แนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ปี 45 : ขยายตัว 100%


ผู้จัดการรายวัน(21 พฤษภาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

สืบเนื่องจากการยกเลิกกฎเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดรายได้ขั้นต่ำ ลูกค้าบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ จากเดิมกำหนดที่ 15,000 บาท อย่างต่ำของรายได้ต่อเดือน

เป็นอนุญาตแต่ละธนาคารกำหนดราย ได้ขั้นต่ำเอง โดยพิจารณาจากสถานะ และความเหมาะสมแต่ละธนาคาร จุดประสงค์หลักแง่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมแข่งขันเสรีตลาดบัตรเครดิต และเร่งเพิ่มประสิทธิภาพให้บริการลูกค้า เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและเศรษฐกิจโดยรวม ใช้จำนวนใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตกระตุ้นเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังลดเงินผ่อนส่งขั้นต่ำ จาก

เดิมไม่น้อยกว่า 10% ยอดคงค้าง เป็นอย่างน้อย 5% ของยอดดังกล่าว ขณะที่การกำหนด อายุขั้นต่ำถือบัตรเครดิตลดจากเดิม 22 ปี เป็น 20 ปี ปลายปี 2543 ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับลดรายได้ขั้นต่ำผู้ถือบัตรเครดิตครั้งหนึ่ง จากเดิม 20,000 บาทต่อเดือน เป็น 15,000 บาท การสมัครเป็นผู้ถือบัตรเครดิต ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินผลต่อการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ดังนี้ :

ธนาคารพาณิชย์จะมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น จากเดิมไม่สามารถขยายไปลูกค้ารายย่อยที่รายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ฐานลูกค้าที่กว้างขึ้นดังกล่าว จะทำให้รายได้ ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกิจบัตรเครดิตโอกาสเพิ่มขึ้น แม้ภายใต้การแข่งขันสูงขึ้นด้วยก็ตาม ' เช่นเดียวกับเมื่อครั้งธนาคารแห่งประเทศไทยลดรายได้ขั้นต่ำจาก 20,000 บาทต่อเดือน มา 15,000 บาท

ปลายปี 2543 ข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวนบัตรเครดิตในระบบเพิ่มขึ้นจาก 1,765,640 บัตรปี 2543 เป็น 2,567,961 บัตรปี 2544 เพิ่มขึ้นประมาณ 45.44% ' ทำให้รายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ปริมาณเพิ่มขึ้น จาก 5,261 ล้านบาทปี 2543 เป็น 6,379 ล้านบาทปี 2544 เพิ่มขึ้นประมาณ 21.25%

เทียบกับรายได้จากค่าธรรมเนียม และบริการบัตรเครดิตธนาคาร ที่ 5,156 ล้านบาทเท่านั้น ปี 2542 ' การดำเนินการธนาคารพาณิชย์ได้รับการผ่อนปรนจากธนาคารแห่งประเทศไทย แข่งขันกับผู้ให้บริการรายอื่นได้ เช่น อิออน ธนสินทรัพย์ จีอี แคปปิตอล เอไอจี ฯลฯ ที่ครองส่วนแบ่งฐานตลาดลูกค้ารายย่อยมาก ที่สุดปัจจุบัน '

อย่างไรก็ตามแม้ธนาคารพาณิชย์อาจได้เปรียบหลายอย่างการแข่งขันในแง่ต้นทุนต่ำกว่า ประกอบกับความเชื่อถือลูกค้า ต่อธนาคาร ที่มากกว่าบริษัทเอกชน หรือกู้นอกระบบอื่นๆ ด้วยการมีเครือข่ายกว้างขวาง ให้บริการลูกค้าผ่านสาขาต่างๆ แต่กลุ่ม ลูกค้าเป้าหมาย ยังอาจแตกต่างกัน ' ขึ้นกับนโยบายธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง ว่าจะลงไปจับธุรกิจระดับดังกล่าว หรือไม่ น

