ประมวลเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในอีอาร์เอ็ม


นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2535)



กลับสู่หน้าหลัก

2 มิถุนายน: ชาวเดนมาร์กลงประชามติไม่ยอมรับสนธิสัญญามาสทริชท์ด้วยคะแนนเสียง เฉียดฉิว จุดเริ่มต้นข้อกังขาของนักลงทุนในตลาดเงินต่อแผนการรวมสกุลเงินยุโรป

3 มิถุนายน: ประธานาธิบดี ฟรังซัวส์ มิตแตร์รองค์ แห่งฝรั่งเศสประกาศว่า จะจัดให้มีการ ลงประชามติรับสนธิสัญญามาสทริชท์ในเดือนกันยายน ภาวะตลาดเงินเริ่มปั่นป่วนด้วยนักลงทุนเริ่ม ไม่มั่นใจว่าชาวฝรั่งเศสจะยอมรับมาสทริชท์

16 กรกฎาคม: บุนเดสแบงก์ประกาศขึ้นดอกเบี้ยดิสเคาท์ไปอยู่ที่ระดับ 8.75 % อันเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หนุนให้ค่าเงินมาร์กเริ่มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ

กรกฎาคม-สิงหาคม: ช่วงเวลาแห่งความยุ่งยาก นักลงทุนไม่มีความมั่นใจในค่าเงินสกุลยุโรปส่วนใหญ่ ปลายเดือนสิงหาคม ค่าเงินปอนด์อังกฤษ ปลายเดือนสิงหาคม ค่าเงินปอนด์อังกฤษและเงิน ลีร์อิตาลี ดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในขอบเขตอีอาร์เอ็ม

5 กันยายน: รัฐมนตรีคลังอีซีประชุมที่เมืองบาธในอังกฤษประกาศจุดยืนชัดเจนไม่มีโครงการปรับอีอาร์เอ็ม

8 กันยายน: ความปั่นป่วนในตลาดเงินยุโรประบาดไปถึงตอนเหนือฟินแลนด์ถึงเงินมาร์ก

กะออกจากการผูกติดกับเงินอีซียู(สกุลเงินยุโรป) และลดค่าเงินมาร์กกะลง สวีเดนและอิตาลีประกาศขึ้นดอกเบี้ย

10 กันยายน: นายกรัฐมนตรี จอห์น เมเจอร์ แห่งอังกฤษประกาศจะไม่มีการลดค่าเงินปอนด์ เด็ดขาด รวมทั้งปฏิเสธข้อเรียกร้องที่จะให้มีการปรับนโยบายคลัง

13 กันยายน: ปรับอีอาร์เอ็มครั้งแรกในรอบ 5 ปีครึ่ง ลดค่าเงินลีร์อิตาลีลง 7% โดยมีข้อตกลงเบื้องหลังความเคลื่อนไหวดังกล่าวว่าเยอรมนีจะลดดอกเบี้ยลงเป็นการตอบแทน

14 กันยายน: บุนเดสแบงก์ลดดอกเบี้ยลอมบาร์ดลง 0.25% ลดดิสเคาท์เรตลง 0.5% นักลงทุนมองว่าลดน้อยเกินไป แรงกดดันต่อค่าเงินปอนด์และเงินลีร์เริ่มก่อตัวอีกรอบ

16 กันยายน: “BLACK WEDNESDAY” ค่าเงินปอนด์, ลีร์, และเปเซต้าดิ่งลงต่ำกว่าขอบเขตที่กำหนดในอีอาร์เอ็ม การเข้าแทรกแซงตลาดเงินของบรรดาธนาคารกลางยุโรปเพื่อพยุงค่าเงินเหล่านั้นไว้ กลายเป็นความพยายามที่ไร้ผล

อังกฤษประกาศขึ้นดอกเบี้ย 2 ระลอกจาก 10 % เป็น 15% และถอนเงินปอนด์ออกมาจากอีอาร์เอ็ม แล้วจึงลดดอกเบี้ยกลับไปสู่ระดับ 12% ในเวลาต่อมา สวีเดนขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นไปสูงถึง 500 % เพื่อพยุงค่าเงินคราวน์ คณะกรรมาธิการด้านการเงินอีซีเรียกประชุมด่วนกลางดึก

