4 ปีแก้ปัญหาเศรษฐกิจอืด ทริสชี้แนะหัวข้อเอาใจฝรั่ง


ผู้จัดการรายวัน(24 เมษายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

"ทริส" เสนอ "4 แนวทาง"ชนชั้นปกครอง อ่านใจบริษัทเรตติ้งให้ทะลุปรุโปร่ง อันจะส่งผลให้มีการขยับ อันดับเครดิตให้ไทยสูงขึ้นมาอีกนิด จากรอบ 5 ปีนับจากวิกฤตปรับขึ้นแค่ 1 ขั้น

ขณะที่มาเลเซียเพื่อนบ้านเกินไป 1 ก้าวแล้ว เพราะ "ความเด็ดเดี่ยว-กล้าตัดสินใจ" ของบุคคลระดับผู้นำประเทศ และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเงินที่เกิดเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว

ขณะที่ไทย"อืดเป็นเรือเกลือ" ไม่ว่าจะเป็นโครงการไหนๆก็ไม่คืบหน้า โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะที่ยังทำท่าจะสูงขึ้นอีก นับจากวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา บริษัทจัดอันดับความ น่าเชื่อถือระดับโลก

ไม่ว่าจะเป็น "มูดี้ส์" และ"เอส แอนด์ พี" ต่างก็ปรับอันดับเครดิตให้กับมาเลเซียและเกาหลีใต้มากเกินกว่า 1 ครั้ง อย่างประสานสามัคคีกัน เห็นได้ชัดเจนกรณีของเกาหลีใต้ "เอส แอนด์ พี" ได้ยกเกรดขึ้นถึง 4

ครั้งในรอบ 4 ปี ส่วน "มูดี้ส์" ปรับให้อีก 3 ครั้ง ส่วนมาเลเซียในเวลา 1 ปี "เอส แอนด์ พี"ปรับให้สูงกว่าไทย 1 อันดับ ด้าน "มูดี้ส์" ล่าสุดเพิ่งปรับแนวโน้มการลงทุนของมาเลเซียจาก "สเตเบิล" เป็น "โพสิทีพ"

หมายความว่า แนวโน้ม อนาคตยังมีโอกาสปรับขึ้นได้อีก คำถามจึงอยู่ที่ทำไม?...ในเวลา 4 ปีเท่ากัน แก้ปัญหาในช่วงเวลาวิกฤตพร้อมๆกัน แต่ไทยกลับไม่ได้รับความสนใจ เพราะเวลา 4 ปี

ไทยได้รับการปรับอันดับเครดิตเพียงแค่ 1 อันดับ สูง กว่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ที่เคยอยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่กลับถอยหลังลงคลองเมื่อเทียบกับมาเลเซีย และเกาหลีใต้... นายวรภัทร โตธนะเกษม

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) กล่าวเป็นเชิงชี้แนะแนวทางชนชั้นผู้นำประเทศว่า ควรจะเร่งจัดการใน 4 เรื่องสำคัญๆ ได้แก่ 1.

การแก้ปัญหาระบบสถาบันการเงินให้ได้ผลเร็วยิ่งขึ้น 2. เร่งรัดการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ 3.แก้ปัญหนี้สาธารณะ ซึ่งปัจจุบันไต่ขึ้นมาถึง 65% ของจีดีพีแล้ว

และสุดท้ายการสร้างธรรมาภิบาลในระบบบริหารภาค รัฐและเอกชนให้เกิดเป็นรูปธรรม "ข้อ 1. และ 2. นับเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้มีการลดเกรดญี่ปุ่นลง

เพราะเขามองว่าการแก้ปัญหาระบบธนาคารพาณิชย์ของญี่ปุ่นไมสู้จะจริงจังหรือกล้าตัดสินใจเหมือนเกาหลีใต้ ที่สั่งปิดธนาคารถึง 553 แห่ง แลกกับการตกงานของ พนักงานร่วม 1

แสนชีวิตซึ่งการกล้าตัดสินใจรวดเร็ว ทำให้เห็นผลเร็วในกรณีของเกาหลีใต้ นายวรภัทรให้เหตุผลว่า ทั้ง 4 หัวข้อเป็น การอ่านใจบริษัทจัดอันดับเครดิตเหล่านี้ให้รู้สึกพอใจในการแก้ปัญหา

เพื่อคลี่คลายอุปสรรคต่างๆ ถึงแม้การปรับครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงกับการลงทุนในประเทศเหมือนเมื่อก่อน แต่เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงกลับพบว่า

เขาดูดีกว่าในสายตาของนักลงทุนทั่วไป สำหรับหัวข้อแรก การแก้ปัญหาระบบสถาบันการเงิน หมายถึง การควบคุมปัญหา NPLs ใหม่ไม่ให้เพิ่มขึ้น ป้องกัน NPLs ย้อนกลับที่จะเพิ่มขึ้น

