แบงก์กรุงไทยขอเป็นแชมป์ บัตรเครดิตดึงคน 6 ล้านเข้าระบบ


ผู้จัดการรายวัน(15 พฤษภาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

แบงก์กรุงไทยประกาศกร้าวขอเป็นแชมป์ตลาดบัตรเครดิตหลังลดฐานรายได้ผู้ถือบัตรเครดิตเหลือ 7,500 บาทต่ำสุดในระบบ หวังเบียดซิตี้แบงก์และแบงก์คู่แข่ง คาดปี 46 ฐานบัตรเพิ่ม 1 ล้านบัตร

ด้านแบงก์อื่นยังสงวนท่าทีคงฐานรายได้ผู้ถือบัตร 10,000 บาท ยอมรับผลของเกณฑ์แบงก์ชาติทำให้ฐานลูกค้า บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นรวม 6 ล้านคน ชี้ทุกค่ายมีช่องทางเจาะตลาดลูกค้าได้อีกเพียบ

ภายหลังที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ได้ประกาศยกเลิกเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำของผู้ขอมีบัตรเครดิต รวมถึงการออกบัตรเสริม และให้ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งเป็นผู้กำหนดคุณสมบัติของผู้ถือบัตรเครดิตเอง แต่ธนา-

คารพาณิชย์จะต้องมีระบบบริหารความเสี่ยงตามที่ธปท.กำหนดนั้น

นายนิวัตต์ จิตตาลาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทบัตร กรุงไทย จำกัด ในเครือธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB

กล่าวอย่างชัดเจนว่าบริษัทได้ปรับลดเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำผู้ถือบัตรเครดิตกรุงไทยลงเหลือ 7,500 บาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถขยายฐานลูกค้า เพิ่มขึ้นอีกมาก

และการปรับครั้งนี้บริษัทไม่ได้มองที่ธุรกิจบัตรอย่างเดียว แต่เป็นการวางแผนรองรับการแปรรูปบริษัท ซึ่งต้องมีการออกผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ สินเชื่อบุคคล

ซึ่งฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นก็จะรองรับผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท

"การปรับฐานรายได้ขั้นต่ำครั้งนี้ เพื่อต้องการแข่งขันในตลาด บนและตลาดล่าง รวมถึงบริษัทข้ามชาติ อาทิ อิออน จีอีแคบปิตอล โดยจุดมุ่งหมายนั้นบริษัทต้อง การเป็นที่ 1 ของตลาดบัตรเครดิต"

นายนิวัตต์กล่าว

พร้อมระบุว่าในปี 2546 ธนาคารตั้งเป้าไว้มีฐานบัตรเครดิตจำนวน 1 ล้านบัตร อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันหลังประกาศใช้กลยุทธ์ฟรีค่าธรรมเนียมตลอดชีพมีผู้สมัครขอมีบัตรของบริษัท 6,000-10,000

บัตรต่อวัน ทำให้ต้องปรับขบวนการ ทำงานใหม่ และคาดว่าผู้สมัครจะได้รับการอนุมัติบัตรภายใน 1 เดือน เป็นอย่างช้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ต่างได้มีการปรับปรุง เกณฑ์เกี่ยวกับฐานรายได้ขั้นต่ำของผู้ถือบัตรเครดิตลงแล้วเป็นส่วนใหญ่ ยังคงเหลือที่ยังไม่ปรับเพียง 2-3 ธนาคารเท่านั้น

ซึ่งธนาคารเหล่านั้นอยู่ระหว่างการ เตรียมการปรับซึ่งคาดว่าภายในเดือนพฤษภาคมคงจะมีการปรับทั้งหมด

ส่วนอัตราที่ปรับลงนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการรองรับความเสี่ยงของแต่ละธนาคารซึ่งแตกต่างกัน

"ประเด็นที่สำคัญถึงแม้ธนาคารพาณิชย์จะมีฐานลูกค้าบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น แต่แนวทาง ที่ทุกธนาคารต้องการคือ การผลักดันอัตรการหมุนเวียนใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น

ซึ่งแม้ขณะนี้จะมีโปรโมรชั่นออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นแต่ความหยั่งยืนของการใช้ของลูกค้า จะเป็นอย่าไรหากหมดหน้าโปรโมรชั่น ขณะเดียวกันผู้บริโภคยังให้ความสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจอยู่"

รีวิวฐานรายได้แต่ละแบงก์

ธนาคารที่ปรับฐานรายได้ของผู้ถือบัตรลงต่ำมากในตอนนี้คือธนาคารกรุงไทยปรับลดจากฐานรายได้เดิม 15,000 บาทเหลือ 7,500 บาท เท่ากับธนาคารซิตี้แบงก์ ธนาคารกรุงเทพปรับลดจาก 15,000

บาทเหลือ 10,000 บาท เช่นเดียวกบธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารนครหลวงไทย ที่ปรับลดจาก 15,000 บาทเหลือ 10,000 บาท

