หลังพบเทคโนโลยีเป็นปัญหาหลักใหญ่ เร่งวาง 6 มาตรการหวังส่งเสริม "SMEs"


ผู้จัดการรายวัน(24 เมษายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

หลังวิเคราะห์ปัญหาผู้ประกอบการของไทยที่ประสบโดยมีประเด็นหลักใหญ่อยู่ที่เทคโนโลยีแล้ว การวางแนวทางตลอดจนมาตรการเพื่อช่วย สนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีแก่ SMEs

จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เผยรายละเอียด 6 มาตรการหลักเพื่อการส่งเสริมเทคโนโลยี SMEs ไทย อาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า กระทรวง

อุตสาหกรรมวางแนวทางของการแก้ไขปัญหาและมาตรการในการสนับสนุนเพื่อให้ SMEs ของไทยได้รับการส่งเสริมทางด้านเทคโน-โลยีไว้ 6 มาตรการ เริ่มจากการพัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบวินิจ

ฉัยและให้คำปรึกษาแนะนำสถานประกอบการเป็นกลไกในการส่งเสริม SMEs ซึ่งมาตรการนี้มุ่งเน้นไปที่ความต้องการให้ SMEs ปรับปรุงกิจการด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการวิเเคราะห์ทางเทคนิค

และการเงินโดยผ่านการรับรองและ ขึ้นทะเบียนเพื่อให้บริการแก่ SMEs พร้อมทั้งจัดให้มีศูนย์กลางของระบบวินิจฉัยเพื่อรับผิดชอบการจัดระบบฐานข้อมูลเพื่อการวินิจ ฉัยสถานประกอบการ โดยกำหนด

ให้หน่วยงานรัฐและสถาบันการเงิน เฉพาะกิจให้ความสำคัญกับกิจการ ที่ผ่านการวินิจฉัยสถานประกอบการ ทั้งนี้โดยมีการกำหนดบทลง

โทษเมื่อมีการกระทำผิดทั้งด้านความประพฤติและการปฏิบัติที่ผิด พลาด มาตรการจัดระบบบริการที่ปรึกษาเฉพาะด้านเพื่อแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกิจการ มาตรการนี้เป็น

การพัฒนาระบบข้อมูลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จัดให้มีเงินทุนสนับ สนุนค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างผู้เชี่ยว ชาญเฉพาะด้านให้คำปรึกษาแนะ นำเพื่อแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยีและการจัดการปรับปรุงกิจการ

ทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มวิสาหกิจที่ประสบปัญหาด้านเทคโนโลยีเพื่อรับบริการจากผู้เชี่ยวชาญภายนอก มาตรการสนับสนุนและส่งเสริมการปรับปรุงกิจการให้ทันสมัย นำระบบ ISO-TQM

ที่เหมาะสมกับธุรกิจไทยมาใช้ นับเป็นการส่งเสริมให้ SMEs รู้จักพัฒนานำระบบคุณภาพที่เหมาะสมเข้ามาใช้โดยภาครัฐพร้อมที่จะค่าใช้จ่ายที่เป็นส่วนสมทบแก่ SMEs

ที่มีความพร้อมในการปรับปรุงกิจการ ทั้งมีสถาบันการเงินจัดสินเชื่อพิเศษ แก่ SMEs ที่ต้องการปรับปรุงกิจการ

ในส่วนของผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจส่งออกเป็นหลักมาตรการสนับสนุนการยกระดับคุณภาพสินค้า SMEs สู่มาตรฐานสากลก็เป็นอีกมาตร การที่น่าสนใจ ซึ่งมาตรการนี้เป็น

การส่งเสริมการลงทุนด้านห้องปฏิบัติการเพื่อเพิ่มปริมาณห้องปฏิบัติการและศูนย์ทดสอบมาตร ฐานผลิตภัณฑ์ให้เพียงพอเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ในกรณีที่เป็น

ห้องปฏิบัติการที่อยู่ในสถานศึกษาก็จะเป็นการปรับปรุงเพื่อให้สามารถ ให้บริการแก่ SMEs ได้อย่างทั่วถึง และในราคาที่เหมาะสม

นอกจากนี้ยังมีมาตรการพัฒนาเครือข่ายและประสิทธิภาพแหล่งบริการวิจัยและพัฒนา เป็น การสร้างเครือข่ายร่วมวิจัยและพัฒนาระหว่างหน่วยงานรัฐ

ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตลอดจนคุ้ม ครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นผลงานจากการวิจัยและจัดสรรผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมระหว่างนักวิจัยกับผู้ร่วมลงทุน

และมาตร การที่สำคัญคือการผลักดันการถ่าย ทอดเทคโนโลยีจากบริษัทข้ามชาติและช่วยเหลือการสรรหาและจัดซื้อ เทคโนโลยี

ซึ่งมาตรการนี้เป็นการกำหนดเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนสำหรับข้ามชาติที่เข้ามาลงทุน ในประเทศไทยให้ต้องถ่ายทอดเทค โนโลยีแก่อุตสาหกรรมสนับสนุนของไทย โดยมีการติดตามให้มีการ

ปฏิบัติจริงตามเงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนอย่างเข้มงวด



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.