กรุงไทยบุกบัตรเครดิตนศ.


ผู้จัดการรายวัน(20 พฤษภาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

เอ็มดีบัตรกรุงไทยเผยเบื้องลึกของจิตใจ อย่ามองธุรกิจบัตรเครดิตเป็นซาตานแต่ เป็นบริการหนึ่งของสินเชื่บุคคลที่ลูกค้าเลือกใช้เงินในอนาคตมาสร้างชีวิตให้ดีขึ้น กระตุ้นการใช้จ่าย

ระบุกลุ่มนักศึกษาจบใหม่รายได้เฉลี่ยจะอยู่ที่ 7,500 บาทต่อเดือน พร้อมบุกลูกค้าไม่มีรายได้ประจำแต่ มีศักยภาพที่จะชำระหนี้ นายนิวัตต์ จิตตาลาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด

เปิดเผยว่าการที่บริษัทลดฐานรายได้ผู้ถือบัตรลงมาเหลือ 7,500 บาทต่อเดือน จะส่งผลให้ธนาคารสามารถออกเงื่อนไขผู้มีรายได้ขั้นต่ำ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการกำหนดเกณท์ขั้นต่ำ ดังกล่าว

เนื่องจากทางบริษัทประเมินจากนักศึกษาที่จบใหม่ในระดับปริญญาตรีจะมีรายได้ประจำขั้นต่ำ ประมาณ 7,500 บาทต่อเดือนซึ่งจะช่วย ให้กลุ่มลูกค้า ดังกล่าวสามารถถือบัตรเครดิตได้

"จากที่บริษัทออกเกณท์ 7,500 บาทต่อดือนสามารถมาขอถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงไทยได้ในช่วงที่ผ่านมาโดยในแต่ละวันมีประมาณ 8,000-10,000 ราย" นายนิวัตต์กล่าว

นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้ประจำขั้นต่ำ 7,500

พันบาทต่อเดือนแล้วธนาคารยังให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพในการชำระหนี้คืนได้ ถึงแม้ว่าลูกค้ารายดังกล่าวจะไม่ได้มีอาชีพ ที่สะท้อนให้เห็นว่ามีรายได้ประจำ

เช่นกรณีมีอาชีพเป็นแม่บ้านแต่มีสามีเป็นนายแพทย์และเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายทุกอย่างภายในบ้านประมาณ 100,000บาทต่อเดือนก็สามารถที่จะเป็น

ผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคารได้ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของทางการ

"ที่ผ่านมาระบบสินเชื่อบุคคลของประชาชนไทยค่อนข้างถูกละเลยไม่ได้รับความสนใจส่งผลทำให้ชีวิตโดยทั่วไปของประชาชนไม่ดีเท่าที่ควร

ประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้นกลับต้องดิ้นรนไปหาสินเชื่อจากตลาดมืดที่มีดอกเบี้ยแพงมหาศาล 20-50% แต่หลังจากที่รัฐบาลโดยกระทรวง

การคลังและธปท.เห็นด้วยที่ประชาชนมีโอกาสที่จะใช้สินเชื่อบุคคลผ่านสถาบันการเงินมากขึ้นเพื่อที่ประชาชนไม่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยแพงนอกระบบ

และการที่ธปท.ยกเลิกเพดานขั้นต่ำถือว่าเป็นการกระตุ้นให้มีสินเชื่อบุคคลเพิ่มขึ้น เพราะบัตรเครดิตถือเป็นสินเชื่อบุคคลประเภทหนึ่ง" นายนิวัตต์ กล่าว ในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น

สิงคโปร์ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของครอบครัวมีสูงเฉลี่ย 300% ขณะที่มีรายได้ประจำ 100% เท่านั้นเทียบกับประเทศไทยปัจจุบันแต่ละครอบครัวมียอด การใช้จ่ายจากสินเชื่อเพียง 50%

ขณะที่มีรายได้ประจำ 100% "ประเทศที่เจริญเหล่านั้นมองว่าสินเชื่อบุคคลมีความสำคัญในการที่จะสร้างให้วิถีชีวิตของประชาชนดีขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งเงินนอกระบบที่มีต้นทุนแพงกว่า ดังนั้น

