"ศุภชัย-เสรี" กะเทาะแนวคิดนำธุรกิจฝ่าขวาก หนาม บิ๊กบอสทีเอกระตุ้นแผนการตลาดด้วยกลยุทธ์ตัว
"ซี" ขณะที่อาจารย์ ชื่อดัง มุ่งให้ทุกฝ่ายเน้นความสำคัญกับการสื่อสาร
พร้อมแนะกลเม็ดมัดใจลูกค้า วิเคราะห์ลูกค้า 3 ประเภทที่อยาก และไม่อยากได้
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรม การผู้จัดการใหญ่ บริษัท ที เอ ออเร้นจ์ กล่าวถึงแนวทางการตลาด
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเลาะหนามสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ในงานเสวนาฝ่าขวากหนาม
การตลาด ที่จัดขึ้นโดยสมาคมการ ตลาดแห่งประเทศไทย ว่าการตลาด เป็นกระบวนการทางการตลาดที่เริ่มต้นจากความเข้าใจของลูกค้า
เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดทางการตลาดที่เรียกว่าความสำเร็จทาง การตลาด (Successful
Marketing)
แนวคิดดังกล่าวเริ่มต้นจากความเข้าใจในตลาดและผู้บริโภคด้วยการสร้างฐาน
ความรู้ทางสังคม (Knowledge -Base- Society)
ขณะที่เดียวกันต้องย้อนกลับมามองที่บริษัทหรือองค์กรว่าจุดยืนของแต่ละบริษัทคืออะไร
มีจุดแข็ง-จุดอ่อนตรงไหน
ขณะเดียวกันผู้บริหารต้องมองออกไปยังสภาวะแวดล้อมภายนอกของบริษัทด้วยว่าเป็นอย่างไร
ส่วน C ตัวที่สามที่พึงให้ความสนใจคือลูกค้า (Customer) หากบริษัทต้องการได้ในความนิยม
และความจงรักภักดีเพราะในระยะยาวจะเป็นตัวที่ก่อให้เกิดชุมชน ทั้งนี้แต่ละบริษัทต้องเริ่มต้น
ให้พนักงานใช้สินค้าหรือบริการที่บริษัทนั้นเป็นเจ้าของก่อน
จากนั้นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการอธิบายหรือชี้แจง (Construction) โดยเฉพาะผู้ที่เข้ามาในตลาดที่หลังในฐานะผู้ตามต้องสร้างความแตกต่างให้ได้
แต่ข้อดีของผู้ตามก็คือได้เรียนรู้ว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไรจากผู้ที่เข้ามา
ในตลาดก่อนจึงไม่เสียเวลา และเงินทุนในการลองผิดลองถูก
ขณะที่ความคิดสร้าง Creativity และการสร้างนวัตกรรมคืออีกสิ่งสำคัญในการตลาดยุคปัจจุบัน
เพราะความต้องการของผู้บริโภคซับซ้อน และหลากหลายมากขึ้น ส่วนต้นทุน (Coun-tability)
ต้องพิจารณาเพื่อเข้าใจถึง ต้นทุนโดยต้องทำความเข้าใจว่าจะได้ต้นทุนที่ลงไปแล้วกลับคืนมา
ได้อย่างไรรวมถึงต้องดูว่าจะเน้นราคาได้นานสักแค่ไหน และเป็นราคาที่ตลาดจะรับได้นานเพียงใด
นอกจากนี้ยังต้องเสริมด้วย การสื่อสาร (Communication) เป็นการสร้างความเชื่อโดยรวมว่าสิ่งต่างๆ
คือมูลค่าที่บริษัทได้นำเสนอให้กับลูกค้า ต่อมาคือการสร้าง ความมั่นใจ ความเชื่อถือ
(Creditability) ข้อดีของสินค้าที่เป็นตราระดับโลกคือการสร้างความน่าเชื่อถือมาเป็นเวลานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารความคาด
หวังของลูกค้าที่มีต่อสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
เพราะหากสินค้าไม่สามารถส่งมอบสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังได้จะทำให้ลูกค้าเสียความเชื่อมั่นในตัวสินค้า
