"กิตติรัตน์"วิเคราะห์บทเรียนธุรกิจ หวังสร้างภูมิคุ้มกันก่อนบริหารกิจการ


ผู้จัดการรายวัน(17 พฤษภาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

วิเคราะห์วิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่ผ่านมาผ่านสายตาผู้มีประสบ การณ์อย่าง "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" หวังเป็นบทเรียนสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ประกอบการของไทยในอนาคต กิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรม

การและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวในงานอบรม สัมมนา "ทายาทธุรกิจ" ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเด็นของ

การศึกษาบทบาทเรียนจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาและการสร้างภูมคุ้มกันในอนาคต" ว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาหลายคนอาจลืม ไปว่าเบื้องลึกของปัญหาแฝงบทเรียนที่ดีไว้ด้วย

โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่สามารถนำพาธุรกิจผ่านพ้นวิกฤตเหล่านั้นมาได้ กรณีที่สถาบันการเงินมีปัญหา ขาดดุลจนกระทั่งต้องลดค่าเงินบาทเป็นปัญหาที่เกิดจากการที่

สะสมมานานและมาระเบิดในเวลาเดียวกันจนกลายเป็นข้อพิพาท กันว่าแท้จริงแล้ววิกฤตเศรษฐกิจเกิดจากตรงไหนกันแน่ จุดที่หลายคนเห็นว่าจะเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่แตกขณะเดียว

กันนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนยังพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพ ได้ส่งผลให้เงินอัตราของต่างประเทศนั้น ไหลทะลักเข้ามาในประเทศไทย เมื่อเงินทะลักเข้ามาล้นมือของคนที่เกี่ยวข้องทั้งภาคธุรกิจ

ภาคเอกชน และรวมถึงภาครัฐซึ่งอาจจะรวมถึง รัฐวิสาหกิจด้วย ผลที่เกิดขึ้นก็คือราคาทรัพย์สินสูงขึ้น เรื่องที่เกิดขึ้นถ้าหลายคน สังเกตเป็นเรื่องตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยอย่างเดียว ในญี่ปุ่น

ก็เกิดวิกฤตเช่นนี้เหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างตรงที่ว่าญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการส่งออกมาก จนกระทั่งได้เปรียบดุลการค้าจนบัญชีเงินสะพัดและเงินก็ทะลักเข้าสู่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเหมือนกัน

สังเกตเห็นได้ว่าก่อนญี่ปุ่นประสบปัญหาทรัพย์สินในประเทศญี่ปุ่นมีราคาสูงทั้งที่ดินหุ้นหรือแม้

แต่อะไรก็ตามที่เป็นทรัพย์สินที่พอจะซื้อหาได ้พร้อมที่จะมีราคาสูงทั้งนั้น และเมื่อไรก็ตามที่ปริมาณเงินทะลักเข้ามาล้นมือโอกาสที่ราคาทรัพย์สินเพิ่มก็สูง

แต่ในมุมที่กลับกันถ้าหากว่าเงินไม่ได้ล้นมือทรัพย์สินทั้งหลาย ซึ่งความจริงแล้วควรจะมีราคาสูงกว่านั้น ก็อาจจะไม่ได้มีราคาสูงเท่าที่ควร เพราะว่าเงินไม่ได้มีเพียงพอ

เราใช้คำว่าเงินล้นมือไม่อยากใช้คำว่าเงิน ล้นระบบเพราะหลายท่านอาจจะสับสนและเข้าใจผิดว่าตอนนี้เป็นช่วงเงินล้นมือ แต่จริงแล้วช่วงนี้ของ

ไทยเป็นช่วงที่เงินล้นระบบเพราะว่าตอนนี้เงินอยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์มาก แต่เงินตรงนั้นไม่ได้มา ที่ผู้บริโภคและผู้ลงทุน อันนี้จึงเป็น บทเรียน และเป็นข้อสังเกตประการ แรก

ระบบเศรษฐกิจของไทยอาจเรียกได้ว่าอยู่ในระหว่างติดเชื่อได้ง่ายเพราะยังมัปัญหาที่ค้างคาอยู่อีก หลายเรื่อง ในความเป็นจริงแล้วความจริงวิกฤตเศรษฐกิจที่เราผ่านมาไม่ใช่เกิดโดยที่ไม่มีข้อเตือนใจ

กรณี ของเม็กซิโกลดค่าเงินจาก การที่ขาดดุลการค้าดุลบัญชีเงินสะพัดจนกระทั่งเงินสำรองระหว่างประเทศมีไม่เพียงพอ ช่วงเวลานั้นนักวิเคราะห์จำนวนมากชี้นิ้วมาที่ประเทศไทยว่าจะเป็นรายต่อไป

แต่ในขณะนั้นเรามีความมั่นใจตัวเราเองมากและก็น่าเสียดายที่เราไม่ได้ทำอะไรเลยซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ เราก็เกิดดุลบัญชีเดินสะพัดหนักขึ้นกว่าในปี 2537 ชะอีก

ในมุมมองของกิตติรัตน์ที่อยากจะฝากไว้ก็คือว่า ในเมื่อวิกฤต เศรษฐกิจได้เกิดขึ้นแล้วบทเรียนต่างๆ หรือข้อสังเกตรายละเอียดต่างๆ น่าจะเก็บไว้เป็นข้อเตือนใจผู้ประกอบการทางธุรกิจทุกคนไม่ใช่

แต่เพียง SMEs แต่ในขณะเดียว กัน็มีผู้ประกอบธุรกิจอีกจำนวนหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากวิกฤตเศรษฐกิจไปด้วยเหมือนกันเช่น ผู้ประกอบการส่งออกเมื่อการลอย ตัวค่าเงิน 1 เหรียญกลายเป็น 40 หรือ 50

บาทนักธุรกิจกลุ่มนั้นก็ได้ ประโยชน์เหมือนกัน



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.