และเร่งรัดให้บสท.ดำเนินงานให้เกิดผลอย่างรวดเร็ว และเร่งฟื้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง การเร่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การเร่งออกกฎหมายเศรษฐกิจ เช่น พ.ร.บ. ธนาคารพาณิชย์

และพ.ร.บ.เช่าซื้อ ส่งเสริมให้กฎหมายเศรษฐกิจที่แก้ไขแล้วให้มีผลในทางปฏิบัติ เช่น พ.ร.บ.โทรคมนาคม รวมถึงการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนกับโครงสร้างธุรกิจสำคัญ เช่น โรงไฟฟ้า สนามบินสุวรรณภูมิ

และการเร่งแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามแผน "โครงการหลายแห่ง การแปรรูป การปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า และการปฏิรูปการศึกษา ของเราอืดมาก ตรงนี้ฝรั่งไม่อยากเห็น

เพราะทุกอย่างดำเนินมาหลายสิบปี แต่ไม่คืบหน้า แถมยังมีวัฒนธรรมการเมือง ที่มีการหวาดระแวงเกี่ยวกับวาระซ่อนเร้นมาตลอดทำให้โครงการต่างๆไม่ต่อเนื่อง"

ขณะที่หัวข้อการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะนั้น ก็ควรจะลดการใช้จ่ายของรัฐบาลที่ไม่จำเป็น ควบ คุมค่าใช้จ่ายประจำ โดยปฏิรูประบบราชการให้ดีขึ้น การลดการค้ำประกันหนี้รัฐวิสาหกิจ การเพิ่ม

รายได้ภาครัฐ หาแหล่งรายได้ภาษีอากรเพิ่มเติม เช่น พิจารณาความเป็นไปได้ในการนำภาษีมรดก มาใช้ รวมถึงการสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในระบบบริหารภาครัฐและเอกชน นายวรภัทรกล่

าวว่า สิ่งที่น่ากังวลก็คือ หนี้สาธารณะที่ทะลุขึ้นมาระดับ 65% ของจีดีพี ไทยจะรักษาอย่างไรให้อยู่ในระดับที่สถาบันจัดอันดับ เหล่านี้จะรับได้ โดยภาครัฐต้องตั้งคำถามว่าจะพยายามลดให้เหลือประมาณ

50% ได้อย่างไร ขณะที่แนวโน้มทำท่าจะไต่ขึ้นอีก "มูดี้ส์จะจับตาไทยไปอีก 6-18 เดือน แต่ส่วนตัวเชื่อว่าปลายปีไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง" อันดับเครดิตของประเทศไทยนั้น เมื่อปี 2530 เป็นต้นม

า เคยอยู่ที่ระดับ A รักษามาจนต้นปีถึงกลางปี 2540 ก็ยังคงอยู่ที่ A กระทั่งวิกฤตเศรษฐกิจ ปลายปี 2540 มูดี้ส์ ปรับอันดับ เครดิตไทยร่วงมาอยู่ที่ระดับ BB- แปลว่าเสี่ยง ไม่น่าลงทุน

ช่วงนั้นบรรดากองทุนทั้งหลายเลือด ไหลไม่หยุด เพราะประจวบเหมาะกับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้ว เงินจึงพร้อมใจกันไหลออก ช่วงนั้นจึงเรียกว่าเจ็บปวดมาก ๆ

ระหว่างนั้นประเทศในเอเชียอย่างเกาหลีหรือมาเลเซียก็มีสถานะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไปกลับพบว่า อันดับเครดิตเกาหลีใต้วิ่งแรงมาก

จนบทวิจัยต่างชาติถึงกับคาดการณ์ว่าจะวิ่งไล่กวดแซงหน้าญี่ปุ่นไปได้ "ปัจจุบันมูดี้ส์เพิ่งยกระดับไทยขึ้นมาที่ BBB- ถือว่ารอบ 4 ปีปรับแค่ 1 ขั้นขณะที่เอส แอนด์ พียังคงระดับที่ BBB-มาตลอด 4 ปี

แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังเตี้ยกว่าชาวบ้าน" นายวรภัทรกล่าวว่า นอกเหนือจากไทยแล้ว อภิมหายักษ์ใหญ่อย่างญี่ปุ่นเสียอีกที่ถูกปรับลดเครดิตจนร่วงรูดแทบไม่มีชิ้นดี จาก AAA มาเป็น AA-

และเชื่อกันมาอีกไม่นานอาจจะเหลือระดับ A- เหมือนเกาหลีใต้ นี่จึงพิสูจน์ให้เห็นว่ากรณีญี่ปุ่นเป็นปัญหาวิกฤตที่เรื้อรังมายาวนานเป็นสิบๆปี

ดังนั้นก็ได้แต่หวังว่าการแก้ปัญหาของไทยจะไม่มีสภาพเหมือนกับญี่ปุ่น



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.