องค์กรจัดซื้อโชวห่วย จุดอ่อนเพียบแนะดึงยี่ปั๊วกระจายสินค้า


ผู้จัดการรายวัน(20 พฤษภาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

"ตั้งฮั่วเส็ง" วิพากษ์องค์กรจัดซื้อสินค้าโชวห่วยรัฐบาลจุดอ่อนเพียบ ไม่มีผู้รับผิดชอบการกระจายสินค้าที่เป็นต้นทุนหลัก แนะควรใช้ยี่ปั๊วในพื้นที่ทั่วประเทศที่มีรถขนส่งอยู่แล้ว เพื่อลดการส่งทุนของภาครัฐ

ชี้ให้สหกรณ์ จังหวัดขนส่งไม่เวิร์ก พร้อมหาผู้เชี่ยวชาญในวงการค้าปลีกมา บริหาร เนื่องด้วยมีความรู้ด้านการต่อรองซื้อสินค้าแข่งดิสเคานต์สโตร์ นายวิโรจน์ จุนประทีปทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่

บริษัท สรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง จำกัดและอดีตประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน" ว่า การจัดตั้งองค์กรมหาชน

หรือองค์กรจัดซื้อสินค้าจากซัปพลายเออร์ของกระทรวงพาณิชย์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาค้าปลีกนั้น รูปแบบการจัดตั้งและแนวทางในการบริหารงานถือว่ายังมีจุดอ่อนหลายประการ

เริ่มด้วยปัญหาการขนส่งสินค้า ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของธุรกิจค้าปลีกรายเล็ก และดูเหมือนแนวทางช่วยเหลือโชวห่วย ของนายเนวิน ชิดชอบ

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จะไม่ได้พูดถึงเรื่องดังกล่าว ปัจจุบันต้องยอมรับว่าการขนส่ง สินค้าเป็นเรื่องที่มีต้นทุนสูง

และภาครัฐเองยังไม่มีการวางมาตรการใดๆที่ชัดเจนเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าจากซัปพลายเออร์ไปให้ยังร้านโชวห่วย สำหรับงบประมาณที่ภาครัฐเตรียมจัดสรรมาใช้ในการจัดตั้ง

องค์กรซื้อสินค้าให้ร้านโชวห่วยจำนวน 300-400 ล้านบาทนั้น ถือว่าเพียงพอสำหรับการวางระบบคอมพิเตอร์ในการ สั่งซื้อสินค้าเท่านั้น

หากรัฐจะรับผิดชอบด้านการขนส่งเองก็จะต้องมีการลงทุนเรื่องหน่วยรถส่งอีกจำนวนมหาศาล ทั้งนี้จะเห็นได้ว่ากระบวนการจัดตั้งองค์กรซื้อสินค้าจากซัปพลาย-เออร์ของรัฐบาล

ไม่มีการนำยี่ปั๊วที่เป็นตัวแทนการซื้อและการกระจายสินค้าในระบบดั้งเดิมเข้ามาเกี่ยวข้องในระบบด้วย ซึ่งถือเป็นที่น่าเสียดาย

เพราะกลุ่มยี่ปั๊วที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นกลุ่มที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อและกระจายสินค้าเป็นอย่าง มาก จากการที่ดำเนินธุรกิจดังกล่าวมาเป็นระยะเวลา นาน

และเป็นกลุ่มที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศแล้ว ดังนั้น ภาครัฐน่าจะใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของยี่ปั๊วมาช่วยเรื่องการกระจายสินค้าให้ และยังถือ

เป็นการช่วยยี่ปั๊วให้มีอาชีพทำต่อไปท่ามการยุคการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจค้าปลีก นายวิโรจน์กล่าวต่อว่าสำหรับแนวคิดของภาครัฐที่ต้องการให้สหกรณ์ชุมชนที่มีอยู่แล้วในจังหวัดต่างๆ

มารับผิดชอบการกระจายสินค้าให้นั้น น่าจะเกิด ปัญหาขึ้นในอนาคต เพราะจะต้องมีการลงทุนในเรื่อง ของหน่วยรถขนส่งทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่ มหาศาลมาก

แต่หากจะให้ร้านโชวห่วยเดินทางมารับ สินค้าจากร้านสหกรณ์จังหวัดที่จะจัดตั้งเป็นศูนย์กระจายสินค้า 4 จุดใน 1 จังหวัดนั้น

อาจจะสร้างความลำบากให้ร้านโชวห่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและไม่สามารถเดินทางเข้ามารับสินค้าที่สหกรณ์ได้ ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอีกประการ คือทีมงานที่

จะมาบริหารบริษัทจัดซื้อที่ภาครัฐจะจัดตั้งขึ้น จะต้อง เป็นทีมงานในระดับมืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดซื้อ โดยจะต้องมีความรู้ด้านการต่อรองราคาสินค้า คือ เมื่อสั่งซื้อสินค้าด้วยจำนวนหนึ่ง

ราคาขายจากซัปพลายเออร์ควรจะเป็นเท่าใด ซึ่งในส่วนนี้ผู้ที่จะมารับผิดชอบจะต้องมีความสามารถในการต่อ รอง และสมควรจะรู้ว่าราคาขายที่ซัปพลายเออร์ขาย

ให้กับดิสเคาน์สโสตร์มีราคาเป็นอย่างไรด้วย เพื่อนำ มาเปรียบเทียบกับราคาที่บริษัทจัดซื้อของโชวห่วยซื้อ จากซัปพลายเออร์ เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน

ตรงนี้หากให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการมาดูแลก็คงไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทราบ ถึงกลยุทธ์ด้านการต่อรองราคาสินค้า ซึ่งจะทำให้ร้านโชวห่วยเองเสียประโยชน์ไปด้วย