ถ้าประเทศไทยต้องการให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น ก็ควรต้องให้ความสำคัญกับสินเชื่อบุคคลมากขึ้น ซึ่งประเทศที่พัฒนาเหล่านี้มองว่าการจะสร้างชีวิตให้ดีขึ้นก็อาจต้องพึ่งเงินในอนาคตซึ่งก็คือสินเชื่อ

ถ้ามัวแต่จะเริ่มเก็บสะสม เพื่อทำให้อนาคตดีขึ้นก็คงต้องใช้ระยะเวลานาน ชีวิตของประชาชนเหล่านั้นคงต้องลำบากต่อไป " สำหรับเป้าหมายปีนี้ จะเพิ่มบัตรเครดิตเป็น 5 แสนบัตรอย่างแน่นอน

และคาดว่าในสิ้นปีหน้าทางบริษัทน่าจะขยายฐานบัตรเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านบัตร ได้เช่นกันซึ่งถ้าเป็นไปตามเป้าหมายภายในปีนี้บริษัทจะมีฐานบัตรเครดิตมากที่สุดในประเทศไทย สิ้นไตรมาสแรกปี45

ฐานบัตรของบริษัทเกือบ 3 แสน บัตร โดยต้นเดือนม.ค.เป็นต้นมา ฐานบัตรมีการขยายตัวค่อนข้างมาก เฉลี่ยเดือนละ 30,000-40,000 บัตรต่อเดือน ส่วนยอดใช้จ่ายผ่านบัตรของธนาคาร ณ สิ้นไตรมาส 1

ของปีนี้ อยู่ที่ 5.3 พันบาทต่อรายต่อเดือน และภายหลังจากการใช้โปรโมชั่น กระตุ้นคาดว่าจะทำให้ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของระบบ ด้านยอดการชำระหนี้ของลูกค้าประมาณ 30%

จะเป็นการทยอยชำระหนี้ 10% อีก 70% ที่เหลือเป็นการจ่ายชำระทั้งหมด ไม่ห่วงความเสี่ยง มั่นใจระบบตรวจสอบ นายนิวัตต์

กล่าวการลดฐานรายได้ผู้ถือบัตรคงไม่ได้ส่งผลในเรื่องของความเสี่ยงต่อบริษัท เนื่องจากบริษัทมีข้อมูลของลูกค้าค่อนข้างมากในการที่จะตรวจสอบได้ว่าลูกค้ากลุ่มใดมีความเสี่ยงมากน้อยขนาดไหน

ขณะที่ในปัจจุบันระบบการให้เครดิตของสถาบันการเงินก็มีการจัดตั้งเครดิตบูโรขึ้นมา

ซึ่งภายหลังจากที่ลูกค้าส่งหลักฐานขอบัตรเครดิตแล้วทางบริษัทก็สามารถตรวจสอบลูกค้าว่ามีประวัติเป็นอย่างไรบ้าง และล่าสุดสามารถตรวจสอบได้ทั้งทางที่ดีและไม่ดีของลูกค้าก่อนอนุมัติ

มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมด้านวงเงินให้กับลูกค้าได้ตามศักยภาพที่จะชำระได้ ซึ่งเชื่อว่าจากที่มีเครดิตบูโรดังกล่าว จะทำให้ลูกค้าผู้ถือบัตรไม่ผิดวินัยชำระหนี้

ไม่เช่นนั้นลูกหนี้สร้างประวัติไม่ดีเอาไว้จะไม่สามารถที่จะขอสินเชื่อประเภทอื่น ๆจากสถาบันการเงินได้อีกหรือได้ก็จะถูกชาร์จดอกเบี้ยที่แพงกว่าปกติเพราะถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

"ไม่อยากให้ทุกคนมองว่าบัตรเครดิตเป็นเรื่องของซาตานว่าจะเป็นผู้ทำให้ระบบการใช้จ่ายเกิดการฟุ่มเฟือย หรือจะเกิดการสร้างหนี้เสียให้กับระบบควรจะมองว่าบัตรเครดิต ก็คือสินเชื่อบุคคลประเภทหนึ่งที่ประชาชนเอาเงินอนาคตมาสร้างทำให้ชีวิตดีขึ้นไม่ใช่เป็นการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยที่จะทำให้ระบบมีภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้น แต่ในทางกลับกันถ้าเราให้ความสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการกระตุ้นใช้จ่ายในประเทศ

หากมีการบริโภคเพิ่มขึ้น จะเกิดการจ้างงานมากขึ้นแทนที่เราจะหวังการส่งออกกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว"



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.