ปั้น สอนธรรมาภิบาล ปล่อยสินเชื่อแก้เงินล้น


ผู้จัดการรายวัน(3 พฤษภาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

"บัณฑูร" จวกธรรมาภิบาลเกิดยากหากผู้มีอำนาจในบ้านเมือง "ทำหน้าบาง" ไม่ยอมรับความเป็นจริง ผ่ากลางปล้องข้อเท็จจริงระบบธนาคารพาณิชย์กับการดูดซับสภาพคล่อง

ทางออกคือแบงก์ต้องปล่อยกู้เพื่อความอยู่รอดของลูกค้าและเศรษฐกิจชาติ ส่วนการออกพันธบัตรรัฐบาล 5 แสนล้านบาทเป็นของเทียม

ยอมรับแม้กสิกรไทยยังต้องปรับกลยุทธ์ใหม่หลังไตรมาสแรกสินเชื่อไม่เข้าเป้า ISEP ชี้แบงก์เอาเปรียบผลักภาระให้กับผู้ฝากเงิน ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ระดับสูง นายบัณฑูร ล่ำซำ

กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)TFB ว่าการที่รัฐบาลจะออกพันธบัตรไม่ถือเป็นตัวหลักในการดูดซับสภาพคล่อง เนื่องจาก การดูดซับสภาพคล่องที่แท้จริง

คือการปล่อยสินเชื่อซึ่งธนาคารทุกแห่ง พยายามทำอยู่แล้วเพราะเป็นรายได้หลักของธนาคาร "สินเชื่อแบงก์ไม่สามารถปล่อยได้มากนัก

เนื่องจากธนาคารแต่ละแห่งต้องพิจารณาความเสี่ยงของลูกค้าแต่ยอมรับว่าการออกพันธบัตรรัฐบาล จะดึงเงินฝาก ธนาคารพาณิชย์ไปได้

แต่ขึ้นอยู่กับวงเงินพันธบัตรรัฐบาลว่าจะออกมากน้อยแค่ไหน"นายบัณฑูรกล่าวภายหลังที่กระทรวงการคลังมีแผนจะออกพันธบัตรออมทรัพย์ โดยอ้างว่าเพื่อดูดซับสภาพคล่องที่มีอยู่ในระดับกว่า 5

แสนล้านบาทเพื่อพยุงดอกเบี้ย นายบัณฑูรกล่าวว่าการที่พันธบัตรของรัฐบาลจะได้ รับสนใจจากประชาชนเข้ามาลงทุน ควรเป็นพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุประมาณ 3-5 ปี

เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยจะสูงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่า ตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุถึงไตรมาสแรกปี45

สินเชื่อทั้งระบบหดตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2544 โดยสิ้นเดือนมีนาคมหดตัว 3.9% โดยมียอดคงค้าง 4,547.8 พันล้านบาท

แต่หากเป็นสินเชื่อที่ปรับผลการหักหนี้สูญและการโอนทางบัญชีไปยังเอเอ็มซี สินเชื่อก็ยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำโดยสิ้นเดือนมี.ค.เพิ่มแค่ 1% หรือมียอดคงค้างประมาณ 5,348 พันล้านบาท นายบัณฑูร

กล่าวถึงการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกสิกรไทยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาว่าไม่เป็นไปตามเป้า ดังนั้น ธนาคารมีแผนที่จะปรับกลยุทธ์ ที่จะปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ทั้งจะปล่อยสินเชื่อ ให้ได้

2% ตามอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยและธนาคารจะไม่มีการจัดเป้าสินเชื่อเพิ่มขึ้น แม้ธนาคารแห่งประเทศไทย จะปรับการขยายตัวเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นก็ตาม

รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังแจ้งว่าเดือนพฤษภาคมนี้จะมีการประมูลตั๋วเงินคลังเพื่อกู้เงินชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2545 วงเงินทั้งสิ้น 60,000 ล้านบาท สูงกว่าเดือนก่อนที่มีการประมูล 5.4

