พิษดอกเบี้ยบิดเบือน คนออมเจอ "สองเด้ง"


ผู้จัดการรายวัน(25 เมษายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

การลดดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารพาณิชย์ไทย โดยเฉพาะครั้งล่าสุดที่ธนาคารเอเชียเป็นผู้นำ ลดดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ จาก 1.5% เหลือเพียง 1.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real

Interest Rate) ของผู้ ฝากเงินออมทรัพย์กลายเป็นติดลบ 0.25% เมื่อคำนวณโดยหักอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Inflation Targeting) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดหมายว่าอยู่ในระดับ 1.50% ปีนี้ออก

แต่ถ้าพิจารณาโดยนำอัตราเงินเฟ้อ 0.6% ไตรมาส 1 ปี 2545 มาคำนวณ พบว่าผลตอบแทนจากเงินฝากยังเป็นบวกเล็กน้อย ที่ 0.65%

ส่วนอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ยังไม่มีการปรับลดนั้น ยังให้ผลตอบแทนเป็นบวกประมาณ 1.15%-1.4% อย่างไรก็ดี การประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อพื้นฐานนั้น คณะกรรม

การนโยบายการเงินของแบงก์ชาติ ให้ตัวเลขเงินเฟ้อนี้ไว้ตั้งแต่มกราคม ปีนี้ ซึ่งเวลานั้นยังประเมินว่าไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเบี่ยงเบนเป้าหมาย

โดยแบงก์ชาติกำหนดเป้าหมายแนวโน้ม เงินเฟ้อพื้นฐานระหว่าง 1%-1.5% ทั้งปีนี้ และยังมีแนวโน้มต่ำกว่าที่คาดไว้ด้วย สาเหตุเพราะเลื่อนการปรับ ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มออกไปบวกปัจจัย

ราคาน้ำมันขณะนั้นที่ลดลง ปลายเดือนนี้ คณะกรรมการ นโยบายการเงินจะปรับตัวเลขเงิน เฟ้อครั้งใหม่ โดยพิจารณาปัจจัยการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันด้วย แต่คณะกรรมการฯ บอกล่วงหน้าแล้วว่า

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 22 เมษายน คณะกรรมการฯ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐ-กิจหลายตัวแสดงการปรับตัวทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งด้านการผลิตและการใช้จ่ายในประเทศ

ขณะเดียวกันราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ไม่สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งฐานะการเงินด้าน ต่างประเทศยังคงมั่นคง เมื่อพิจารณาจากภาระหนี้ต่างประเทศ และฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ

โดยนัยนี้ หมายความว่าแบงก์ชาติมีสิทธิ์คงเป้าหมายเงินเฟ้อปีนี้ไว้ที่ 1%-1.5% แนวโน้มเศรษฐกิจระยะข้างหน้า คณะ กรรมการฯคาดว่าการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ณ ปัจจุบัน

จะกระทบภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก หากเหตุการณ์ในตะวันออกกลาง การสู้รบระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล คลี่คลายลง

อีกทั้งการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นระยะต่อไป ย่อมคาดหมายได้ว่าการประกาศแนวโน้ม เงินเฟ้อพื้นฐานใหม่สิ้นเดือนนี้

คงไม่มีการปรับเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แต่ในอนาคตเมื่อปัจจัยราคาน้ำ มันแพงยังเป็นไปต่อเนื่อง แน่นอนว่าต้องส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้ จริงติดลบเพิ่มขึ้น!

ประชาชนที่พอมีเงินฝากอยู่บ้าง ได้ผลตอบแทนดอกเบี้ยแท้จริงติดลบเพิ่มขึ้น! ทั้งที่ความเชื่อดั้งเดิม การฝากเงินกับแบงก์ ปลอดภัยที่สุดแล้ว แนวโน้มดอกเบี้ยยังจะลงต่อเนื่องอีก

หลังจากที่ธนาคารเอเชียปรับลดอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ลงเป็นเจ้าแรก ธนาคาร อื่นๆ ก็จะมีแนวโน้มทยอยปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยลงเช่นกัน แต่อาจจะทิ้งห่างอีกช่วง หนึ่ง

เพื่อหลีกเลี่ยงกระแสต่อต้านจากสังคม เพราะธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ไม่มีความต้อง การเงินฝากเพิ่ม เนื่องจากยังไม่สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ ช่องทางลงทุนอื่นของผู้มีเงินออม ยังมีความเสี่ยงสูง

ขณะที่ผลตอบแทนจากการฝากเงินของผู้ออมทั้งหลายกลายเป็นติดลบไปแล้วนั้น ผู้ออมมีช่องทางเลือกอื่นหรือไม่ในการหาผลตอบแทนจากเงินออมของตน? ช่องทางลงทุนของผู้ออมเวลานี้พอมีอยู่บ้าง

ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตลาด หลักทรัพย์ ที่ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ผลตอบแทนประมาณ 5% ตลาดตราสารหนี้ ซึ่ง ณ สิ้นกุมภา-พันธ์ พันธบัตรรัฐบาลให้ผลตอบแทนประมาณ 3%-5%

หน่วยลงทุนของกองทุนรวม และล่าสุดการลงทุนในต่างประเทศโดยผ่านกองทุนที่ได้รับอนุญาตให้นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ (Foreign Investment Funds) ช่องทางลงทุนอื่นที่กล่าวมาข้างต้น

ล้วนมี ความเสี่ยงอย่างมากทั้งสิ้น โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการฝากเงินในธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นตลาด หลักทรัพย์ที่ผันผวน แม้กระทั่งผู้จัดการกอง ทุนอย่าง บลจ.กสิกรไทย ซึ่งถือเป็น บลจ.ที่มีส่วน

แบ่งตลาดกองทุนมากที่สุดในประเทศไทย ยังยอมรับกับผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนเปิดรวงข้าว 3 ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ว่า ผลดำเนินงานรอบระยะบัญชีปีที่แล้ว

ต่ำกว่าดัชนีหุ้นตลาดหลักทรัพย์ เพราะต้องระมัดระวังความ เสี่ยงการลงทุน เนื่องจากเกรงสถานการณ์จะพลิก ผันหลังเกิดเหตุการณ์สหรัฐอเมริกาถูกบอมบ์ 11 กันยายน 2544

ส่วนการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ปกติแล้วเป็นช่องทางสำหรับสถาบันการเงินและผู้จัดการกองทุน ซึ่งก็ประสบภาวะความผันผวนรอบหนึ่ง จากนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาด ซื้อคืนพันธบัตร

(Repurchase Market Rate) ระยะ 14 วัน 1% ของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เมื่อคราวดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประ เทศไทยใหม่ ๆ ต้นปีที่แล้ว ซึ่งว่ากันกว่าการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนั้น

ทำให้นักลงทุนในพันธบัตรเจ๊งกันเป็นแถบๆ ทีเดียว การขึ้นดอกเบี้ยที่ว่านี้ เป็นผลดีในการดัดหลังแบงก์ต่างชาติ ที่ฟันกำไรจากส่วนต่างดอก เบี้ยร์อาร์พีของไทย กับดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคาร

(Interbank rate) ที่ถือเป็นนโยบายที่ผิดพลาดของอดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล และรัฐบาลชวน หลีกภัย ที่มีอดีตขุนคลัง ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ กุมบังเหียรคุมนโยบาย การคลัง-

การเงินอีกต่อหนึ่ง ล่าสุดการลงทุนในกองทุนเพื่อการลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Funds) ซึ่งบริหารโดย บลจ.ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. 5 ราย

จะเริ่มเปิดขายหน่วยลงทุนเดือนหน้านั้น ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นอีก เพราะการลง ทุนเหล่านี้ ทำในตลาดต่างประเทศ ที่มีความผัน ผวนสูงกว่าตลาดไทยมาก และบลจ.ผู้บริหารกองทุนฯ

ก็ต้องว่าจ้างผู้บริหารกองทุนต่าง ชาติให้เป็นผู้ดูแลการบริหารอีกทอดหนึ่งด้วย สะท้อนถึงความอ่อนหัดในเวทีตลาดทุนโลกของผู้จัดการกองทุนไทยอีกด้วย ที่ต้องจ้าง ฝรั่งมังค่ามาช่วยบริหารกองทุน

ที่ใช้เงินคนไทยลงทุน นอกจากนี้ สิงคโปร์กับฮ่องกง ก็เล็ง ๆ ดึงเงินฝากจากประเทศไทย ล่าสุด ถึงขนาดเปิดรับฝากเป็นเงินบาทในหลาย ๆ ธนาคารใน 2 ประเทศนี้

ทำให้ผู้ฝากเงินรายใหญ่หลายรายจากไทย ผ่องถ่ายจากบัญชีธนาคารในประเทศไทยที่ให้ดอกเบี้ยต่ำแสนต่ำ ไปยังธนาคารต่าง ๆ ของทั้ง 2 เกาะหลักแห่งนี้เรียบร้อยแล้ว ดูๆ ไปแล้ว

ประตูที่ผู้ออมจะมีช่องทางลง ทุนที่ปลอดภัยเหมือนเดิมในประเทศนั้น (แทบ) ปิดตายไปแล้ว!!



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.