"พร็อพเพอร์ตี้ ช้อยส์"เพิ่มพอร์ตอสังหาฯ เจรจาเอกชนบริหารทรัพย์หวังขยับยอดขาย1.5พันล.


ผู้จัดการรายวัน(12 เมษายน 2548)



กลับสู่หน้าหลัก

แคปปิตอล แอดไวเซอรี่ฯดันแบรนด์พร็อพเพอร์ตี้ ช้อยส์ ติดลมบน และเร่งสร้างพรีเมียมให้กับแบรนด์บริษัทฯมากขึ้น เล็งเป็นมือปืนบริหารการขายทรัพย์ให้กับภาคเอกชนที่ต้องการแปลงทรัพย์เป็นเงิน ระบุตลาดบ้านมือสองยังเติบโตตามทิศทางของตลาด

ในช่วงที่ประเทศไทยเกิดวิกฤต เศรษฐกิจ ได้ส่งผลให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) จำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาแรกที่รัฐบาลต้องการเร่งสะสางให้หนี้เหล่านี้ได้ผ่านพ้นวิกฤตจากผลของค่าเงินบาท และต้องยอมรับว่าในคราวนั้นตัวเลข NPL มีสูงกว่า 2,074 พันล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อ สินเชื่อรวมกว่า 38.50% ถึงกระนั้นตัวเลข NPL ดังกล่าวได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) การเร่งแก้ไขหนี้ของสถาบันการเงิน สภาพเศรษฐกิจที่ขยายตัวตามลำดับ และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างเอื้ออำนวยในกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ส่งผลให้ตัวเลขหนี้ ณ ปัจจุบันลงมาเหลือ 592,170.64 ล้านบาท หรือประมาณ 10.71% ต่อสินเชื่อรวม

ถึงกระนั้นปัญหาดังกล่าวยังมีผลต่อเนื่องต่อระบบ คือ การเพิ่มขึ้น ของทรัพย์สินรอการขาย(NPA) ที่มีตัวเลขไหลเข้าสู่ระบบจากระดับ 21,438 ล้านบาทในปี 2540 เพิ่มเป็น 113,709 ล้านบาทในปี 2543 และไต่ระดับสูงเกิน 188,000 ล้านบาทในช่วงปีที่ผ่านมา

ขณะที่ธุรกิจที่เติบโตจากกระบวนการแก้ไขหนี้ได้ขยายตัวตาม สภาพตลาดในแต่ละช่วง เช่น ธุรกิจ นายหน้าค้าอสังหาฯ(โบรกเกอร์) ธุรกิจการบริหารการขายที่เกิดขึ้นทั้งที่เป็นบริษัทของคนไทยและบริษัทต่างประเทศที่อยู่ในธุรกิจการขายมานาน

บริษัท แคปปิตอล แอดไวเซอรี่ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ก่อตั้งในปี 2543 และเป็นผู้ให้บริการการบริหารและจัดการกองทรัพย์สินขนาดใหญ่ในประเภทอสังหาริมทรัพย์ และทรัพย์ สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL (Non Performing Loan) ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการจัดการ NPL ประเภทมีอสังหาริมทรัพย์เป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน รวมทั้งการบริหารอสังหาริม- ทรัพย์ในลักษณะต่างๆ ทำให้ปัจจุบัน CAS มีหน้าที่หลักในการเป็นผู้ดูแลการให้บริการ (Master Servicer) แก่กองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพ-เพอร์ตี้ บริษัทบริหารสินทรัพย์พาลาภ และกองทุนรวมไทยสตราทิจิก แอสเซ็ท โดยมีมูลค่ารวมของทรัพย์สินภายใต้การบริการมากกว่า 13,000 ล้านบาท และคิดเป็นจำนวนหลักทรัพย์ค้ำประกันกว่า 9,000 รายการ