หมื่นล้านบาท เนื่องจากเป็นช่วงไตรมาส 3 ของปีงบประมาณจึงต้องสำรองเงินไว้รองรับการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณ สำหรับตั๋วเงินคลังที่จะประมูลมีทั้งรุ่นอายุ 28 วัน 91 วัน และ 182 วัน

โดยจะประมูลรุ่นละ 5,000 ล้านบาท เท่ากันวันละ 3 รุ่น เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม วันที่ 13 พฤษภาคม วันที่ 20 พฤษภาคม และวันที่ 24 พฤษภาคม การที่วงเงินตั๋วเงินคลังที่ประมูลเพิ่มขึ้นอย่าง

ต่อเนื่องเป็เพราะกระทรวงการคลังมีนโยบายที่จะเพิ่มปริมาณตั๋วเงินคลังในตลาดตราสารหนี้ เพื่อให้เป็นตัวที่สร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของตราสารระยะสั้นต่อไปในอนาคต และมีการหมุนเวียนในตลาดรองตราสารหนี้ด้วย อีกทั้งส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ในปีนี้ไม่มีการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ธนาคารออมสินเป็นผู้ถือครองเหมือนปีที่ผ่านๆมา จึงต้องเพิ่มวงเงินตั๋วเงินคลังเป็นการทดแทน

"บัณฑูร"อัดธรรมาภิบาล ผู้มีอำนาจไร้ยางอาย นายบัณฑูร กล่าวในการสัมมนาเกี่ยวกับระบบธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจัดโดยสถาบันกรรมการบริษัทไทยว่า

ธนาคารกสิกรไทยนั้นตั้งแต่เกิดวิกฤติการณ์เศรษฐกิจจนกระทั่งมีการเพิ่มทุนธนาคารในปี พ.ศ. 2540 ถือได้ว่าสัดส่วนของผู้ถือหุ้นนั้นได้กระจายออกไปมาก ไม่มีผู้ใดถือหุ้นใหญ่จนสามารถที่จะควบ

คุมการบริหารจัดการให้เป็นไปตามที่ประสงค์ได้ หากไม่เป็นเจตนาร่วมของผู้ถือหุ้นบริษัท แต่เวลา มีการวิจารณ์คนไทยก็ยังคงมองที่ภาพลักษณ์ เก่าไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ปรากฏ

ที่ผ่านมายอมรับว่าธนาคารกสิกรไทยเป็นธุรกิจครอบครัว แต่ ณ ปัจจุบันได้มีการกระจายหุ้นออกไป ทำให้สัดส่วนของผู้ถือหุ้นของธนาคารไม่มีกลุ่มใดเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยเฉพาะของ

กลุ่มตระกูลล่ำซำ ยังเหลือแต่ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการที่มีนามสกุลเดียวกันทำให้บริษัท เบเคอร์แอนด์แม็คเคนซี่ ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศ

ได้ท้วงติงมาว่าตามหลักสากลแล้วประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการขององค์กรไม่ควรมีนามสกุลเดียวกัน โดยประธานกรรมการควรมาจากกรรมการอิสระ และไม่ควรเป็นผู้ถือหุ้น

เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่กดดันและท้าทายที่ต้องพิสูจน์ผลงานออกมาสู่สาธารณชน "สำหรับธนาคารกสิกรไทยคงต้องใช้เวลาในการปรับในส่วนนี้

แต่ที่ผ่านมาผมในฐานะกรรมการผู้จัดการก็ไม่เคยสั่งท่านประธานกรรม การของผมได้แม้สักครั้งเดียว ยกเว้นอาของผมจะไปเปลี่ยนนามสกุลใหม่" นายบัณฑูร

