จี-สโตร์ : ยุทธศาสตร์เชิงรุกยักษ์ค้าปลีกเปิดสงคราม (ตอนที่ 1)


ผู้จัดการรายวัน(30 เมษายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

ธุรกิจค้าปลีกในเมืองไทยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ช่วงก่อนปี 2500 รูปแบบการค้าปลีก เป็นเพียงร้านค้าห้องแถวที่รู้จักในนามร้านโชวห่วย ต่อมานำแนว คิดค้าปลีกแบบตะวันตกพัฒนาการจำหน่ายสินค้า

ทำให้เกิดห้างสรรพสินค้าครั้งแรกในประเทศไทย และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูงจากกลุ่มผู้บริโภค ต่อมาพัฒนาการอีกครั้ง

สู่รูปแบบศูนย์การค้าที่มีทั้งห้างสรรพสินค้าและร้านค้าในอาคารเดียวกัน จากนั้น ศูนย์ การค้าพัฒนาเป็นชอปปิ้งคอมเพล็กซ์ ที่นอกจากประกอบด้วยห้างสรรพสินค้าและร้านค้า ยังมีอาคารสำนักงาน

โรงภาพยนตร์ สวนสนุก และศูนย์อาหาร เป็นต้น จากนั้นช่วงที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวค่อนข้างสูงช่วงปี 2530-2539 ธุรกิจค้าปลีกเมืองไทยริเริ่มพัฒนาช่องทางจำหน่ายเพิ่มขึ้นอีกหลายรูปแบบ

ส่วนใหญ่ร่วมทุนระหว่างนักลงทุนไทยกับนักลงทุนต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าสะดวกซื้อ ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ไฮเปอร์-มาร์เก็ต หรือร้านค้าเฉพาะอย่าง เป็นต้น จนกระทั่งปี 2540

ที่ไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจและการเงิน ทำให้ต่างชาติซึ่งเดิมเป็นผู้ถือหุ้นไม่ถึงร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ปรับขยับเพิ่มขึ้นเหนือผู้ร่วมทุนชาวไทยปัจจุบัน ขยายสาขา

อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทั้งในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และต่างจังหวัด โดย เฉพาะรูปแบบดิสเคานต์สโตร์ ที่จำหน่ายสินค้าราคาถูก ที่รองรับความต้องการผู้บริโภคยุคประหยัดอย่างดี

ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกขนาดกลางและเล็ก ที่ตั้งบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะร้านโชวห่วย ซึ่งเป็นค้าปลีกรูปแบบดั้งเดิมที่ไม่สามารถปรับตัวรับกับการแข่งขันที่รุนแรงได้ ต้องปิดกิจการจำนวนไม่น้อย

ล่าสุดกลุ่มค้าปลีกสมัยใหม่อย่างดิสเคานต์สโตร์และคอนวีเนียน สโตร์บางราย ขยายตัวไปสถานีบริการน้ำมัน เพื่อเปิดบริการร้านค้าสะดวกซื้อ หรือจี-สโตร์ (G-store : Gas Station Store)

ที่เดิมส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเองของบริษัทผู้ค้าน้ำมัน หรือเจ้าของสถานีบริการน้ำมัน แล้วอย่างเป็นทางการ ทำให้ร้านค้าดั้งเดิมอย่างโชวห่วย ต้องเผชิญการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หากจี-

สโตร์ที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการค้าปลีกที่เชี่ยวชาญระดับโลก ขยายตัววงกว้างขึ้นจากใจกลางเมือง ออก ไปจนถึงชานเมือง และต่างจังหวัด นอก จากเขตหัวเมืองใหญ่ ขณะนี้สัดส่วน จี-

สโตร์สถานีบริการน้ำมันเมืองไทยยังไม่ถึงร้อยละ 35 ของจำนวนสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ จี-สโตร์ยังมีโอกาสขยายตัวอีกมาก คอนวีเนียนสโตร์-สถานีบริการน้ำมัน : สร้างพันธมิตร : เสริมศักยภาพ

คอนวีเนียนสโตร์สถานีบริการน้ำมัน หรือจี-สโตร์ (G-store : Gas Station Store) เป็นรูปแบบธุรกิจค้าปลีกที่เข้าสู่เมืองไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปีแล้ว เปิดบริการ จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงสินค้า

อุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ภายในสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง บริษัทผู้ค้าน้ำมันแต่ละแห่งต่างพยายามสร้างรูปแบบเฉพาะตัวให้โดดเด่น

เพื่อสร้างความประทับใจให้ผู้บริโภคที่ใช้บริการ โดยเฉพาะออกแบบร้านด้วยสีสันสดใส การวางสินค้าภายในร้าน และพัฒนารูปแบบคอนวีเนียนสโตร์ของตนเองต่อเนื่อง