สำหรับธนาคารที่ยังไม่ได้ปรับลดเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำผู้ถือบัตรแต่อยู่ระหว่างการดำเนิน ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นเดือนพฤษภาคมจะดำเนินการ ได้ คือธนาคารกสิกรไทยจะปรับลดจาก 15,000 บาทเหลือ

10,000 บาทโดยคาดว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาผลลัพธ์จากการปรับลดเหลือ 10,000 บาทประมาณ 2 ปีหากปรากฏว่าไม่มีปัญหาอาจมีการปรับลดให้ต่ำกว่า 10,000 บาท

ขณะที่ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธนยังอยู่ที่ 15,000บาท แต่เตรียมปรับลดเหลือ 10,000 บาท และมีการนำโปรโมชั่นฟรีค่าธรรมเนียมตลอดชีพมาใช้เช่นเดียวกับที่ธนาคาร กรุงไทยใช้ในเวลานี้

ส่วนธนาคารไทยธนาคารยังไม่มีนโยบายที่จะทำธุรกิจบัตรเครดิต เพราะธนาคารได้ประกาศนโยบาย และทิศทางชัดเจนในการเป็นโฮลเซลแบงกิ้ง ขณะที่ธนาคารน้องใหม่คือธนาคารธนชาตนั้น

ยังไม่สามารถทำธุรกิจ บัตรเครดิตได้เพราะติดที่ต้องดำเนินการตามกฏเกณฑ์ที่ตกลงไว้กับธปท. โดยอย่างน้อย 5 ปี ไปแล้วจะสามารถทำได้แต่ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อม ของธนาคารด้วย

ปัจจุบันแม้แต่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันก็จะต้องรอให้ผ่าน 1 ปีขึ้นไปก่อน และทุกอย่างที่จะดำเนินการต้องขออนุญาตจากธปท.

แหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งเปิดเผยว่า ขณะนี้กฎเกณฑ์ของธปท.ที่คุมเกี่ยวธุรกิจบัตรเครดิตได้ยกเลิกไปแล้ว

ส่วนหนึ่งทำให้ธนาคารธนาคารพาณิชย์มีความคล่องตัวมากขึ้นในการดำเนินธุรกิจดังกล่าว ต่อไปผู้บริโภคจะมีทางเลือกมากขึ้น

การให้บริการของแต่ละธนาคารจะมีรายละเอียดที่น่าสนใจหลากหลายมากขึ้น อาทิ บางแห่งอาจปรับฐานรายได้ขั้นต่ำลงมากแต่อาจจะมีสิทธิประโยชน์สำหรับ ผู้ถือบัตรน้อยลง

ขณะที่บางแห่งนั้นจะชูเรื่องสิทธิประโยชน์ผู้ถือบัตรเป็นสิ่งจูงใจในการรักษาฐานลูกค้าเก่าและขยายฐานลูกค้าใหม่

ลูกค้าเพิ่ม 6 ล้านคนแบงก์เลือกดูด

สำหรับกรณีที่ธนาคารใหญ่อย่างธนาคารกรุงไทย ได้ปรับลดฐานรายได้ขั้นต่ำลงค่อนข้างมากนั้น ยอมรับว่าคงจะสามารถขยายฐานลูกค้า ได้มาก

แต่คงไม่ถึงกับทำให้ธนาคารพาณิชย์ที่ปรับลดลงน้อยกว่าเสียโอกาสหรือหมดโอกาสในการที่จะขยายฐานลูกค้า

เพราะจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ยกเลิกการคุมธุรกิจบัตรเครดิต ได้ส่งผลให้จำนวนของผู้บริโภคที่สามารถมีบัตร หรือเรียกว่าตลาดของธุรกิจบัตรเครดิตขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากที่แต่เดิมฐานรายได้ขั้นต่ำ

15,000 บาทนั้นผู้มีสิทธิ์ถือบัตรเครดิตในตลาดมีประมาณ 2 ล้านคน แต่หลังจากเลิกคุมแล้วคาดว่าตัวเลขผู้สามารถมีบัตรได้หากคิดคำณวนจากตัวเลขฐานรายได้ประมาณ 8,000-10,000 บาทนั้น

มีประมาณ 6 ล้านคน ทีเดียว

"ยอมรับว่าการเลิกเกณฑ์ของธปท.ส่งผลให้ธนาคารมีโอกาสในการขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้น แต่ที่ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังไม่กล้าที่จะลดฐานรายได้ขั้นต่ำลงมากนัก

เพราะยังเป็นห่วงเรื่องความเสี่ยง ซึ่งเรื่องนี้เป็นความสามารถของแต่ละธนาคาร ที่จะมีวิธีการจัดการความเสี่ยงได้อย่างไร ธนาคารแต่ละแห่งย่อม มีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงไม่เหมือนกัน

ดังนั้น ภาพรวมของตลาดธุรกิจบัตรเครดิตนับจากนี้ไปจะมีความคึกคัก สินค้ามีความหลากหลายมากขึ้น แต่ธนาคารต้องไม่ยอม

ให้ประวัติศาตร์ซ้ำรอยเกิดหนี้เอ็นพีแอลจำนวนมากดังที่เคยเกิดขึ้นมากแล้ว" แหล่งข่าวกล่าว



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.