กล่าวและอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของธนาคารในอดีตถึงปัจจุบันว่า ธนาคารได้ปรับระบบการจัด การให้มีหลักธรรมาภิบาลมากยิ่งขึ้นโดยมีการจัดกรรมการทั้งหมด 14 คน

แยกประธานกับกรรมการผู้จัดการออกมาต่างหาก ทำให้เหลือกรรมการ 12 คน และล้วนเป็นกรรมการอิสระ ซึ่งในจำนวนนี้มีต่างชาติร่วมอยู่ด้วย 3 คน 3 สัญชาติ และมีการแยกเป็นกรรมการย่อย 3 ทีม

ทีมละ 4 คน เพื่อเพิ่มบทบาทให้กรรมการแต่ละคน มีการคานอำนาจ หรือร่วมกันรับความเสี่ยงด้วยกัน "ตั้งแต่เริ่มดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็มีความรู้สึกว่าโปร่งใสดี การดึงฝรั่งเข้ามาเป็นกรรม

การก็ไม่ได้เป็นตัวแทนของใครแต่เป็นความประสงค์ต้องการให้เป็นสากล เพราะฝรั่งนั้นเวลา ตัดสินใจเขาไม่มีการเกรงใจกันเหมือนคนไทยเวลาพูดอะไรต้องเงยหน้ามองเพดาน"

นายบัณฑูรกล่าวถึงความจริงที่ประสบมาว่า จากการที่ธนาคารได้ดำเนินการมาตามลำดับนั้น ผมไม่ค่อยสนใจ หรือให้ความสำคัญนักว่าใครจะมาจัดระดับอย่างไร อะไรที่เห็นว่าโปร่งใสก็ดำเนินการ

การเปิดเผยข้อมูลก็เริ่มทำมาเรื่อยจน กระทั่งตอนนี้ก็คงจะเปิดต่อไป เพราะฝรั่งเขาบอกว่าดีจนตอนนี้ราคาหุ้นก็เตี้ยติดดินเปิดต่อไปอีกคงไม่มีอะไรจะเลวร้ายไปกว่านี้

ช่วงก่อนวิกฤติการณ์เศรษฐกิจได้ให้ตัวเลขเรื่องเอ็นพีแอลออกไปก็มีคนมองว่าเป็นการพูดเพื่อให้เกิดเรื่อง ทั้ง ๆ ที่สถานการณ์กำลังดี "มองว่าประเทศไทยนั้นมีแต่คนอยากพูดเรื่องธรรมาภิบาล

แต่รับไม่ได้กับการพูดข้อเท็จจริง รับฟังไม่ได้ว่ามีบางจุดของเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น รับฟังไม่ได้ว่ามีหนี้เสียใหม่ๆ เกิดขึ้น ก็ไม่ทราบว่าจะท่องธรรมาภิบาลไปทำไม ถ้าไม่สามารถรับฟังข้อเท็จจริงได้"

นายบัณฑูรยกตัวอย่างของความเหลื่มล้ำใน การปฏิบัติว่า ในขณะที่มีการพูดเรื่องธรรมาภิบาล กันอย่างมาก ตนก็เห็นว่ามีบริษัทขนาดใหญ่ตั้งหลายแห่ง ถ้าเอ่ยชื่อก็เป็นเรื่องเป็นราวเปล่า ๆ

ดูก็รู้ว่ามีการกู้เงิน โอนย้ายทรัพย์สินกันอย่างไม่ถูกต้องแต่มีความใกล้ชิดคุ้นเคยกับผู้มีอำนาจในบ้านเมือง "ขอย้ำว่าเป็นผู้มีอำนาจในบ้านเมืองก็ยังสามารถลอยตัวอยู่ได้อย่างสบาย ไม่เห็นมีสถาบัน

ไหนว่ากล่าวอะไร เพราะฉะนั้นในที่สุดแล้วกฎกติกาทั้งหลายที่ว่าจะก่อให้เกิดธรรมาภิบาลนั้นไม่ได้มีความสำคัญอะไรเลย ถ้าผู้มีอำนาจในบ้านเมืองทำหน้าบางรับฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ชอบไม่ได้"