การขยายตัวของบริษัทผู้ค้าน้ำมันสู่ธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์ เป็นผลจากสถาน การณ์แข่งขันที่ทวีความรุนแรงของสถานีบริการน้ำมัน ประกอบกับค่าการตลาดที่ผู้

ประกอบการเคยได้รับจากบริษัทผู้ค้าน้ำมันลดลงมาก ทำให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันต้องเสริมบริการด้านอื่นๆควบคู่ด้วย ในลักษณะระบบสถานีบริการครบวงจร ได้แก่ ให้บริการล้างอัดฉีด

เปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น ตรวจเช็กเครื่องยนต์ หรือ บริการห้องน้ำที่สะอาด รวมถึงการค้าปลีก รูปแบบคอนวีเนียนสโตร์ หรือที่รู้จักกันในนาม จีสโตร์ ด้วย

ตลาดคอนวีเนี่ยนสโตร์สถานีบริการน้ำมันในไทยปี 2544 สาขาทั้งหมดประมาณ 1,000 แห่ง ผู้ประกอบการคอนวีเนียนสโตร์สถานีบริการน้ำมันในไทย แบ่งตามลักษณะการมีพันธมิตรเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ

1. จี-สโตร์ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างบริษัทผู้ค้าน้ำมัน กับกลุ่มโมเดิร์น เทรด ได้แก่ - บริษัท ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) ที่ร่วมกันดำเนิน

การจี-สโตร์ภายใต้ชื่อเซเว่นอีเลฟเว่น ก่อนหน้านี้ ปตท. ซึ่งเป็นบริษัทค้าน้ำมันที่มีสถานีบริการมากที่สุดในไทยกว่า 1,400 แห่ง มีจี-สโตร์หลากหลายยี่ห้อ เช่น พีทีทีมาร์ท สินสยาม จอย ไดโนมาร์ท เอเอ็ม

พีเอ็ม ต้นปี 2545 ปตท. ปรับยุทธศาสตร์เชิงรุก เพื่อแข่งขันธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ด้วยการเลิกทำแฟรนไชส์กับเอเอ็ม-พีเอ็มที่มีทั้งหมด 51 สาขาใน ปตท. ร่วมมือกับเซเว่นอีเลฟเว่นแทน นอกจากนี้

คอนวีเนียนสโตร์ในสถานี บริการที่ดำเนินการโดยดีลเลอร์ ปตท. อีกกว่า 50 แห่ง เซเว่นอีเลฟเว่น กับ ดีลเลอร์กำลังอยู่ระหว่างเจรจากัน บริษัท

ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่นตั้งเป้าหมายว่าจะเปิดร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. 300 แห่งภายในปี 2545 เพิ่มเป็น 700 แห่งปี 2546 จากจุดแข็ง ปตท.ที่มีสถานีบริการน้ำมันกระจายทุกจังหวัด

และอำเภอหลักๆ มากที่สุดในไทยถึง 1,428 แห่ง ประกอบกับคุณภาพน้ำมันเป็นที่ยอมรับในตลาด ขณะที่จุดแข็งเซเว่นอีเลฟเว่น คือ ระบบและเทคโนโลยีทันสมัย

อีกทั้งเป็นที่รู้จักและยอมรับกลุ่มผู้บริโภคนานแล้ว คอนวีเนียนสโตร์ในสถานบริการน้ำมันที่เป็นการร่วมมือกันของกลุ่มนี้ น่าจะเติบโต ได้ไม่แพ้รายอื่นๆ และน่าจับตามองอย่างใกล้ชิด - บริษัท เอสโซ่

(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกับเทสโก้ โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เอสโซ่เป็นบริษัทผู้ค้าน้ำมันรายหนึ่งที่เห็นแนวโน้มการพัฒนาธุรกิจค้าปลีกภายในสถานีบริการน้ำมัน เพื่อใช้เป็นจุดดึงดูดลูกค้า

และเสริมภาพลักษณ์บริษัทนานแล้ว โดยประมาณปลายปี 2533 เอสโซ่เปิดจี-สโตร์ภายใต้ชื่อเอสโซ่ฟู้ดส์สโตร์ แล้วเปลี่ยนเป็นไทเกอร์มาร์ท ซึ่งปัจจุบันมีไม่ต่ำกว่า 250 แห่ง ล่าสุดเป็นพันธมิตรกับเทสโก้

โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ด้วย โดยร่วมกันเปิดจีสโตร์ภายใต้ชื่อเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส ตั้งแต่ปลายปี 2544 เป็นผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรูปแบบดิสเคานต์สโตร์รายแรก

ที่ลดขนาดพื้นที่ขายสู่สถานีบริการน้ำมัน คาดว่าจะมีทั้งสิ้น 10 สาขาปี 2545 เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส ผสมผสาน ระหว่างคอนวีเนียนสโตร์และซูเปอร์-มาร์เก็ตขนาดพื้นที่ 200 ตารางเมตร ขึ้นไป

