SVI เปลี่ยน เอ็มดีใหม่ เมื่อ ดร.ไคลฟ์ พูล ประกาศลาออกแบบสายฟ้าแลบ โดยมี
"พงษ์ศักดิ์ โล่ทองคำ" อดีตมือดีของ HANA เข้ามาเสียบแทน พนักงานงง
หวั่นนโยบายการ บริหารไม่ต่อเนื่อง
และอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัทที่เพิ่งผ่าน การฟื้นฟูกิจการมาไม่นาน
เชื่อมีการปรับเปลี่ยนแผนงานใหม่แน่ วานนี้ (23 เมษายน) บริษัท เซมิคอนดัคเตอร์เวนเจอร์
อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด
(มหาชน) หรือ SVI แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ดร.ไคลฟ์ พูล กรรมการผู้จัดการของบริษัท
ได้ลาออกจากการดำรงตำแหน่งแล้ว โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ โล่ทองคำ เข้ามารับตำแหน่งดังกล่าวแทน
แหล่งข่าวจาก เซมิคอนดัคเตอร์เวนเจอร์ฯ เปิดเผยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้จัดการ
ของบริษัทว่า เป็นการเปลี่ยนแปลง แบบสายฟ้าแลบที่พนักงานไม่ทราบ
ล่วงหน้ามาก่อนและไม่มีกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สิ่งที่เกิด ขึ้นทำให้พนักงานกังวลกันมาก
เพราะถือว่ามีความสำคัญต่อทิศทาง ของบริษัทอย่างมาก
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของ SVI ในครั้งนี้ จะทำให้
SVI ถูกมองจาก นักลงทุนอย่างมาก ขณะที่จะได้รับ ผลกระทบจากการขายสินค้าได้
เพราะ SVI เพิ่งจะเปลี่ยนกรรมการ
ผู้จัดการไปเมื่อต้นปี 2544 ที่ผ่านมา โดยคนที่นั่งในตำแหน่งดังกล่าวในสมัยที่บริษัทอยู่ในช่วงของการฟื้นฟู
กิจการนั้น คือ นายปีเตอร์ เบอร์-นาร์ด จอห์น โรสคัม ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น
ดร. ไคลฟ์ พูล
ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อประมาณกลางปีที่แล้ว ทั้งนี้ นโยบายการทำงานของ
ดร.รอย ไคลฟ์ พูล นั้น เป็นการทำงานแบบเชิงรุก และต้องการทำงานเพื่อสร้างรายได้เข้าสู่บริษัท
ให้รวดเร็ว ขณะที่ SVI
เป็นบริษัทที่ปรับโครงสร้าง หนี้แล้วแสร็จและอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ
ซึ่งการทำงานต้องทำอย่างระมัดระวัง ภายใต้ขอบเขตและข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ
ด้วย
ทำให้การปฏิบัติงานไม่สามารถกระทำได้อย่างที่ตั้งใจ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดร.ไคลฟ์ต้องลาออกจากตำแหน่งบริหารดังกล่าว
และหลังจากที่ ดร.ไคลฟ์ เข้ามารับตำแหน่ง ใหม่ขณะนั้น
แผนงานยังคงสานต่อจากกรรมการ ผู้จัดการคนเก่า ส่วนนโยบายในการบริหารมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
เพราะพนักงานระดับ
กลางจะมีบทบาทในการตัดสินใจเพื่อความรวดเร็วในการสั่งงานและการทำงานต้องทำกันเป็นทีม
ซึ่งหัวหน้างานนอกจากสั่งงานแล้ว
ยังต้องดูแลและร่วมมือปฏิบัติงานในการทำงานกับพนักงานในไลน์การผลิตด้วย
อย่างไรก็ตาม การลาออกของ ดร.ไคลฟ์ พูลในครั้งนี้ ผู้ที่จะมานั่งคุมบังเหียนใน
SVI ต่อจาก ดร.ไคลฟ์ พูล คือ
นายพงษ์ศักดิ์ โล่ห์ทองคำ มือดีที่เคยร่วมงานกับบริษัท ฮานา ไมโครอิเล็ก-ทรอนิกส์
จำกัด (มหาชน) หรือ HANA มาก่อน แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ดูแลงานของ ฮานาที่นิคมอุตสาหกรรมลำพูน
ก่อนจะบินไปบริหารงานในเครือที่ต่างประเทศ และย้ายกลับเข้ามาทำงานกับ SVI
ในตำแหน่งดังกล่าว "ผู้จัดการรายวัน" ได้รับการเปิดเผยว่า นายพงษ์ศักดิ์
ถือว่ามีประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มานาน และคลุกคลีอยู่ในวงการนี้มานานแล้ว
และการเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้จัดการในครั้งนี้ ทำให้หมายกำหนด การที่ SVI
จะประชุมผู้ถือหุ้นและพบสื่อมวลชน อาจต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตลอดจนนโยบายการทำงานก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิม
ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าวว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรอีกบ้าง
หลังจาก ที่มีการเปลี่ยนผู้บริหารคนใหม่ แต่แหล่งข่าวก็ยังอดหวั่นใจไม่ได้เช่นกันว่า
การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารบ่อยๆ
จะไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของบริษัท อย่างไรก็ตาม การบริหารงานของดร.ไคลฟ์