แต่โดยรวม ถือว่า มาตรการผ่อนปรนดังกล่าวของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำ ให้ฐานตลาดบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ขยายกว้างขึ้น จะนำมาสู่ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นได้ ' การปรับตัวธนาคารพาณิชย์

ที่ต่างมีกลยุทธ์ทำตลาดในภาวะแข่งขันรุนแรงขึ้น ในการที่ผู้ออกบัตรทุกราย มีโอกาสเท่าเทียม กันในการได้ส่วนแบ่งตลาดนี้ การแข่งขันเสรีนี่เอง ที่จะเป็นประโยชน์ทางอ้อมต่อลูกค้า ในแง่คุณภาพสินค้า

ธนาคารพาณิชย์เริ่มสนใจธุรกิจนี้จริง จังมากขึ้น ด้วยหวังเป็นช่องทางหนึ่งหารายได้ เข้าธนาคาร ซึ่งรายได้หลักธนาคารการดำเนิน ธุรกิจนี้ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าธรรมเนียมรายปี ค่าธรรมเนียมจากร้านค้า ค่าธรรมเนียมเบิกเงินสดล่วงหน้า ดอกเบี้ย และค่าปรับผิดนัดชำระ ขณะที่ธนาคารจะต้องลงทุนทำระบบข้อมูลสารสนเทศลูกค้า โฆษณา และการตลาด ตลอดจนค่าใช้จ่ายบุคลากรที่จะให้บริการดังกล่าวผลต่อลูกค้าบัตรเครดิต

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินได้ดังนี้ : ลูกค้ามีสินค้าหลากหลายในตลาดให้เลือกมากขึ้น จากภาวะที่ลูกค้ามีอำนาจต่อ

รองมากขึ้น สามารถเลือกผู้ออกบัตรเครดิตตรงความต้องการมากที่สุด ซึ่งอนาคต เราอาจเห็นผู้ถือบัตรยกเลิกบัตรบ่อยครั้งขึ้น เกิด จากการมีข้อเสนอจากบริษัทอื่นน่าสนใจกว่า

อย่างไรก็ตาม คาดว่าผู้ออกบัตรแต่ละรายต้องหามาตรการรักษาลูกค้าของตน เพราะการหาลูกค้าใหม่ เสียค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาก 'ลูกค้าจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น จากการ ใช้บัตรเครดิต ที่เปรียบเสมือนได้สินเชื่อบุคคลง่าย และสะดวกขึ้น แทนการใช้เงินสด โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่รายได้เพิ่งสามารถถือ บัตรเครดิต จะซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่มาก ขึ้น จากอดีตไม่สามารถทำได้ง่าย

ข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย การลดรายได้ขั้นต่ำจาก 20,000 บาทต่อเดือน เป็น 15,000 บาท มีส่วนทำให้ปริมาณใช้จ่าย ผ่านบัตรในระบบเพิ่มจาก 106,500.19 ล้านบาทปี 2543 เป็น 144,416.43 ล้านบาทปี 2544 ตัวเลขดังกล่าวไม่ไปทิศทางเดียวกับปริมาณใช้จ่าย/บัตร/ปี ซึ่งลดลง จาก 60,300 บาทปี 2543 มา 56,200 บาทปี 2544

เนื่องจากจำนวนบัตรออกใหม่ขยายตัวอัตราเร่งมากกว่าปริมาณใช้จ่าย ' ข้อกำหนดเปลี่ยนไป ในการที่ลูกค้า ผ่อนส่งต่อเดือนน้อยลง จากขั้นต่ำ 10% มา 5% หมายถึง สร้างความยืดหยุ่นบริหารเงินลูกค้ามากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า แม้วธนาคาร พาณิชย์โอกาสธุรกิจเพิ่มขึ้น จากการผ่อนปรนของธนาคารแห่งประเทศไทย

