"เทเลคอมเอเซีย"สู่ธรรมาภิบาล เน้นความโปร่งใสให้เกิดในธุรกิจ


ผู้จัดการรายวัน(15 พฤษภาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

เทเลคอมเอเซียหนึ่งในบริษัทไทยเข้าสู่หลักการ "ธรรมาภิบาล" สร้างความโปร่งใสให้เกิดในการบริหารกิจการ "ศุภชัย เจียรวนนท์" เผยหลักการธรรมาภิบาลในแบบธุรกิจครอบครัวสื่อสาร โปร่งใส่ ภาย

ใต้การไว้วางใจกัน

สถาบันกรรมการบริษัทไทยหรือ IOD ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรม การกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัยพ์ร่วมจัดทำโครงสร้างประเมิน

ผลการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย โดยทำการสำรวจบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ทั้งหมด 133 บริษัท โดยได้ข้อสรุปว่าบริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด

(มหาชน) เป็น 1 ในบริษัทต้นๆ ที่ได้รับการตัดเลือกให้เป็นบริษัทที่มี "ธรรมาภิบาล" หรือระบบกำกับดูแลกิจการที่ดี

ชาญชัย จารุวัสตร์ กรรมการ ผู้อำนวยการ สถาบันกรรมการบริษัทไทย กล่าวถึงหลักการพิจารณาว่าเป็นการให้ความสำคัญกับบทบาทของคณะกรรมการบริษัท การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น ความ โปร่งใส่

การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน ซึ่งบริษัทเทเลคอม เอเซียนับเป็นบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีมีการปรับองค์กรเรื่องเข้าสู่ธรรมาภิบาลหลายอย่าง

ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เทเล คอมเอเซียฯ กล่าวว่าจากประสบ การณ์ในการทำงานที่ผ่านมาเชื่อ

ว่าธุรกิจในเมืองไทยส่วนใหญ่เริ่มมาจากธุรกิจครอบครัวด้วยกันทั้งนั้น ต่อเมื่อธุรกิจขยายมีผู้ถือหุ้นเข้ามาร่วมธุรกิจมากขึ้นจึงจำเป็นต้องมีธรรมาภิบาล หรือการปรับตัวเข้าสู่หลักการบริหารกิจการที่ดี

เพื่อ สร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นระหว่างผู้ส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว "

ธรรมาภิบาล"เป็นสิ่งจำเป็นในการบริหารทุกกิจการแม้ธุรกิจที่ยังอยู่ในระบบครอบครัวก็ตาม

เครือพีซีเริ่มธุรกิจจาก 4 พี่น้อง ซึ่งทั้ง 4 คนให้ความไว้วางใจกันและกัน การทำธุรกิจครอบครัวถ้าไม่ให้ความไว้วางใจกัน

ไม่มีการสื่อสารกันอย่างเพียงพอก็อาจเกิดปัญหาตามมาได ้เพราะไม่สามารถสร้างความโปร่งใส ให้เกิดระหว่างพี่น้องที่ร่วมบริหารงานกันได้ ในทางตรงข้ามหากผู้นำองค์กรทำงานหนัก ทำดี

แต่ไม่สามารถสื่อ สารให้กระจ่างก็จะกลายเป็นปัญหาได้เช่นกัน

เทเลคอมเอเซีย เป็นบริษัทมหาชน มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 3 ฝ่าย คือเครือซีพี Verizon จาก USA และ KfW จาก Germany ซึ่งเป็น เจ้าหนี้ที่เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นตอนปรับโครงสร้างหนี้และยังมีผู้ถือหุ้น

รายย่อยอีกกว่า 25,000 ราย

"การทำงานแบบธุรกิจครอบครัวไม่ใช่เป็นเรื่องเสียหาย ขณะที่มีต่างชาติเข้ามา ถือหุ้นและมีสมาชิกเพิ่มขึ้นมาอีกย่อมมีข้อสงสัยเกิดขึ้นอีกมากมาย ความจำเป็นต้องมีการสื่อสารให้โปร่งใส่เพื่อให้ได้ข้อ

มูลเท่าเทียมกันทุกฝ่าย จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง"

ที่ผ่านมาเทเลคอมเอเซียมีการปรับองค์กรหลายครั้ง เริ่มจากการใช้ระบบบัญชีสากล การแต่งตั้ง CFO มาจาก VERI-ZON

เข้ามาดูแลงานในส่วนนี้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเต็ม ระบบซึ่งคณะกรรมการชุดนี้สามารถแต่งตั้งและถอดถอนฝ่ายตรวจสอบภาย ในของบริษทได้

ซึ่งที่ผ่านมามีการตรวจสอบหลายด้านรวมทั้งเรื่อง Risk management ด้วย

รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรม การอิสระที่มาจากกลุ่มผู้ถือหุ้นทุกฝ่าย ซึ่งจากการที่เทเลคอมเอเซียจะขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจโทร ศัพท์เคลื่อนที่โดยการเข้าไปลงทุนในบริษัท WCS หรือ TA-Orange

ในปัจจุบัน กรณีดังกล่าวสร้างความ ปั่นปวนแต่ก็สามารถจบลงได้ด้วยความโปร่งใส่เป็นที่พอใจทุกฝ่าย โดยมอบให้คณะกรรมการที่เป็นอิสระทำงานอย่างเต็มที่โปร่งใส่และ

รับฟังความคิดเห็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยทั้งมีการตั้งคณะกรรมการ ที่ดูแลด้านการเงินและการลงทุน ในกิจการที่สนใจว่าควรเข้าไปลงทุน หรือไม่

การดำเนินงานเหล่านี้เป็นความ พยายามสร้างความโปร่งใส่ เพื่อให้ เกิดการตัดสินใจอย่างมีส่วนร่วมและเกิดความไว้วางใจจากผู้ถือหุ้น

เทเลคอมเอเซียเป็น Third generation ยังคงเป็นบริษัทที่มี "นามสกุล" เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งต่าง ชาติยังคงมองในแง่ลบกับ Family

Businessนับเป็นเรื่องท้าทายผู้บริหารเป็นอย่างยิ่งเพราะประเทศไทยมีวัฒนธรรมเช่นนี้มายาวนานต่างจากประเทศอื่นๆ ทั่วโลก แต่เมื่อเป็นบริษัทคนไทยแล้วก็ต้องมีกระบวนการปรับตัวอย่างมาก

"การปรับตัวเข้าหากันระหว่าง วัฒนธรรมเดิมกับสิ่งใหม่อาจต้องใช้เวลา "ธรรมาภิบาล" เป็นรูปแบบ การบริหารเพื่อให้เกิดประโยชน์ด้วย กันทุกฝ่าย เทเลคอมเอเซียต้องการ

เป็นบริษัทที่มีทั้งคนดีและคนเก่งจึง ต้องนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้เพื่อให้การบริหารองค์กรทำ งานได้อย่างเต็มที่และสามารถนำกำไรมาสู่องค์กร" เป็นความตั้งใจของผู้บริหารกิจการ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.