|
“PF” มั่นใจบ้านรอโอนช่วยดันรายได้ ดึงซัปพลายเออร์ยืนราคาวัสดุแก้ต้นทุนพุ่ง
ผู้จัดการรายวัน(11 เมษายน 2548)
กลับสู่หน้าหลัก
"เพอร์เฟค" เผยยอดบ้านรอโอนจากปี 47 ถึงปัจจุบันกว่า 1,000 ล้าน มั่นใจดันยอดขายทั้งปีได้ตามเป้า แม้ไตรมาสแรกยอดขายพลาดเป้า แจงผลกระทบเลือกตั้ง-น้ำมันแพง-แนวโน้มดอกเบี้ย ส่งผลลูกค้าชะลอตัดสินใจซื้อ พร้อมเดินหน้าผุด 5 โครงการต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 2 หวังเพิ่มยอดขาย หันจับมือพันธมิตรวัสดุก่อสร้างสต๊อกราคาและจำนวนวัสดุ ลดต้นทุนก่อสร้างเสริมสภาพคล่อง บ้านพร้อมอยู่ หนีปัญหาต้นทุนพุ่ง ชี้อัตราเติบโตตลาดรวม 15% มีบ้านเอื้ออาทรแชร์อยู่กว่าครึ่ง
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา เพอร์เฟค มี ยอดขายบ้านแล้ว 1,400 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ 100 ล้านบาท เนื่องจากมีปัจจัยลบ อาทิ เรื่องการเลือกตั้ง ราคาน้ำมัน และปัญหาสึนามิ ที่ส่งผลให้ลูกค้าชะลอการตัดสินใจ เพราะยังไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมือง และรอดูสภาวะตลาดรวมว่าจะมีแนวโน้มอย่างไร ส่วนไตรมาสที่ 2 บริษัทวางเป้าว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 1,700 ล้านบาท ไตรมาสที่ 3 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,900 ล้านบาท และไตรมาสที่ 4 จะมียอดการขายเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ล้านบาท โดยทั้งปีคาดว่าบริษัทจะมียอดขายรวม 7,000 ล้านบาท
ในช่วงไตรมาสที่ 2-4 บริษัทจะมีการเปิดตัวโครงการเพิ่มอีก 5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการ เพอร์เฟคเพลส พระราม 5, เพอร์เฟคเพลส พระราม 2, เพอร์เฟค ปาร์ค รามคำแหง, เพอร์เฟค เพลส รัตนาธิเบศร์ 2, และเพอร์เฟค ปาร์ค รัตนาธิเบศร์ โดยในโครงการทั้งหมดนี้บริษัทได้มีการถมดินไว้ล่วงหน้าแล้ว ซึ่งบ้านในโครงการใหม่ทั้งหมดที่จะมีการเปิดตัวในช่วงดังกล่าวจะทำให้บริษัทมียอดขายที่เพิ่มขึ้นตามเป้าที่วางไว้
นายธีระชน กล่าวว่า "บริษัทมีสต๊อกบ้านพร้อมอยู่รอการโอนอยู่ในมือจากปี 2547 ถึงปัจจุบันจำนวน 1,000 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถมอบโอนได้ทั้งหมดไม่เกินไตรมาส 3 ของปีนี้ ส่วนนโยบายการพัฒนาโครงการในปีนี้ บริษัทยังเน้นการพัฒนาโครงการ ที่เกาะติดระบบราง โดยราคาเฉลี่ย จะอยู่ที่ 5.5 ล้านบาท ลดลงจากปี 47 ที่มีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 6 ล้านบาท สำหรับสัดส่วนการก่อสร้างบ้านของบริษัทยังให้ความ สำคัญกับบ้านพร้อมอยู่ โดยการก่อสร้างบ้านทั้งหมด 100% ในแบรนด์ เพอร์เฟค ปาร์ค และ เพอร์เฟค เพลส จะเป็นบ้านพร้อม อยู่ ส่วนในแบรนด์ มาสเตอร์พีซ จะยังมีบ้านสั่งสร้างอยู่ส่วนหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านพร้อมอยู่"
"การที่บริษัทไม่ให้ความสำคัญกับบ้านสั่งสร้างเท่ากับบ้านพร้อมอยู่ เนื่องจากการควบคุมต้นทุนการก่อสร้างในบ้านสั่งสร้าง ค่อนข้างควบคุมยาก ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนที่เกิดจากระยะเวลาการก่อสร้างที่ไม่แน่นอน ตลอดจนราคาวัสดุก่อสร้างผันผวน ตลอดเวลา แตกต่างกับบ้านพร้อมอยู่ที่สามารถควบคุมต้นทุน ได้แน่นนอน ควบคุมเรื่องระยะเวลาได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ทำ ให้ต้นทุนในการก่อสร้างไม่สูงเท่า กับบ้านพร้อมอยู่" นายธีระชน กล่าว