เน้นจำหน่ายสินค้าหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทอาหารสด อาหารแห้ง เบเกอรี่ หรือเครื่องดื่ม รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และสินค้าเฮาส์แบรนด์

นำกลยุทธ์ราคาเป็นแกนนำแข่งขัน โดยจำหน่ายสินค้าราคาเดียวกับที่จำหน่ายในเทสโก้ โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ทุกสาขา - บริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ดำเนินการจี-

สโตร์ภายใต้ชื่อจิฟฟี่คิทเช่น บายท็อปส์ ภายในสถานีบริการน้ำมันเจ็ท โดยท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ตป้อนวัตถุดิบด้านอาหารสด ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 5 สาขา การที่ท็อปส์

ซูเปอร์มาร์เก็ตร่วมมือกับสถานีบริการน้ำมัน เพื่อเปิดดำเนินการ จี-สโตร์ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการรุกสู่ตลาดขนาดใกล้เคียงกับท็อปส์ ซูเปอร์-มาร์เก็ต ของผู้ประกอบการรายใหญ่ ทั้งเทสโก้ โลตัส

ซูเปอร์เซ็นเตอร์ และบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ส่งผลให้เจ้าตลาดเดิมกลุ่มซูเปอร์-มาร์เก็ตอย่างท็อปส์ ต้องเร่งปรับตัวด้วยการเปิดร้านค้าขนาดใหม่ เพื่อรักษาฐานตลาดเดิม และสร้างโอกาสขยายตัว

ทั้งในนามท็อปส์ซิตี้มาร์เก็ตรูปแบบ Ready to Go เน้นทำเลอาคารพาณิชย์ย่านธุรกิจ ซึ่งเป้าหมายหลักคือกลุ่มพนักงานออฟฟิศ และรูปแบบจี-สโตร์ ที่มาพร้อมพื้นที่อาหารเร่งด่วน และเบเกอรี่

เดิมสถานีบริการน้ำมันเจ็ทมีร้านจี-สโตร์อยู่แล้ว ชื่อจิฟฟี่ ที่บริษัทผู้ค้าน้ำมันลงทุนเอง มีจำนวนร้านจิฟฟี่ทุกสถานีบริการน้ำมันเจ็ท กว่า 120 แห่ง ส่วนอาหารและเครื่องดื่มที่ให้บริการ ยี่ห้อหลักคือโดนัท

และร้านเอสแอนด์พี รวมถึงเอแอนด์ดับลิว เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็น สินค้าที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ยังมีกาแฟสด ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่เกี่ยวเนื่องเป็นตัวเสริมด้วย พร้อมจัดสถานที่ภายในร้านกว้างขวาง

จัดวางสินค้าเป็นหมวดหมู่ เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับลูกค้าเลือกซื้อ สินค้า ซึ่งเมื่อรวมจำนวนสาขาจิฟฟี่คิทเช่น บายท็อปส์ และจิฟฟี่แล้ว สถานีบริการน้ำมันเจ็ทมีจีสโตร์ทั้งสิ้น 132 แห่ง

จากการสังเกต ผู้ประกอบการค้าปลีกสมัยใหม่หลายรายต่างพยายามเพิ่มช่องทางขายมากขึ้น ด้วยการเป็นพันธมิตรกับบริษัทผู้ค้าน้ำมัน เพื่อเปิดดำเนินการจี-สโตร์ แต่บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็น-เตอร์

ซึ่งเป็นซูเปอร์เซ็นเตอร์รายที่ 2 ที่ใช้ กลยุทธ์ ย่อขนาดร้านค้าปลีกในนามลีด-เดอร์ไพรซ์ เน้นทำเลที่ประชากรหนาแน่น ใจกลางเมือง และปริมณฑล ขนาดพื้นที่ 800-1,000 ตารางเมตรต่อสาขา ลักษณะ

สแตนอโลน มีสินค้าให้บริการประมาณ 1,000 รายการ สินค้า ภายใต้แนวคิดราคา ถูกใกล้คุณ เน้นสร้างเฮาส์แบรนด์เป็นกลยุทธ์สำคัญ เพื่อสร้างความแตกต่างจากบรรดาคู่แข่งรายอื่นนั้น

ยังไม่ขยายตัวไปในสถานีบริการน้ำมันเหมือนคู่แข่ง แต่อนาคตต้องติดตามต่อไปว่าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์จะกระโดดแข่งขันในสมรภูมิจี-สโตร์หรือไม่

เพราะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เปิดโอกาสการขยายตัวซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นค้าปลีกขนาดใหญ่ ที่นับวันจะหาทำเลที่เหมาะสมยากขึ้นทุกขณะ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.