ISEPฟันธงแบงก์แก้ปัญหา ไม่ตรงจุด"เอาเปรียบ"ผู้ฝากเงิน ทางด้านสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ(ISEP) ได้จัดทำร่างแผนแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลในวันอังคารที่ 7 พฤษภาคม

2545 นี้ ในการจัดทำร่างดังกล่าวได้เสนอแนะข้อ คิดเห็นและแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยนายภูษณ ปรีย์มาโนช ประธานสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ กล่าวว่า

การลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงินในขณะนี้เป็นการแก้ปัญหาที่เอาเปรียบประชาชน เนื่องจากธนาคารต้องการลดต้นทุนการดำเนินงาน แต่เลือกใช้วิธีการผลักภาระให้แก่ประชาชน

ในขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ได้ลดตาม นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ไม่สามารถควบคุมการเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ได้ตามความต้องการของรัฐบาล

จนกระทั่งการบริหารงานของธนาคารพาณิชย์มีอิทธิพลที่แข็งแกร่งขึ้น จนไม่ทำตามการขอร้องจากแบงก์ชาติ นายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร กรรมการ สถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ กล่าวว่า

สาเหตุที่แท้จริงของการลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็คือ การที่ธนาคารพาณิชย์ต้องการลดต้นทุน เนื่องเพราะในปัจจุบันจำนวนเงินฝากมีมากกว่าเงินปล่อนกู้

ทำให้ธนาคารต้องรับภาระดอกเบี้ยเงินฝากมากกว่ารายรับที่ได้จากการปล่อยกู้ ดังนั้นวิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือ การลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งถือเป็นการลดต้นทุนด้วยการผลักภาระไปให้ประชาชน

"นอกจากประชาชนทั่วไปที่ถูกเอาเปรียบด้วยการลดดอกเบี้ยเงินฝากแล้ว เด็กและแม่ค้าที่นำเงินเหรียญมาฝากที่ธนาคาร ก็พบว่ามีการคิดค่านับเหรียญในอัตราร้อยละ 2

เท่ากับว่าดอกเบี้ยเงินฝากปีแรกหายไปทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ฝากเงิน" นายอารักษ์ ยังกล่าวอีกว่า แม้ว่าสถาบันการ

เงินจะลดอัตราดอกเบี้ยลงมากเท่าใดก็ไม่ช่วยให้ภาคธุรกิจโดยรวมกระเตื้องขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ได้รับการลดแบบยุติธรรม เพราะธนาคารประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR และ MOR

ซึ่งในความเป็นจริงธนาคารปล่อยกู้ให้แก่ภาคเอกชนโดยใช้ดอกเบี้ย MRR ซึ่วไม่ได้รับการลดลงแต่อย่างใด จึงทำให้ภาคธุรกิจไม่ได้รับผลดีจากการลดดอกเบี้ยแต่อย่างใด ทางออกของเรื่องนี้ ทางสถาบันฯ

อยากเสนอแนะให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนเพื่อให้เกิดสภาพคล่องอย่างเต็มที่ 100% ด้วยการหามาตรการทั้งด้านการแข่งขันและส่งเสริมให้เกิดการปล่อยกู้ทางภาคธุรกิจให้มากขึ้น

เมื่อรัฐบาลรู้ว่าอุปสรรค์ของการปล่อยกู้ของสถาบันการเงินคือ ทุน หลักประกัน และกฎเกณธ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ต้องแก้ไขให้ถูกจุด ไม่จำเป็น ต้องแก้มาตรฐานสำรอง

แต่ต้องส่งเสริมสถาบันการเงินด้วยการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (เป็นเงินกู้ที่รัฐบาลให้แก่ธนาคารพาณิชย์) เพื่อแก้ปัญหาการ ตั้งสำรอง