กรรมการผู้จัดการใหญ่ยังกล่าวต่ออีกว่าประการต่อมาคือความใส่ใจ(Care) เป็นเครื่องมือการตลาดที่สำคัญมากเพราะจะเป็นตัวที่สร้างประสบการณ์ที่ดีๆให้กับผู้บริโภค
โดยดูว่าบริการหลังการขายเป็นอย่างไรเมื่อลูกค้าได้สัมผัสลูกค้าหรือได้รับบริการแล้วมีความรู้สึกเช่นไรและ
C ตัวสุดท้ายคือความสะดวกสบาย (Convenience)
ด้าน ดร.เสรี วงศ์มณฑา ประธานกรรมการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด กู๊ด คอมมูนิเคชั่น
กล่าวว่า เนื่องจากลูกค้าต้องการได้ผลประโยชน์จากตัวสินค้า เมื่อเป็นเช่นนี้สิ่งที่เจ้าของสินค้าต้องคำนึง
ถึง คือ
ประการแรก ความสะดวก สบาย คำนี้ถูกแปลมาจากคำว่า สถานที่ (Place) ที่ปัจจุบันใช้ไม่ได้แล้ว
จากเดิมที่เคยให้ความสำคัญในเรื่องของโลเกชั่นว่าควรจะตั้งอยู่ ณ จุดไหน
แต่ปัจจุบันคำ
ว่าความสะดวกสบายเข้ามาแทนที่ จะเห็นได้ว่าสินค้าหลายชนิดที่สามารถเติบโตขึ้นมาได้เพราะสามารถอำนวยความสะดวกสบาย
เช่น โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
ประการที่สอง ความรวดเร็ว เนื่องจากเวลาของคนในปัจจุบันเริ่มไม่พอใช้ ดังจะเห็นได้จากการเข้ามาของ
คอมพิวเตอร์ แฟกซ์ โทรศัพท์มือถือ หรือเอทีเอ็ม ที่ตอบ สนองเรื่องของความรวดเร็ว
ประการที่สาม มูลค่า เพราะลูกค้า ต้องการให้เงินทุกบาทมีค่า ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ในมูลค่าของราคา
(Price Value Relationship) เป็นตัวการที่ก่อให้เกิดความสึกกร่อนของตราสินค้า
ประการที่สาม การสับเปลี่ยน หรือการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในยุคที่เศรษฐกิจถด
ถอย เพราะลูกค้ารู้สึกว่าตนเป็นผู้สูญเสียจึงต้องการสิ่งชดเชย และทดแทน สิ่งที่จะมาชดเชยคือทำให้
ลูกค้าเป็นบุคคลสำคัญ
ในเรื่องของลูกค้ามีอยู่ 3 ประเภท ประเภทแรก คือ ลูกค้าราคา ลูกค้าประเภทนี้เจ้าของสินค้าไม่ต้องการได้
เพราะจะทำให้ผู้ผลิตต้องเลิกกิจการก่อนเวลาอันควร ประเภทที่สอง ลูกค้าคุณภาพ
ต้องการความเลิศเลอ แม้สินค้าจะมีราคาแพงก็ตาม เช่น หลุยส์ วิตตอง เป็นต้น
และประเภทที่สาม ลูกค้าที่มีความสัมพันธ์ สามารถสร้างได้ไม่ยากนัก หากได้บุคคลที่เป็นนักขาย
และนักการตลาดที่สามารถทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกว่าตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญ
ประการที่สี่ การสื่อสาร เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เนื่องจากลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปมาก
ต้องเปลี่ยนจากการทำโปรโมชั่นมาเป็นการทำคอมมูนิเคชั่น และต้องให้ความสำคัญให้มากขึ้นด้วย
เพราะการสื่อสารเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิด การรู้จักในตราสินค้า อันนำไปสู่การยอมรับ
ไปจนถึงความสัมพันธ์ เป็นการสร้างพื้นฐานเพื่อให้เกิดหรือได้ในสิ่งที่ต้องการ
"ทั้งหมดจะสามารถข้ามขวาก หนามได้ด้วยคอมมูนิเคชั่น" ดร.เสรี กล่าวในที่สุด