นอกจากนี้ผู้บริหารบริษัทจัดซื้อสินค้าจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับตัวสินค้าอย่างละเอียดว่าสินค้ากลุ่ม ใดเป็นสินค้าที่ทำยอดขายหลักให้กับร้านค้า เพราะปัจจุบันสินค้าของซัปพลายเออร์จาก 100 รายการ

จะมีเพียง 20 รายการเท่านั้นที่ยอดขายให้ 80% ส่วน อีก 80 รายการที่เหลือ จะทำยอดขายได้เพียง 20% เท่านั้น ในส่วนนี้ผู้บริหารบรษัทจัดซื้อสินค้าเองจะต้อง

ส่งซื้อสินค้าให้ได้ตรงกับความต้องการของร้านค้าด้วย เพราะหากสั่งซื้อสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของร้านค้าแล้วและไม่สามารถจำหน่ายได้ก็จะเป็นภาระที่ ทั้งบริษัทจัดซื้อ

และร้านค้าจะต้องแบกรับภาระด้านสต็อกสินค้าร่วมกัน จากแนวคิดของนายเนวิน ที่ตั้งเป้าหมายจะให้ บริษัทจัดซื้อสินค้ามีการซื้อสินค้าประมาณ 10,000 รายการนั้น

เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยากเพราะจะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียน เป็นจำนวนมาก และไม่เชื่อว่าสินค้า ทั้ง 10,000 รายการจะเป็นสินค้าที่ร้านโชวห่วยจะขาย ได้ สำหรับรูปแบบของร้านโชวห่วยในประเทศไทยเอง

น่าจะจำหน่ายสินค้าเพียง 500 รายการเท่านั้น ดังนั้น บริษัทจัดซื้อก็ควรมีการสั่งซื้อสินค้าเพียง 2,000-3,000 รายการ เพราะในแต่ละท้องถิ่นอาจจะมีความต้องการซื้อสินค้าไปจำหน่ายแตกต่างกัน ในปี

2544 ธุรกิจโมเดิร์น เทรด มีจำนวนสาขา ร้านค้าทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นดิสเคานต์สโตร์ ศูนย์ การค้า ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต คอนวีเนียนสโตร์ รวมกันประมาณ 4,425 แห่ง คิดเป็นมูลค่า

ประมาณ 290,000 ล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาด 54% ของภาพรวมค้าปลีกในไทย สำหรับโชวห่วยซึ่งเป็นค้าปลีกดั้งเดิมของคนไทย มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 250,000 แห่ง คิดเป็นรายได้ มูลค่า 240,000

ล้านบาท หรือมีส่วนแบ่งการตลาด ประมาณ46% ส่วนในปี 2545 คาดว่า ธุรกิจโมเดิร์นเทรด จะมีการขยายสาขาทุกประเภทรวมกัน เพิ่มขึ้นอีก 500 แห่ง โดยจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นอีก 10%

หรือคิดเป็น 64% ในส่วนของธุรกิจโชวห่วย จากสถิติปี 2540 จำนวนร้านโชวห่วยในประเทศไทย มีประมาณ 500,000 แห่ง และคาดว่า ในปี 2545 จะมีร้านโชวห่วยเหลือไม่ถึง 100,000 แห่ง

รวมถึงส่วนแบ่งการตลาดก็จะลดลงเหลือเพียง 36% จากการขยายตัวของธุรกิจโมเดิร์นเทรดหากภาครัฐไม่มีมาตรการสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างชัดเจน องค์กรมหาชนดังกล่าว

เกิดขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรีในการประชุม เมื่อวันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2545 โดยกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้เสนอ เพื่อช่วยเหลือ ผู้ประกอบการรายย่อย โดยมีจุดประสงค์

เพื่อรวมตัวกันในการซื้อสินค้าจากซัปพลายเออร์ และเพิ่มอำนาจในการเจรจาต่อรอง ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณ 395 ล้านบาท จากงบกระตุ้นเศรษฐกิจ

มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความเข้มแข็งแก่ร้านค้าปลีกรายย่อย โดยมีเป้าหมายที่จะระดมร้านค้าปลีกรายย่อยเข้าร่วมโครงการ 100,000 ราย ภายในกำหนดเวลา 3 ปี

ร้านค้าปลีกรายย่อยแต่ละร้านที่ขาดเงินในการลงทุน สามารถยื่นขอกู้ได้จาก บรรษัทอุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือโครงการสินเชื่อตึกแถว จากธนาคาร ออมสิน มีวงเงินสินเชื่อตั้งแต่ 100,000 -300,000

บาท ทั้งนี้ ด้วยการใช้บริการสินเชื่อห้องแถว จากธนาคารออมสิน องค์กรดังกล่าว จะมีวงเงินสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 10,000 ล้านบาท ซึ่งทำให้มีอำนาจต่อรอง กับผู้ผลิตในการซื้อสินค้าต่างๆ

โดยได้รับส่วนลดที่ผ่อนปรนภายใต้เงื่อนไขเดียวกับที่ ดิสเคานต์สโตร์ ได้รับ ด้วยวิธีการเช่นนี้ องค์กรนี้จะช่วยให้ร้านค้าปลีก รายย่อยสามารถซื้อสินค้าในราคาถูกลงได้ และอยู่ใน

ฐานะที่จะแข่งขันในธุรกิจการค้าปลีกได้ดีขึ้น ในอีกด้านหนึ่ง องค์กรจะช่วยลดสภาพคล่องล้นเกินในภาค เศรษฐกิจการเงิน เนื่องจากจะมีการปล่อยกู้แก่ร้านค้า ปลีกรายย่อยมากขึ้น



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.