นายธีระชน กล่าวว่า "ส่วนปัญหาที่เกิดจากปัจจัย ราคาน้ำมัน และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนั้น บริษัทได้มีการเตรียมการรับมือไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้เรียกผู้ประกอบการวัสดุก่อสร้างมาเจรจาในเรื่องส่วนลด และการยืนราคาระยะยาว โดยบริษัทจะมีการสต๊อกวัสดุเป็นล็อตใหญ่แบบสัญญาระยะยาวครึ่งปี และ 1 ปี ทำให้บริษัทมีต้นทุนการก่อสร้างจากวัสดุที่ต่ำ เพราะได้รับส่วนลดจากการซื้อแบบบิ๊กล็อตสูงถึง 25-58% ซึ่งการที่บริษัทได้รับส่วนลดค่อนข้าง มากเพราะผู้ประกอบการวัสดุก่อสร้างเองก็ต้องการลูกค้าที่ซื้อวัสดุในระยะยาวเช่นกัน เนื่องจากมองว่าสภาวะตลาดในปี 48-49 นี้ ไม่น่าจะสดใสมากนัก ทำให้ต้อง หาพันธมิตรเพื่อระบายสต๊อกด้วย ทำให้ในปีนี้บริษัทน่าจะมีกำไรจาก ขายไม่ต่ำกว่า 25-30%"
"ปัจจุบันกำลังการผลิตของผู้ประกอบการวัสดุก่อสร้างในตลาดมีน้อยรายได้ผลิตเต็มกำลังทั้งหมด 100% ส่วนใหญ่จะใช้กำลัง การผลิตประมาณ 70% ในขณะที่ กำลังการผลิตยังเหลือ 30% แต่ผู้ประกอบการวัสดุต้องมีการจ่ายค่า ต้นทุนในการผลิตในส่วนที่เหลือ อีก 30% เข้าไปด้วย ทำให้ผู้ประกอบ การต้องหาพันธมิตรเป็นผู้รับเหมา และบริษัทจัดสรร เพื่อระบายตลอดเวลา แตกต่างกับบ้านพร้อมอยู่ที่สามารถควบคุมต้นทุน ได้แน่นนอน ควบคุมเรื่องระยะเวลาได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ทำ ให้ต้นทุนในการก่อสร้างไม่สูงเท่า กับบ้านพร้อมอยู่" นายธีระชน กล่าว
นายธีระชน กล่าวว่า ส่วนปัญหาที่เกิดจากปัจจัย ราคาน้ำมัน และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนั้น บริษัทได้มีการเตรียมการรับมือไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้เรียกผู้ประกอบการวัสดุก่อสร้างมาเจรจาในเรื่องส่วนลด และการยืนราคาระยะยาว โดยบริษัทจะมีการสต๊อกวัสดุเป็นล็อตใหญ่แบบสัญญาระยะยาวครึ่งปี และ 1 ปี ทำให้บริษัทมีต้นทุนการก่อสร้างจากวัสดุที่ต่ำ เพราะได้รับส่วนลดจากการซื้อแบบบิ๊กล็อตสูงถึง 25-58% ซึ่งการที่บริษัทได้รับส่วนลดค่อนข้าง มากเพราะผู้ประกอบการวัสดุก่อสร้างเองก็ต้องการลูกค้าที่ซื้อวัสดุในระยะยาวเช่นกัน เนื่องจากมองว่าสภาวะตลาดในปี 48-49 นี้ ไม่น่าจะสดใสมากนัก ทำให้ต้อง หาพันธมิตรเพื่อระบายสต๊อกด้วย ทำให้ในปีนี้บริษัทน่าจะมีกำไรจาก ขายไม่ต่ำกว่า 25-30%
"ปัจจุบันกำลังการผลิตของผู้ประกอบการวัสดุก่อสร้างในตลาดมีน้อยรายได้ผลิตเต็มกำลังทั้งหมด 100% ส่วนใหญ่จะใช้กำลัง การผลิตประมาณ 70% ในขณะที่ กำลังการผลิตยังเหลือ 30% แต่ผู้ประกอบการวัสดุต้องมีการจ่ายค่า ต้นทุนในการผลิตในส่วนที่เหลือ อีก 30% เข้าไปด้วย ทำให้ผู้ประกอบ การต้องหาพันธมิตรเป็นผู้รับเหมา และบริษัทจัดสรร เพื่อระบายสินค้าด้วย" นายธีระชน กล่าว
นายธีระชน กล่าวถึงภาพรวมตลาดอสังหาฯ ปีนี้ว่า จากการ ประมาณการอัตราการขยายตัวของตลาดอสังหาฯในปีนี้ คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ประมาณ 10-15% หรือมียอดขายอยู่ที่ประมาณ 70,000 ยูนิต โดยจะ มีบ้านใหม่แชร์ตลาดประมาณ 60-65% และจะมีบ้านมือ 2 แชร์อยู่ประมาณ 35-40% ทั้งนี้สาเหตุที่ในปี 48 อัตราการขยายตัวของ บ้านยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะ ในปีนี้จะมีการส่งมอบบ้านเอื้ออาทร เพิ่มขึ้นจากปี 47 และนอกจากนี้การขออนุญาตจัดสรรที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะโครงการบ้านเอื้ออาทรที่มีจำนวนมากขึ้นด้วย
กลับสู่หน้าหลัก
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|