องค์ประกอบของการวางแผนธุรกิจขนาดเล็ก


นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2528)



กลับสู่หน้าหลัก

คำอธิบายสั้น ๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นแนวทางในการวางแผนสำหรับนักบริหาร

การกำหนดเป้าหมาย

ควรกำหนดเป้าหมายของบริษัทว่า จะทำอะไร? ซึ่งประกอบด้วย.-

- ชนิดของธุรกิจที่กำลังดำเนินการอยู่

- จุดยืนของบริษัท และเน้นความแตกต่างไปจากธุรกิจชนิดอื่น

- สถานภาพทางการเงิน

- ความรับผิดชอบของบริษัทที่มีต่อกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความสนใจในบริษัท

- ปรัชญาในการบริหารซึ่งเป็นเฉพาะตัวของบริษัท

- เรียงอันดับความสำคัญของวัตถุประสงค์ในการแข่งขัน

- ความยุ่งยากที่ไม่สามารถจะแก้ได้ ความไม่แน่นอน และควรจะเป็นแผนที่ยืดหยุ่นได้

แผนการตลาด

คือการวิเคราะห์สถานภาพของบริษัทในปัจจุบัน และโอกาสในวงการตลาด ซึ่งประกอบด้วย

-แนวโน้มและโอกาสของตลาดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งตลาดใหม่ที่กำลังเสาะหาอยู่

สิ่งเหล่านี้จะเกี่ยวพันกับความต้องการของลูกค้า ระบบการซื้อ เทคโนโลยี กฎระเบียบ การศึกษาของประชากร การดำรงชีวิต และอื่น ๆ

-สถานภาพของคู่แข่ง

-ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดอื่น ๆ ที่มีต่อสินค้าและตลาดของบริษัท

-การวิเคราะห์ลักษณะของสินค้าของบริษัท และสินค้าของคู่แข่ง ในทัศนะของผู้ซื้ออะไรคือสิ่งที่ผู้ซื้อพอใจในสินค้า และพอใจมากน้อยแค่ไหน

-ความเหมาะสมของสินค้าของบริษัทที่วางขายอยู่ในตลาดปัจจุบัน

-การวิเคราะห์และหาทางเลือกหลาย ๆ ทางในการติดต่อหรือเข้าถึงลูกค้า

-เลือกหาวิธีหลาย ๆ ทางที่จะนำสินค้าและการให้บริการไปสู่ลูกค้า

-การวิเคราะห์และการให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างของราคา

-ข้อความเกี่ยวกับคุณลักษณะของขนาดตลาด การเจริญเติบโตของตลาด และการคาดคะเนปริมาณสินค้าที่มีอยู่ในตลาด

แผนการขาย

ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการคาดหวังว่า ภายหลังจากที่วางแผนการตลาดแล้ว เราหวังอะไรจากการขายบ้าง

แผนการผลิต

แผนการผลิตจะเน้นถึงเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่มีอยู่ ความสามารถในการผลิต มาตรฐานสินค้าและสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมการผลิต

แผนการผลิตสินค้าในอนาคตและความเป็นไปได้

รวมถึงแผนการผลิตสินค้าใหม่ การวิจัย การปรับปรุงตลาด ตลอดจนการกำหนดการใช้ระบบใหม่ การสร้างตึกใหม่ โดยหลักการแล้วแผนนี้มักจะเขียนในรูปของโครงการ

แผนทรัพยากรบุคคล

ทำการประเมินคุณภาพและปริมาณของเจ้าหน้าที่ทุกระดับที่มีอยู่ในบริษัท ตลอดจนจำนวนฝีมือแรงงานที่ต้องการ ในแผนควรจะวางโครงการในอนาคตไว้ด้วยว่า บริษัทควรจะมีเจ้าหน้าที่แต่ละระดับ ระดับละกี่คน รวมทั้งจะต้องรับเพิ่มอีกกี่คนในแต่ละปี ในแผนควรจะคำนึงถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจและความชำนาญงานของเจ้าหน้าที่

แผนงบประมาณ

งบประมาณของบริษัทอาจถือตามปีปฏิทินหรือตามปีวงจรธุรกิจก็ได้ โดยอาจแบ่งงบประมาณออกเป็นปีละ 4 งวด ควรจะมีเงินสดเอาไว้หมุนเวียนด้วย เพราะเป็นสิ่งจำเป็นมาก ผู้จัดการในแต่ละแผนกจะต้องปฏิบัติตามแผนงบประมาณ


คอลัมน์ การจัดการ


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.