ฝ่า วิกฤต ด้าวยการลงทุนในประเทศ ตลาดฯ ชี้แนวโน้มตลาดทุนไทยดีขึ้น


ผู้จัดการรายวัน(2 พฤษภาคม 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ชี้ศักยภาพและการพัฒนาตลาดทุนไทยมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากมีความเพียงพอของเงินทุน หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดราย ได้ลดลง และมีความสามารถในการทำกำไร

ซึ่งตลาดหุ้นที่ดีขึ้นนี้แสดงถึง ะดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ลงทุนที่เพิ่มขึ้น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กล่าวในงานปาฐกถาเรื่อง "ศักยภาพ

และทิศทาง การพัฒนาตลาดทุนไทย" ในงานประชุมโรตารี ในมุมมองของการส่ง เสริมการลงทุนของไทยในช่วงวิกฤต ว่าโดยภารกิจของตลาดหลัก- ทรัพย์คือมีบทบาทเป็นตลาดรอง

การซื้อขายเมื่อเทียบกับเอเชีย ตะวันออก ประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากมีความเชื่อถือ และปริมาณการซื้อดีกว่าปกติ มีปริมาณ หลักทรัพย์ 12,000 ล้านบาท ถือว่า

ปริมาณธุรกิจปริมาณธุรกิจอยู่ในภาวะปกติ โดยมีหมวดธุรกิจหลักๆ ได้ แก่ การขนส่ง ก่อสร้าง อสังหาริม- ทรัพย์ และการสื่อสาร ซึ่งมีความสามารถจากการก่อรายได้ให้เกิดทรัพย์สินดีขึ้นตลอด โดยมีสัด

ส่วนในเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้น ความสามารถในการทำกำไรหลังวิกฤตเศรษฐกิจขาดทุนน้อยลง ทั้งมีผลตอบแทนจากการจ่ายเงินปันผล 6% ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี และผลขาด

ทุนของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันขาดทุนน้อยลง อีกทั้งในอนาคตมีแนวโน้มจะทำกำไร นอกจากนี้ตลาดทุนยังให้สิทธิ ประโยชน์แก่บริษัทจดทะเบียนโดย บริษัทจำกัด จะต้องเสียภาษี 30%

บริษัทจดทะเบียนเสียภาษี 25% และบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) เสียภาษี 20% ซึ่งแนวโน้มในปีนี้น่าจะมีบริษัทเข้าใหม่ประมาณ 50 บริษัท และมีที่ปรึกษาทางการเงินเพิ่มขึ้นถึง 50 บริษัท

ซึ่งเป็นตัวกลางที่มีความเข้มแข็งขึ้น แนวโน้มในการทำกำไรมีการฟื้นตัวในหมวดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีหมวดที่มีความสำคัญมากเพราะจะส่งผล ต่อธุรกิจกันเป็นลูกโซ่ นายกิตติรัตน์ยังกล่าวอีกว่า

การที่ราคาหุ้นสูงขึ้นเป็นตัวชี้ว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น เนื่องจากจะทำให้ เกิดความเชื่อมั่น และมีความมั่นใจ มากขึ้นในการลงทุน และยังเป็นตัว วัดดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนและผู้บริโภคซึ่งมีสัญญาณดีขึ้น

ตลาดหุ้นจึงมีความสำคัญ ดังนั้นตลาดหลักทรัพย์จึงมองว่าสภาพแวดล้อมคือโอกาสและ ต้องแปลงสภาพแวดล้อมให้เป็นโอกาสโดยใช้การตลาด โดย ฟิลิป คอตเลอร์ มองตลาดทุนไทยเสมือน

เป็นห้างสรรพสินค้า เป้าหมายแรกก็คือ สินค้าต้องมีคุณภาพ ซึ่งใช้หลักบรรษัทภิบาล และเป้าหมายรองลงมา คือ การเข้ามาลงทุนต้อง สะดวก และมีบริการที่ดี ซึ่งในการ

ลงทุนถ้าใช้ช่องทางในการลงทุนโดย ผ่านกองทุนรวมจะได้รับผลตอบ แทนถัวเฉลี่ยที่ดีกว่าลงทุนเอง อย่างไรก็ตามในช่วง 14-15 ปี ที่ผ่านมาการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ให้ผลตอบแทนที่ไม่ค่อยปกตินักคือ

ถ้าได้กำไรก็จะได้มาก แต่ถ้าขาดทุน ก็จะขาดทุนมากเช่นกัน ในความคิดเห็นของผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์มองว่าการแก้ปัญหา เศรษฐกิจนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์ กับการเมือง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าการเมือง

มีความยุ่งเหยิงมากน้อยแค่ไหนและ ความมีระเบียบวินัยในการบริโภคและการลงทุน ถ้าเร่งฟื้นเศรษฐกิจมากก็จะทำให้ไม่มีวินัยในการบริโภค และการลงทุน

และการที่ตลาดทุนไม่มีความเข้มแข็งเกิดจากการมีการ ค้ำประกันเงินฝากกันมานาน "ถ้าต้องการให้คนมาสนใจลง ทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น ไม่จำเป็นจะต้องมีบริษัทเงินทุนเพิ่มมากขึ้น

เพราะในปัจจุบันนักลงทุนมีทัศนคติในการแข่งขันระยะสั้นมากเกินไปอาจเป็นอันตราย และประเทศไทยก็มีบริษัทหลักทรัพย์มากเกินไปทำให้ในระยะสั้นคงไม่มี ทิศทางการเพิ่มของบริษัทหลักทรัพย์

แต่ในอนาคตอาจมีทางที่ธนาคารพาณิชย์อาจเข้ามามีบทบาทในธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์ เริ่มมีการให้บริการ Private Banking มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม

ปัจจุบันยังคงพยายามใช้บทบาทขององค์กรที่มีอยู่แล้วในการพัฒนา"



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.