17 กันยายน: ที่ประชุมตกลงให้ถอนเงินลีร์ออกจากอีอาร์เอ็มและลดค่าเงินเปเซต้าลง 5% อังกฤษลดดอกเบี้ยเหลือ 10% ตามเดิม

17-18 กันยายน: สงครามน้ำลายระหว่าง เฮลมุท ชเลซิงเงอร์ ประธานบุนเดสแบงก์ และ นอร์แมน ลามองต์ รัฐมนตรีคลังอังกฤษที่ชี้ว่าเยอรมนีควรปรับนโยบายเศรษฐกิจใหม่

20 กันยายน: ชาวฝรั่งเศสลงประชามติรับสนธิสัญญามาสทริชท์ด้วยคะแนนเสียงเฉียดฉิว จึงยังไม่สามารถระงับแรงกดดันต่อสกุลเงินที่อ่อนแอในอีอาร์เอ็มได้ เมเจอร์ในฐานะประธานอีซีตามวาระปัจจุบันเรียกประชุมสุดยอดผู้นำประเทศสมาชิกทั้งหมด เพื่อพิจารณาสนธิสัญญามาสทริชท์

22 กันยายน: ข่าวเงินทุนสำรองของเยอรมนีที่เพิ่มขึ้นสูงมากทำให้เกิดข่าวลือในตลาดเงินว่า อาจระงับการใช้อีอาร์เอ็มไว้ชั่วคราว ฝ่ายอังกฤษลดดอกเบี้ยลงอีก 1%

23 กันยายน: ธนาคารกลางฝรั่งเศสและเยอรมนีร่วมมือกันเข้าแทรกแซงตลาดอย่างหนักหน่วง เพื่อยุติการเก็งกำไรของนักลงทุนที่ต้องการทำลายระบบอีอาร์เอ็ม

1 ตุลาคม: สงครามน้ำลายระหว่างอังกฤษ-เยอรมนีระเบิดขึ้นอีกรอบเมื่อหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ตีพิมพ์แถลงการณ์ของประธานบุนเดสแบงก์ว่า เยอรมนีดำเนินนโยบายที่เหมาะสมแล้ว

9 ตุลาคม: เมเจอร์กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมประจำปีพรรคอนุรักษ์นิยม พยายามเรียกความนิยมกลับคืนมา หลังจากที่กลุ่มนักการเมืองขวาจัดเรียกร้องให้อังกฤษถอนตัวจากอีอาร์เอ็มและไม่เข้าร่วมกับสนธิสัญญามาสทริชท์

16 ตุลาคม : การประชุมสุดยอดอีซีนัดพิเศษที่เบอร์มิงแฮม, อังกฤษผู้นำทั้ง 12 ประเทศสมาชิกออก “คำประกาศแห่งเบอร์มิงแฮม” ซึ่งระบุว่า อีซีจะต้องเปิดกว้างและใกล้ชิดประชาชนของประเทศสมาชิกให้มากขึ้น เคารพเอกลักษณ์ประจำชาติของประเทศสมาชิก และป้องกันไม่ให้องค์กรของอีซีในบรัสเซลส์เข้าไปก้าวก่ายกิจการของประเทศสมาชิกมากเกินไป แต่ให้รัฐสภาประเทศสมาชิกเข้ามีส่วนร่วมและรับรู้การตัดสินใจใด ๆ และการปฏิบัติงานขององค์กรอีซีมากขึ้นส่วนแถลงการณ์ ว่าด้วยความร่วมมือเศรษฐกิจและการเงินร่วมกันนั้น เป็นการยืนยันว่าสนธิสัญญามาสทริชท์ และกลไกอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของระบบการเงินยุโรปเป็นปัจจัยหลักของการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่งคั่งของยุโรป โดยชี้ว่าชาติสมาชิกกำลังมีปัญหาเหมือนกันคือเศรษฐกิจชะลอตัว อัตราว่างงานพุ่งขึ้น ดังนั้นจึงต้องดำเนินนโยบายที่ประสานสอดคล้องกัน ดังที่ได้กำหนดไว้ในสนธิสัญญามาสทริชท์คือดำเนินนโยบายลดเงินเฟ้อ ลดการขาดดุลงบประมาณและเปิดเสรีตลาด


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.