วิธีการเช่นนี้จะเป็นตัวสนับสนุนให้สถาบันยอดปล่อยเงินกู้ออกมาในระบบมากขึ้น นายอารักษ์ กล่าวอีกว่า ทุกวันนี้การที่ภาค

ธุรกิจไม่เดินหน้าเพราะสถาบันการเงินไม่กล้าปล่อยกู้เพราะติดเงื่อนไขหลายประการและธุรกิจ เป็นจำนวนมากที่ ณ วันนี้มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนเป็นศูนย์ หรือรายที่เป็นเอ็นพีแล

จะไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ได้เลย จึงยาก ที่จะแก้ปัญหาสภาพเศรษฐกิจทั้งระบบได้ แต่การ ที่รัฐบาลได้ตั้ง บอย. ขึ้นมาและปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยนับเป็นเรื่องดี

แต่ก็ไม่เกิดสมดุลต่อระบบเนื่องจากบอย.ไม่มีเงินฝากเข้ามาในองค์กร ทำให้สภาพคล่องมีขีดจำกัดในระดับหนึ่ง ซึ่งในทางปฏิบัติรัฐบาลน่าจะนำวิธีการที่ใช้กับบอย. ไปใช้กับธนาคารพาณิชย์

เพื่อให้ปล่อยกู้ออกมาในระบบได้ ไม่เช่นนั้นผลพวงที่จะตามมาก็คือการเกิดเงินกู้นอกระบบ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่แพงกว่า และภาคธุรกิจจะกลับมาแข็งแรงอีกได้อย่างไร ศก.ไทยฟื้นพิงตลาดโลกฟื้น

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการอาวุโสสำนักวิจัยและวางแผนธนาคาร ไทยธนาคาร(BT) กล่าวว่าทาง สำนักวิจัยฯประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ในปีนี้จะขยายตัวในระดับ 3.5-3.9% และในปี 2546

จะขยายตัวที่ระดับ 3.7% ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจนในช่วงขาขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่จะทำให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน

รวมทั้งต้องมีการลงทุนอย่างมีคุณภาพจะช่วยทำให้เศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นในระยะมากกว่า 2 ปี ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยใน ไตรมาส3

จะขยายตัวในระดับ 4.3% และไตรมาส 4 ที่ระดับ 5.8% มาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะช่วยให้ภาคการส่งออกปรับตัวดีขึ้นตามรวมทั้งเศรษฐกิจภายในประเทศที่ดีขึ้น โดยในช่วง 4

เดือนแรกของปีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศและในประเทศยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

เพราะจะอาศัยเพียงการกระตุ้นการใช้ จ่ายของผู้บริโภคภายในประเทศเพื่อทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเพียงอย่างเดียวคงทำไม่ได้ เพราะเรื่อง ดังกล่าวจะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในระยะสั้นเพียง 1-2

ปีเท่านั้น สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2546 ที่มองว่าจะขยายในระดับ 3.7%

อ่อนลงจากเป้าหมายขั้นสูงในปีนี้เป็นผลมาจากการชะลอตัวของภาคการส่งออก และการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการที่จีนเปิดเสรีทางการค้า หากภาคธุรกิจ

ไทยไม่ปรับตัวหรือโครงสร้างทางธุรกิจก็ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้การที่เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวมากนัก ส่วนหนึ่งมาจากการกดดันของหนี้สาธารณะที่คาด ว่าจะเพิ่มสูงขึ้น

ส่งผลให้เงินงบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจมีน้อยลง แต่สิ่งที่จะช่วยให้หนี้ภาครัฐลดลงรัฐบาลควรเร่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้มีความคืบหน้าตามที่ได้วางแผนไว้และกระ

ตุ้นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อดึงดูดเงินจากต่างประเทศ ทั้งนี้ประเมินว่าหนี้ภาครัฐจะอยู่ในระดับสูงสุดในปี 2548 คือประมาณ 55% ของจีดีพี



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.