|
อัลคาเทลรุกธุรกิจทรานสปอนเตชัน โรดโชว์โซลูชันอีทีเอสซีที่การรถไฟ
ผู้จัดการรายวัน(5 เมษายน 2548)
กลับสู่หน้าหลัก
อัลคาเทลเปิดตัวธุรกิจทรานสปอนเตชันในไทย ศึกษาพฤติกรรมการเดินทางวิเคราะห์โอกาสในการเปิดตลาดนี้ในไทยยังมีอีกมาก เสนอโซลูชัน ETCS ชูจุดขายประหยัดค่าบำรุงรักษาให้กับการรถไฟ ปีนี้หวัง 4-5 โครงการในไทยอย่างโครงการขยายการลงทุนของ BTS
นายกีย์ เซลเลียร์ รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจ กลุ่มอุตสาหกรรม อัลคาเทล เอเซีย แปซิฟิค กล่าวว่าในปีนี้อัลคาเทลประเทศไทย (Alcatel Thailand) จะหันมาให้ความสำคัญการทำธุรกิจในส่วน Vertical Markets มากยิ่งขึ้น จากเดิมที่ประเทศไทยมักรู้จักอัลคาเทลในตลาดเทเลคอมเป็นส่วนใหญ่ โดยการให้ความสำคัญกับตลาด Vertical Markets นี้ อัลคาเทลมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจด้านทรานสปอนเตชันเป็นหลัก
ตลาด Vertical Markets แยกออกเป็นหลายส่วน เช่น ทรานสปอนเตชัน ออยดฺ แอนด์ แก๊ส ระบบรักษาความปลอดภัยและระบบการสื่อสาร โดยตลาดนี้เป็นตลาดใหญ่ประมาณการตลาดนี้ในปี 2548 ว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 80,000 ล้านยูโร มีอัตราการเติบโตจากปีที่ผ่านมาประมาณ 7-8%
ผู้บริหารอัลคาเทลวิเคราะห์ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้การเดินทางโดยรถไฟประมาณ 0.5% เดินทางบนถนนประมาณ 78%, เดินทางโดยเครื่องบิน 26% ที่เหลือเป็นอื่นๆ ผสมกัน แสดงให้เห็นได้ว่าโอกาสในการเสนอระบบเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพด้านการเดินทางในประเทศไทยยังมีโอกาสอีกมากโดยเฉพาะการเดินทางโดยรถไฟ
อัลคาเทลมีแนวคิดที่จะนำเสนอระบบ ETCS (European Train Control System) ซึ่งเป็นระบบควบคุมการเดินรถไฟด้วยการสื่อสารให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมุ่งให้ความสำคัญทั้งความสะดวกสบายกับผู้ใช้ ความปลอดภัย และความคุ้มค่าในการลงทุน โดยชูจุดขายของโซลูชันที่ได้รับการยอมรับติดตั้งแล้วในประเทศจีน ให้กับรถไฟสาย 8 มูลค่า 22 ล้านยูโร และรถไฟสาย 9 มูลค่า 9.8 ล้านยูโร รวมทั้งติดตั้งให้กับแอร์พอร้ตที่ประเทศดูไบ
แม้ปัจจุบันการรถไฟยังไม่มีการเปิดประมูลโครงการก็ตามแต่มองโอกาสในการนำเสนอเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้การรถไฟพัฒนาศักยภาพการให้บริการ
“ปัจจุบันการเดินทางสายสุขุมวิทสามารถรองรับคนได้ประมาณ 10,000-15,000 คน แต่หากได้ระการนเดินทางที่ดีก็จะสามารถรองรับการเดินทางได้ถึง 70,000 คนต่อวัน”
นายกีย์ ชี้ให้เห็นจุดขายของระบบ ETCS ที่จะนำเสนอต่อการรถไฟคือ การอัปเกรดระบบได้ทันทีเมื่อมีการใช้งานมากยิ่งขึ้นด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ในการบริหารระบบ แทนที่จะต้องเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ที่ชุด นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการประหยัดในเรื่องของค่าบำรุงรักษาได้มากกว่า 40% ทั้งสามารถบริหารการใช้งานขวนรถไฟได้ ให้ไม่ต้องเดินรถทั้งขบวนโดยไม่มีผู้โดยสานเต็มตู้เป็นการประหยัดต้นทุนในการดำเนินงาน
ส่วนต้นทุนการดำเนินขึ้นอยู่กับการรถไฟว่าต้องการปรับระบบงานแค่ไหนต้องการพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีทันสมัยแบไม่ต้องมีพนักงานขับก็เข้าสู่ระบบเครือข่ายออโตเมติก ซึ่งเหมาะกับประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านรถไฟฟ้าใต้ดินก็ประสบปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดของพนักงาน
การเปิดตัวในธุรกิจทรานสปอนเตชันในเมืองไทยครั้งแรกของอัลคาเทลในครั้งนี้ ยังไม่มีเป้าหมายเป็นยอดขายที่ชัดเจนนัก แต่มีความหวังว่าจะได้ประมาณ 4-5 โครงการ เช่น การขยายการลงทุนของรถไฟฟ้ามหานครสายสีม่วง (สายใหม่) สีแดง และสีเขียว (ของBTS) รวมถึงส่วนต่อขยายของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่หวังให้เกิดการปรับเปลี่ยนระบบทั้งหมด
นายกีย์ มองว่า การเปิดตัวในประเทศไทยในช่วงนี้ ไม่น่าจะช้าเกินไป เพราะวิเคราะห์ว่าการได้เทคโนโลยีของซีเมนส์หรือเจ้าใดเจ้าหนึ่งเพียงเจ้าเดียวอาจทำให้เกิดการผูกขาย โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหขาดแคลนอุปกรณ์ ทั้งการมีหลายซัปพลายเออร์ก็จะทำให้เกิดการแข่งขันกันได้
แม้อัลคาเทลจะใหม่สำหรับตลาดทรานสปอนเตชันในประเทศไทย แต่ในเอเชียแปซิฟิกอัลคาเทลตั้งเป้าว่า ในปี 2005 จะมีรายได้ในธุรกิจนี้ประมาณ 200 ล้านยูโร
กลับสู่หน้าหลัก
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|