปีเสนอขายนักลงทุนประเภทสถาบันหรือนักลงทุนในวงจำกัด
ทั้งนี้ปรากฏว่าการระดมเงินกู้ใหม่ของบริษัทได้รับความสนับสนุนจากสถาบันการเงินเป็นอย่างดี
โดยสามารถระดมเงินกู้จากธนาคารต่างประเทศได้ถึง 240 ล้านเหรียญ และความสำเร็จครั้งนี้
ถือเป็นครั้งแรกนับแต่เกิดวิกฤติเอเชียขึ้นมา ที่มีการให้เงินกู้ร่วม ที่มีระยะเวลาชำระคืนนานถึง
5 ปีแก่ บริษัทเอกชนในประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้การให้เงินกู้ร่วมจะเป็นระยะเวลา
2 ปีเท่านั้น และเงินกู้ดังกล่าวจะทำให้เกิดมาตรฐานใหม่สำหรับการ ระดมเงินทุนระยะยาวของบริษัทเอกชนของไทยในอนาคต
อย่างไรก็ดี เมื่อมีการเซ็นสัญญากู้เงินนั้น ปรากฏว่าบริษัทเซ็นกู้ไปเป็นจำนวน
150 ล้านเหรียญเท่านั้น
ในด้านการออกหุ้นกู้นั้น บริษัทก็ได้รับความสำเร็จอย่างดีในการออกหุ้นกู้ล็อตแรกจำนวน
5,000 ล้านบาทด้วยอัตราดอกเบี้ย 7.625% ต่อปี
ส่วนกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่คือ กลุ่ม Holderbank ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาเป็นกรรมการบริษัท
4 คน(จากจำนวนเต็ม 10) และเป็นกรรมการในคณะผู้บริหารบริษัท 4 คน(จำนวนเต็ม
7 คน) โดยคุม 4 สายงานหลักคือ มร. พอล เฮนซ์ ฮูเกนโทเบลอร์เป็นประธานคณะผู้บริหาร,
มร.วินเซนต์ บิเชต์ รองประธานบริหารดูแลธุรกิจปูนซีเมนต์ และคอนกรีต, มร.เบียต
มาลา การ์เน รองประธานอาวุโส ดูแลการเงิน และการจัดการ และมร.ฟีลิกซ์ เฮอคเนอร์
รองประธานอาวุโส ดูแลข้อมูล และระบบเทคโนโลยี
หลังจาก ที่กลุ่ม Holderbank ได้เข้ามาซื้อหุ้นสามัญของปูนกลางสำเร็จในปีที่แล้ว
ก็ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงทิศทางการทำธุรกิจโดยเน้นเรื่องการส่งออกด้วยการอาศัยเครือข่ายของกลุ่ม
Holder-bank ส่งสินค้าปูนเข้าไปในตลาดแอฟริกาตะวันตก และสหรัฐฯได้สำเร็จ
ยอดการส่งออกของปูนกลางคงอยู่ใกล้เคียงกับระดับในปีก่อนหน้าคือ ประมาณ 3.4
ล้านตัน ลดลงร้อยละ 7% เมื่อเทียบกับปี 2540 แม้ว่ายอดการส่งออกปูนซีเมนต์โดยรวมของประเทศจะเพิ่มขึ้นในปี
2541 สาเหตุสำคัญมาจากความต้องการของตลาดในประเทศหดตัวลงอย่างมากดัง ที่กล่าวมาแล้ว
ปริมาณ ปูนซีเมนต์ และปูนเม็ดในประเทศจึงเหลือมาก ทำให้มีการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศกันมาก
ยอดรวมการส่งออกทั้งหมดสูงถึง 9.6 ล้านตันหรือเพิ่มขึ้น จากปี 2540 ถึงร้อยละ
77
การที่ปริมาณความต้องการปูนในประเทศลดต่ำลงมาก และมีการคาดหมายว่าจะตกต่ำต่อเนื่องไปอีกหลายปี
ผู้เชี่ยวชาญในวงการปูนให้ความเห็นไว้ว่า อัตราการบริโภคปูนในประเทศเคยสูงถึงปีละ
38 ล้านตัน แต่ใน ปี 2541 ลดลงเหลือเพียง 20 ล้านตันเท่านั้น ซึ่งกว่า ที่อัตราการบริโภค
จะกลับมาในระดับเดิมได้นั้น คาดว่าต้องใช้เวลาถึง 10 ปีได้ "ดีมานด์ในภาคเอกชน
ที่ค้างคาอยู่ตอนนี้ กว่าจะทำให้เต็มได้ก็คงใช้เวลาสัก 2-3 ปี ภาค รัฐแม้จะเพิ่มขึ้นก็ยังใช้เวลาอีก
3 ปีได้"
สถานการณ์เช่นนี้ทำให้บริษัทผู้ผลิตปูนหันมาดำเนินการส่งออกกันอย่างขนานใหญ่
