คอมพิวเตอร์รุ่นที่ห้าคืออะไร? ผมคือคอมพิวเตอร์ที่รู้จักคิด


นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2526)



กลับสู่หน้าหลัก

หัวใจหลักของแผนการยุคที่ห้าก็คือการยืนอยู่บนพื้นฐานแห่งความรู้

ระบบที่เก็บรวบรวมข้อมูลมากมายในแนวทางที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยกลไกการแก้ปัญหาของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในท้ายที่สุด ข้อมูลความรู้เหล่านี้จะแทนค่าโดยสัญลักษณ์ สัญลักษณ์ง่ายๆ ที่สุดอย่างหนึ่งก็คือวัตถุ “กลุ่มก้อนของการอ้างเหตุผลซึ่งอธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง” วัตถุหนึ่งมักจะเชื่อมโยงกับวัตถุอื่นๆ โดยการอ่านสัญลักษณ์ หรือการเชื่อมโยงความทรงจำ การเชื่อมโยงอย่างมีแบบแผน เช่น การแบ่งแยกตามระบบสัตวศาสตร์ หรือพฤกษศาสตร์ แบ่งอย่างมีลำดับชั้นขั้นตอน ยกตัวอย่าง เช่น นกกระจอก คือนกชนิดหนึ่ง ในกรณีนี้ทั้งนกกระจอกและนกต่างก็เป็นวัตถุใต้พื้นฐานความรู้นี้ ถ้าพื้นความรู้บอกไว้ว่า “นกคือสัตว์ซึ่งสามารถบินได้” คอมพิวเตอร์นี้จะลดลงไปโดยอัตโนมัติในข้อมูลที่ว่า “นกกระจอกสามารถบินได้” คอมพิวเตอร์นี้ยังคงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อยกเว้นต่างๆ ซึ่งได้รับการป้อนข้อมูลเข้าไป เช่น นกกระจอก นกเพนกวิน และนกกีวีบินไม่ได้ แต่ก็เป็นนก และนกโดโด้ก็บินไม่ได้แต่สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่เพราะว่ามันเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งซึ่งเคยอยู่ในตระกูลของนก ดังนั้น จึงต้องป้อนข้อมูลบรรจุไว้ในพื้นความรู้ด้านสัตวศาสตร์

สัญลักษณ์ธรรมดาๆ และมีประโยชน์ยิ่งอีกอย่างหนึ่งก็คือ กฎเกณฑ์ กฎเกณฑ์ประกอบไปด้วยการรวบรวมหมวดหมู่ถ้อยคำในส่วนที่เรียกว่า “ถ้า” และข้อสรุปอีกส่วนหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ดังนั้น” ตัวอย่างเช่น “ถ้าเพดานหมอกต่ำกว่า 700 ฟุต และถ้าไม่พยากรณ์อากาศจัดการแก้ไขโดยด่วนภายในระยะเวลาหนึ่งชั่วโมง ดังนั้น การลงจอดของเครื่องบินก็จะเป็นเรื่องอันตราย มีผลเสียต่อระบบการจราจรทางอากาศ และการลงจอดในสนามบินใกล้เคียงจึงเป็นสิ่งจำเป็น” เพื่อที่จะหาว่า ถ้ากฎเกณฑ์นี้อยู่ในประเด็นเดียวกันกับเหตุผลที่มีอยู่แล้ว โปรแกรมการแก้ไขปัญหาจะต้องพิเคราะห์ไปในเรื่องของการรวบรวมข้อมูล “ถ้า” ไว้ในพื้นความรู้

เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ห้าจะจัดการเก็บพื้นความรู้ล่าสุดเอาไว้ กฎเกณฑ์นับพันๆ ข้อและวัตถุนับพันๆ อย่างจะถูกบรรจุเข้าไปไว้ วัตถุแต่ละอย่างก็มีคำอธิบายเป็นอักษรนับพันตัวในส่วนที่เก็บไว้สำหรับรวบรวมข้อมูล (ดังนั้น นอกจากจะมีคำอธิบายว่า นกกระจอกบินได้แล้ว ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับอุปนิสัย การแพร่พันธุ์ เส้นทางการอพยพ และอื่นๆ อีกมากมายเกี่ยวกับตัวมัน) ถ้าพื้นความรู้นี้มีมากเกินกว่าจะบรรจุไว้ในอักษรพันตัวนี้ ก็จะมีการแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นส่วนเล็กๆ เช่น อาจแยกนกกระจอกออกเป็นนกกระจอกริมรั้ว นกกระจอกทุ่ง และอื่นๆ แต่ว่าแต่ละส่วนนี้ก็จะประกอบไปด้วยข้อมูลอธิบายด้วยลักษณะที่พร้อมมูลเช่นเดียวกับวัตถุทั่วๆ ไป

ในช่วงระยะสิบปีของการดำเนินไปตามแผนการนี้ จุดมุ่งหมายของญี่ปุ่นก็เพื่อที่จะพัฒนาความสามารถด้านการรวบรวมพื้นความรู้ซึ่งสามารถให้กฎเกณฑ์ข้อวินิจฉัยนับหมื่นๆ อย่าง และวัตถุนับร้อยล้านชนิด หน่วยงานแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาซึ่งแสดงความสนใจที่จะได้เป็นตัวแทนของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ได้แสดงข้อคิดเห็นเอาไว้ว่า การรวบรวมข้อมูลมากมายอย่างนี้ บันทึกความจำจะเก็บรวบรวมข้อมูลได้เท่า ๆ กับสารานุกรมบริแทนนิกาทีเดียว (ENCYCLOPAEDIA BRITANNICA)


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.