พูล หลังจากที่เข้ามารับตำแหน่งดังกล่าว ก็หันไปเน้นหาลูกค้าเพิ่ม
ด้วยการพัฒนาสินค้าด้วยการหันไปรับจ้างผลิตแบบสำเร็จรูปให้กับลูกค้ามากขึ้น
โดยลดการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าที่ใช้ในสินค้าอุปโภคและบริโภค แต่ผลิตแผงวงจรไฟฟ้า
ที่ใช้ในอุตสาหกรรม
ซึ่งมีกำไรดีจนทำให้ผลประกอบการฟื้นตัวและมีกำไรในปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าแบบ
high value added แม้ว่าการผลิตจะซับซ้อนและยากกว่า
แต่รายได้และกำไรก็สูงตามความยากของงานที่ผลิตเช่นกัน SVI จึงเน้นไปที่การผลิต
ผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนและมีมูลค่าสูงมากขึ้น โดยเน้นที่ Medium Complexity
และ Higher Com-plexity
เพิ่มขึ้นเป็น 95% ของยอดขาย ในขณะที่สัดส่วนผลิตภัณฑ์ Commodity Type ซึ่งมีความซับซ้อนน้อยมีเพียง
5% ของยอดขาย "การพัฒนาการผลิตและพื้นฐานด้านเทคนิค ทำให้ SVI
หันมาเน้นการให้บริการประกอบผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปอย่างครบวงจร (Turnkey Box
Built Assembly Service) และการให้บริการออกแบบเพื่อการผลิตทั้งทางด้าน Hardware
และ Software
เพื่อให้การผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบมีความสมบูรณ์และเป็นไปตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น"
ดร.ไคลฟ์กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ เพราะแผงวงจรที่ SVI รับจ้างผลิตแบบสำเร็จรูปนั้น
เป็นฮาร์ดแวร์ขนาดใหญ่ ที่ใช้กับสตูดิโอ หรือออดิโอใหญ่ๆ และใช้ในงานอุตสาห-กรรม
เช่น ห้องเย็น ที่มีระยะเวลาในการใช้นานกว่าปกติ เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม
จึงทำให้กำไรต่อชิ้นงานมีมากกว่าการผลิตที่เคยทำมา และการมุ่งเน้นผลิตสินค้าที่มีความซับซ้อน
เพิ่มขึ้น ช่วยให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น
และหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางด้านราคาจากประเทศจีน เพราะ SVI มีลูกค้าประจำและจะมีออร์เดอร์เข้ามาแบบปีต่อปี
โดยลูกค้า รายใหญ่คือ YORK ABB เป็นต้น หลังจากที่ปรับเปลี่ยนการผลิตแล้ว
และพบ ว่าลูกค้าสนใจในสินค้าของบริษัทพอสมควร เมื่อปลายปีที่ผ่านมา SVI
จึงลงทุนซื้อเครื่องจักร ใหม่ คือ SMT Line เพื่อขยายกำลังการผลิตรองรับยอดการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
และขณะนี้เครื่องจักรดังกล่าวได้ติดตั้งและเดินเครื่องผลิตแล้ว นโยบายอีกอย่างหนึ่งที่
ดร.ไคลฟ์ พูล ตั้งในไว้คือการจ่ายปันผลที่คาดว่าจะสามารถจ่ายได้ ในปีนี้
หลังจากที่บริษัทขาดทุนมานานและเริ่มมีกำไรให้เห็นแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา
ขณะที่การเติบโต ของรายได้และยอดขายจะก้าวกระโดดให้สูงถึง 200% แต่ก็ไม่อาจทำได้
เพราะศักยภาพของการผลิตที่ที่ต้องค่อย ๆ เติบโต โดยปีนี้ SVI คาดว่าจะมีรายได้เติบโตถึง
50% ของปีที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่น จะชะลอตัว
แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทเท่าใดนัก เพราะตลาดหลักของ SVI คือ
ยุโรปที่มีลูกค้าถึง 75% ขณะที่สหรัฐฯมีเพียง 15% สำหรับปีที่ผ่านมาพบว่า
SVI ผลประกอบการมีกำไร 159.13 ล้านบาท
ขณะที่ปี 2543 กำไรสุทธิ 141.97 ล้านบาท หรือกำไรเพิ่มขึ้นถึง 12% ส่งผลให้กำไรสุทธิต่อหุ้น
1.23 บาท เป็นมีกำไร 1.13 บาทต่อหุ้น SVI อยู่ในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ทำการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ให้กับลูกค้า ทั้งการผลิตแบบ COB SMT และ
Through-hole แต่หลังจากที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ SVI ก็ประสบกับภาวะการขาดทุนต่อเนื่องเกิน
3 ปี
และถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยย้าย SVI จากกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไปอยู่ใน
กลุ่มแก้ไขการดำเนินกิจการหรือ REHABCO ตามกฎ
จนกระทั่งบริษัทสามารถแก้ไขฐานะด้วยการปรับเปลี่ยนการผลิตจึงย้ายกลับมากลุ่มเดิม
เมื่อปลายปี 2542 SVI เข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯเมื่อ 18 กันยายน 2532
ปัจจุบัน มีทุนจดทะเบียน
1,543,585,720 ล้านบาท