ปูนกลางในปีนี้ก็ใช้นโยบายเช่นนี้ด้วย โดยมีเป้าหมาย ที่จะส่งออกในปีนี้ถึง
4.5 ล้านตัน และตลาดส่งออก ที่สำคัญคือ สหรัฐฯ โดยในปีนี้บริษัทก็ได้รับออร์เดอร์จากบริษัท
trading firm ในเครือ Holderbank แล้วจำนวน 1.3 ล้านตัน
ทั้งนี้กลุ่ม Holderbank ต้องการให้ปูนกลางเป็นผู้นำการส่งออกปูนในภูมิภาคนี้ด้วย
และกลุ่มต้องการใช้ไทยเป็นฐานขยายธุรกิจใน Asia&Oceania
กิจกรรมของ Holderbank ในเอเชียมีไม่มากนัก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้น
บริษัท มียอดขายเพียง 3% ของยอดขายรวมของบริษัทเท่านั้น บริษัทมีธุรกิจในออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และศรีลังกามานานถึง 10 ปีแล้ว แต่ไม่มีโอกาสเหมาะ
ที่จะขยายเข้ามาในตลาดอาเซียน
อย่างไรก็ดี สถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำในภูมิภาคนี้เปิดโอกาสที่ดีอย่างมากๆ
แก่กลุ่มในการที่จะขยายกิจการเข้ามาด้วยการซื้อโรงปูนในภูมิภาคนี้ อย่างเช่น
ที่ซื้อปูนกลางเป็นต้น นอกจากนี้บริษัทยังได้ไปตั้งโรงปูนทางตอนใต้ของเวียดนาม
และสามารถผลิตปูนขายในโฮจิมินห์ได้ถึง 1.8 ล้านตัน
แล้วในปีที่ผ่านมา บริษัท ที่ลงทุนโรงปูนในเวียดนามใช้ชื่อว่า Morning Star
Cement มีส่วนแบ่งการตลาดปูนในเวียดนามอยู่ 15% และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 40%
ส่วนกิจการปูนในฟิลิปปินส์นั้น ปรากฏว่าดีมานด์ปูนในประเทศหดตัวลงมากเช่นกันในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำของภูมิภาคนี้
และมีการแข่งขันกันสูงมาก โดยเฉพาะจากนักลงทุนต่างชาติในฟิลิปปินส์ ดังนั้น
Holderbank จึง ใช้กลยุทธ์จับมือเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม Phinma ซึ่งเป็นผู้นำตลาดในฟิลิปปินส์
และยังลงทุน 40% ในบริษัท ที่ร่วมกันตั้งขึ้นใหม่ชื่อ Union Cement Corporation
ขณะเดียวกัน บริษัท Alsons Cement Corporation ซึ่งเป็นบริษัทผลิตซีเมนต์ของ
Holderbank เองในฟิลิปปินส์ก็มีกำลังการผลิตปูนปีละ 8 ล้านตัน และครองส่วนแบ่งการตลาด
45% ในฟิลิปปินส์
ส่วนในไทยนั้น โอกาสที่ดีของ Holderbank เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของปูนกลางคือ
ตระกูลรัตนรักษ์ต้องการเงินสดไปเสริมสถานะของกิจ การธนาคารกรุงศรีอยุธยาจึงขายหุ้นให้
Holderbank ทั้งนี้ปูนกลางเป็นผู้ ผลิตปูนรายใหญ่เป็นอันดับสองในไทย มีส่วนแบ่งการตลาด
25% มีโรงปูน ที่มีกระบวนการผลิต ที่ทันสมัยมีกำลังการผลิตรวม 12 ล้านตัน
เมื่อพิจารณาราคา ที่ Holderbank เข้ามาซื้อปูนกลางครั้งนี้ นับว่าได้ประโยชน์มาก
กล่าวคือ เป็นราคา ที่เหมาะสม เพราะใช้เม็ดเงินประมาณ 160 ล้านเหรียญ ได้กำลังการผลิตถึง
12 ล้านตัน(3 โรง) ขณะที่การลงทุนสร้างโรงปูนใหม่สัก 1 โรงนั้น ต้องใช้เม็ดเงินประมาณ
120-200 ล้าน เหรียญ และหากเป็นโรงปูน ที่มีกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีระดับสูง
และมีมาตรฐานเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ต้องใช้เงินลงทุนถึงโรงละ 180-300 ล้านเหรียญโดยมีกำลังการผลิตเพียง
1.5 ล้านตัน