เผยสำรวจ SME ทั่วประเทศปรับตัวช้า ละเลยสืบทอดกิจการ


ผู้จัดการรายวัน(8 พฤษภาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

ผลสำรวจความเห็นผู้ประกอบการทั่วประเทศพบส่วนใหญ่ยังเผชิญปัญหาหลายประการที่รอวันแก้ไข ประเด็นหลักแข่งขันต่างชาติ ยอดขายตก ขาดแหล่งเงินทุน ขณะที่ภาพรวม SMEs

ไทยยังปรับตัวได้ช้าเหตุไม่ เห็นปัญหาที่แท้จริง ทั้งยังไม่เห็นความสำคัญสืบทอดกิจการ

จากการสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการ 12 กลุ่มธุรกิจทั่วประเทศจำนวน 1,080 ราย

โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม และสถาบันนโยบายสังคม และเศรษฐกิจ เกี่ยวกับ"สภาพปัจจุบัน

ปัญหาและการปรับตัวของ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหงังวิกฤตเศรษฐกิจ" พบว่า SMEs ของไทยยังประสบปัญหาอีกมาก

รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ หัวหน้าคณะผู้วิจัยกล่าว ว่าผู้ประกอบการของไทยประสบปัญหาด้านการดำเนินกิจการอันเนื่องจากปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการตลาด

การผลิต การเงิน โดยผู้ประกอบการคิดว่าตนเองมีเครื่องมือการทางการตลาดดีอยู่แล้วทั้งที่ลูกค้าก็ยังหันไม่ซื้อสินค้าของผู้อื่นหรือของคู่แข่งขันอยู่ดี โดยไม่คิดว่าสินค้าของตัวเองมีปัญหาเรื่องคุณ

ภาพการผลิต แต่โทษว่าเป็นเพราะปัจจัยภายนอก ทำให้ไม่สามารถแข่ง ขันด้านราคาได้และในที่สุดก็ส่งผล ถึงการปรับตัวของ SMEs ไทยที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า

โดยส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการมีความเห็นว่าอุปสรรคสำคัญของการดำเนินธุรกิจ คือการทำงานของภาครัฐ ไม่เอื้ออำนวยกับการดำเนินกิจการของตน ไม่ว่าจะเป็นโครงสรู้างภาษี ขั้นตอนการประสาน

งานของภาครัฐ อีกทั้งการสนับ สนุนอย่างแท้จริงจากหน่วยงาน รัฐที่บอกว่าจะให้ความช่วยเหลือแต่ไม่เป็นผลโดยตรงกับ SMEs

ในส่วนของการแนวทางการสืบทอดกิจการ ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งภาครัฐต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการของไทย เห็นความสำคัญเพื่อให้กิจการ SMEs คงอยู่และอยู่ในมือของทายาทธุรกิจโดยแท้

แต่จากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการจำนวนน้อยที่เห็นความสำคัญและมีการเตรียมพรู้อม ถ่ายทอดกิจการอย่างเป็นระบบ โดย พบว่ามีเพียง 30% เท่านั้นที่ส่งเสริม

ทายาทของตนให้มีความรู้ความเข้า ใจในธุรกิจที่ทำอยู่ โดยในจำนวนนี้ เป็นอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และอัญมณีเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่อีก 70% ซึ่งเป็นส่วนมากยังไม่เห็นความสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาพรวมธุรกิจพบว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยยังประสบปัญหานานัปการ เช่นการแข่งขันทั้งจากต่างชาติที่ทวีจำ-นวนเพิ่มมากขึ้น

และการแข่งขันกันเองในประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ในต่างจังหวัด นอกจากต้องเผชิญกับคู่แข่งในภูมิ

ภาคเดียวกันแล้วพบว่าผู้ประกอบการจากกรุงเทพฯเริ่มหันไปแข่งขันกับผู้ประกอบการที่ต่างจังหวัดด้วย ทั้งที่เป็นโครงการไม่ใหญ่โตกันและ

มีมูลค่าไม่มากเท่าไรซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน

โดยกิจการที่ได้รับผลกระทบ จากการแข่งขันจากต่างประเทศมาก ที่สุดคือธุรกิจอัญมณี ธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก หัตถกรรม เครื่องหนัง ใน ส่วนของธุรกิจบริการธุรกิจที่มีปัญหายอดขายลดลงมากที่สุด

คืออัญมณี เซรามิก เครื่องปั้นดินเผา ส่วนกิจการที่มีปัญหาจากหนี้สูญมากที่สุดคือกิจการวัสดุก่อสรู้าง หัตถกรรมและเครื่องหนัง

อย่างไรก็ตาม จากการที่ผู้ประกอบการประสบปัญหาในหลาย รูปแบบทำให้มีการปรับตัวโดยนำกลยุทธ์ต่างๆ เข้ามาใช้ โดยเฉพาะการปรับตัวด้านการตลาด ด้านเทค โนโลยี

ด้านกระบวนการผลิตและการสรู้างพันธมิตรทางการผลิต การ ปรับตัวด้านการตลาดเป็นลักษณะการปรับการให้บริการเสริม การปรับ ราคา เพิ่มช่องทางการจำหน่ายรวม

ทั้งปรับส่วนผสมทางการตลาด

"โดยพบว่า 70% ของผู้ประ- กอบการมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็น ส่วนหนึ่งของการปรับตัว ขณะที่ 60% มีเว็บไซต์และใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการทำธุรกิจ"

ในส่วนท้ายของข้อสรุป ผู้วิจัยนำเสนอว่าที่ผ่านมาแต่ละภาค ธุรกิจได้รับผลกระทบของปัญหาที่แตกต่างกัน ผู้ประกอบการแต่ละรายจึงต้องการการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน ในส่วนของภาครัฐ

จึงควรมีนโยบายในการให้ความช่วยเหลือที่แตกต่างกันตามแต่ละอุตสาหกรรมด้วย



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.