แต่การบริหารจัดการความเสี่ยงปล่อยสินเชื่อยังคงสำคัญ เพราะจากประสบการณ์ในอดีต ที่ระบบท่วมด้วยหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ธนาคารพาณิชย์ต้องหันกลับมามอง แต่ละธนาคารแนวโน้มกำหนดรายได้ขั้นต่ำตามความเหมาะสม จากการชั่งน้ำหนักความเสี่ยง ต้นทุน และฐานรายได้ ที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นด้วย การวิเคราะห์ทางตลาด วิธีลดความเสี่ยง ได้แก่

กำหนดเพดานกำหนดวงเงินทำสินเชื่อ ให้อยู่ระดับต่ำ กำหนดอายุขั้นต่ำ หรือกำหนด อาชีพที่มั่นคง ธนาคารพาณิชย์อาจพิจารณาข้อมูลประวัติการใช้สินเชื่อลูกค้าศูนย์ข้อมูลเครดิต กลาง (Credit

Bureau) เพื่อความรอบ คอบด้วย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า หากเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง และอัตราว่างงานลดลง ปัญหา NPL บัตรเครดิตจะมีแนวโน้ม ลดลงตาม

แนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ปี 45 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า นอกจากผ่อนปรนกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และการแข่งขันระหว่างผู้ออกบัตรเครดิตต่างๆ

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่อัตราว่างงานปรับลดลง จะเป็นปัจจัยหนุนการขยายตัวธุรกิจบัตรเครดิตอย่างดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า

ธุรกิจบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์จะโตขึ้นประมาณ 100% ดังตาราง อย่างไรก็ตาม การขยายตัวดังกล่าวจะมีคุณภาพ และยั่งยืนเพียงใดขึ้นกับการบริหารจัดการความเสี่ยงธนาคารพาณิชย์ นอกจากความแข็งแกร่งการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญธุรกิจบัตรเครดิต

สรุป การผ่อนคลายกฎเกณฑ์ให้บริการบัตรเครดิตธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเพิ่ม

โอกาสการตลาดการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ จะเปิดโอกาสธนาคารพาณิชย์เสรีแข่งขันตลาดบัตรเครดิตกับบริษัทเอกชนราย อื่น เพิ่มรายได้ให้ธนาคาร ประกอบกับฐานลูกค้ามากขึ้น

และเครือข่ายกว้างขวางของธนาคารพาณิชย์อำนวยความสะดวกผู้ถือบัตร นอกจากนี้ ภาวะฟื้นตัวเศรษฐกิจ และแนวโน้มการลดลงอัตราว่างงาน จะทำให้ผู้ออกบัตรเครดิตไม่เผชิญความเสี่ยงจากปัญหาหนี้เสีย ตราบที่ผู้ออกบัตรบริหารจัดการดีและรัดกุม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า ธุรกิจบัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์อาจเติบโตประมาณ 100%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดตัวเลขจำนวน บัตรเครดิตปี 2545 ประมาณ 5 ล้านบัตร จากปี 2544 ที่มี 2,567,961 บัตร และยอดใช้จ่ายผ่านบัตร ที่คาดที่ประมาณ 275,000 ล้านบาทปี 2545 จาก 144,416.43 ล้านบาทปี 2544 การเติบโตดังกล่าว เกิดจากการขยาย ฐานลูกค้าที่มากขึ้นของธนาคารพาณิชย์ สำหรับธนาคารพาณิชย์ นอกจากขยาย ส่วนแบ่งตลาด กลยุทธ์หลักดำเนินธุรกิจ จะได้แก่

การส่งเสริมจูงใจลูกค้าใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น ประกอบกับรักษาฐานลูกค้าเดิม ให้เหนียวแน่น ตลอดจนจัดการคุณภาพและความเสี่ยงสินเชื่อบัตรเครดิต ภายใต้การ บริหาร จัดการรัดกุม และการขยายการตลาด ที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ธนาคารพาณิชย์มีรายได้จากธุรกิจดังกล่าวเพิ่มขึ้นปีนี้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.