นายอรรณพ เสนะสุทธิพันธุ์ รองประธานบริหาร แคปปิตอล แอดไวเซอรี่ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด และผู้ดูแลบริหารทรัพย์สินภายใต้ชื่อ "พร็อพเพอร์ตี้ ช้อยส์" เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทยังคง มุ่งเน้นการขายทรัพย์ภายใต้คอนเซ็ปต์ "ทางเลือกของคนหาบ้านในราคาที่คุ้มค่าที่ซื้อขาย" ซึ่งในปีที่ผ่านมาบริษัทสามารถขยายตลาดได้กว้างขึ้น โดยมียอดขายทรัพย์ถึง 1,200 ล้านบาท และในปี 48 ตั้งเป้ายอดขายเติบโต 20% หรือประมาณ 1,500 ล้าน บาท ซึ่งวิธีมีทั้งการขายตรงและรวมกับกรมบังคับคดีโดยบริษัทจะทำการ ตลาดแบบเข้าสู้ราคา

"ต้องยอมรับว่าในช่วงแรกพอร์ต ในด้านอสังหาฯที่พร็อพเพอร์ตี้ ช้อยส์ บริหารในมือมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็น เรื่องของสินเชื่อ แต่พอมีกระบวนการขายทอดตลาดทำให้ทรัพย์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะต้นปี 2546 ปัจจุบันทรัพย์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 60% และ 40% ต่างจังหวัด แต่ก็ยอมรับว่ามีทรัพย์บางตัวขายยาก ปีกว่าถึงจะระบายออกไปได้ แต่ ต้องมองว่าทรัพย์ทุกตัวมีคู่อยู่แล้ว เพียงแต่จะทำให้อย่างไรให้มาเจอกัน" นายอรรณพกล่าว

ทั้งนี้ก็มีทรัพย์บางแห่งที่อยู่ใกล้ แหล่งคมนาคมขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น รถไฟฟ้าใต้ดินเส้นสีส้ม บางกะปิ ซึ่ง เป็นทรัพย์ประเภททาวน์เฮาส์ และห้องชุดในคอนโดมิเนียม ที่ลูกค้าให้ การตอบรับอย่างมากและสามารถจำหน่ายออกไปได้เร็ว เช่น บ้านเดี่ยว 2 หลังในหมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รามคำแหง ราคาขาย 5 ล้านบาท เป็นต้น

นายอรรณพกล่าวย้ำว่า "การขายทรัพย์ของพร็อพเพอร์ตี้ ช้อยส์เราไม่ขายบ้านตามมีตามเกิด แต่จะสร้างพร็อพเพอร์ตี้ ช้อยส์ให้กลายเป็น "แหล่งของบ้านพร้อมอยู่" โดยจะมีการ ซ่อมแซมทรัพย์ในเบื้องต้น ขณะเดียว กันบริษัทจะมีข้อมูลสนับสนุนให้กับลูกค้าเกี่ยวกับต้นทุนหากต้องซ่อมแซม เพิ่มเติม ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ขณะเดียว กันบริษัทมีแผนที่จะขยายกลุ่มลูกค้า ภาคเอกชนที่มีทรัพย์อยู่ในการครอบ ครอง และต้องการบริหารจัดการให้เกิดผลต่อองค์กร โดยจะมีพอร์ตของทรัพย์ที่ใหญ่พอสมควรไ

บ้านมือสองโตสวนทางตลาดรวม

รองประธานบริหารกล่าวว่าสภาพตลาดอสังหาฯในปี 2548 เข้าสู่ภาวะการขายที่อืดขึ้น เพราะน่าจะได้รับผลจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและ การหมดมาตรการทางภาษีในช่วงปลายปีก่อนหน้านี้ ขณะที่ตลาดบ้าน มือสองเริ่มขยายตัวอย่างต่อเนื่องและดีขึ้น และไม่ได้รับผลกระทบมาก จากการขึ้นของราคาน้ำมัน นอกจาก นี้ในส่วนของธนาคารพาณิชย์มีการรวมกลุ่มตั้งเป็นสมาคมเอ็นพีแอแบงกิ้ง เพื่อบริหารจัดการทรัพย์ของธนาคาร พาณิชย์ ซึ่งภาพดังกล่าวจะแตกต่างกับ การขายเอ็นพีเอของแบงก์ในช่วง 2-3 ปีที่ "ต่างคนต่างขายตามมีตามเกิด"


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.