รัฐบาลขู่ลงโทษแบงก์ กดดอกเบี้ยฝากตรึงกู้


ผู้จัดการรายวัน(24 เมษายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

รัฐบาลเตรียมใช้ไม้โหดหากแบงก์ลดดอกเบี้ยเงินฝากขาเดียว แต่เมินลดดอกเบี้ยเงินกู้ หวั่นรัฐต้องตอบคำถามต่อประชาชน ด้านผู้บริหารแบงก์กรุงเทพ-กรุงไทยยันไม่ปรับลดดอกเบี้ย

แต่พิจารณาปัจจัยตลาดการเงินเป็นสำคัญ ด้านแบงก์ชาติย้ำ ส่งสัญญาณไม่ลดดอกเบี้ย เหตุภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ยันนโยบายการเงินไม่ใช่ตัวนำกระตุ้นเศรษฐกิจ ผลพวงจากการที่ธนาคารเอเชีย

จำกัด (มหาชน) BOA ได้ลดดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ลง 0.25% โดยเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์คงเหลือต่ำสุดในระบบ 1.25% ประเด็นดังกล่าวได้กลายเป็น กระแสวิวาทะเกิดขึ้นระหว่างผู้บริหาร

ประเทศในการดูแลนโยบายให้เป็น ไปตามทิศทางที่คาดหวังกับองค์กร ของรัฐอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กำกับดูแลสถาบันการเงินและปัญหาดังกล่าวได้ลุก

ลามไปสู่ความแตกของแนวคิดในการบริหารเรื่องดอกเบี้ย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐ-

มนตรีได้กำชับให้ธปท.ดูแลธนาคาร พาณิชย์ที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ด้วย เพื่อไม่ให้ส่วนต่างดอกเบี้ย สูงเกินไป

หากไม่มีธนาคารดำเนินการก็ให้มีมาตรการลงโทษอย่างจริงจัง โดยวานนี้ (23) ธปท.ได้รายงานให้ทราบว่า ขณะนี้ยังไม่มีธนาคารรัฐปรับลดดอกเบี้ย นอก จากธนาคารเอกชน 2-3 แห่งที่ลดอัตราดอกเบี้ย

ออมทรัพย์ลง ซึ่งเมื่อวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมาธปท.ได้ส่งสัญญาณเรื่องดอกเบี้ยชัดเจนแล้วให้คงอาร์/พีไว้ที่ 2% เท่าเดิม หากต่อไปปรับลดอีก

แม้ธปท.จะไม่เข้าไปแทรกแซงและให้ธนาคารพิจารณานำความเหมาะสม ธนาคารพาณิชย์ก็ต้อง มีความรับผิดชอบในเรื่องของส่วนต่าง "ธนาคารพาณิชย์ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก โดยไม่ลดดอกเบี้ยกู้

คงทำให้รัฐบาลตอบคำถาม ประชาชนได้ยาก ว่าดอกเบี้ยควรอยู่ระดับใด นายกรัฐมนตรีกำชับให้คลังและแบงก์ชาติตามเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งส่วนต่างดอกเบี้ยที่เหมาะสมเท่าใดนั้นแบงก์ชาติดูแลอยู่แล้ว

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธปท. กล่าวเพียงว่า ถ้าพิจารณาจากข้อมูลตั้งแต่ ธันวาคม 2544 เป็นต้นมา

จะเห็นได้ว่าธนาคารพาณิชย์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ทั้งสองขาทุกธนาคาร อนึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่า การทยอยลดดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์

ได้สร้างผลในด้านความเสี่ยงของภาระค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยลดลงอย่างมาก และยังผลต่อเนื่องถึงผลประกอบการของธนาคารที่แม้แต่ไตรมาสแรกของปี45 ทั้งระบบกำไรเกือบ 10,000 ล้านบาท

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ยังได้ระบุถึงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Net Interest Margin) พบว่าการลดลงของสัดส่วนดอกเบี้ยจ่ายที่สูงกว่าการลดลงของสัดส่วนดอกเบี้ยรับ

ทำให้ประเมินได้ว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไตรมาส แรกปี 45 จะสูงขึ้นประมาณ 1.99% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 44 โดยธนาคารเอกชนขนาดใหญ่ 5 แห่ง ส่วนต่างดอกเบี้ยจะขยับมาอยู่ที่ 2.29%

จาก1.79% ธนาคารลูกครึ่ง 4 แห่งมาอยู่ที่ 2.41% จาก 1.96% และธนาคารรัฐ 4 แห่งมาอยู่ที่ 1.24% จาก 0.44% อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ต้องพิจารณา

อีกว่าผลจากการที่รัฐบาลได้รับโอนหนี้ของสถาบัน การเงินไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ทำให้ภาระด้านหนี้เสียของธนาคารลดลงอย่างมาก ขณะเดียวกันในการรับโอน บสท.ยังได้ออก

ตั๋วการรับโอนหนี้ โดยธนาคารพาณิชย์จะได้รับรายได้ แบงก์เบรกปรับลดดอกเบี้ย เหตุรัฐขอร้อง-ถีบส่ง"จุลกร" นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL

กล่าวว่า การที่ธนาคารจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือไม่นั้น ต้องติดตามภาวะตลาดการเงินในประเทศว่าเป็นอย่างไร รวมถึงต้องพิจารณา ถึงสภาพคล่องของธนาคารด้วย อย่างไรก็ตาม

ธนาคารกรุงเทพยังไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทุกประเภทในขณะนี้ สำหรับกรณีที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการคลัง พิจารณาเรื่องอัตราดอกเบี้ย นั้น นายชาติศิริ กล่าวว่า

ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ยังไม่ได้รับการติดต่อจากกระทรวงการคลังในเรื่องดังกล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ว่า ที่ประชุมคณะกรรม-

การบริหารของธนาคารกรุงไทยฝ่ายจัดการได้มีการรายงานเกี่ยวกับสถานะของอัตราดอกเบี้ย พร้อมกับรายงานสภาพคล่องของธนาคาร

ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าธนาคารยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม กรณีที่ธนาคารเอเชีย ปรับลดดอกเบี้ยเพียงธนาคารเดียว

เนื่องจากเป็นธนาคารขนาดเล็กมีสภาพคล่องที่ล้นอยู่ประมาณ 10,000 ล้านบาท ดังนั้น หากเงินฝากจากธนาคาร เอเชียไหลออกไปยังธนาคารพาณิชย์อื่นๆ เฉลี่ยกันไป ก็แบกรับภาระไม่มากนัก

และเมื่อธนาคาร เอเชียขาดสภาพคล่อง ก็ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อดูดสภาพคล่องเข้าธนาคาร ธปท.ยันอาร์/พี 2% เหมาะสม สัญญาณศก.เริ่มฟื้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวเป็นนัยสำคัญต่อนโยบาย

การเงินของธปท.ว่า การที่คณะกรรมการนโยบาย การเงินมีมติคงอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ระยะ 14 วันไว้ที่ระดับ 2%เท่าเดิม เหตุผลที่ทำให้ธปท.คงอัตราดอกเบี้ย เพราะ

เห็นว่าปัจจัยต่างๆเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แล้ว ดังนั้น ธปท.จึงไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินมาเป็นตัวนำในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

และเห็นว่านโยบายการเงินนับจากนี้จะต้องทำเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าการเจริญ เติบโตของเศรษฐกิจ "ขณะนี้ทุกอย่างเข้ารูปเข้ารอย ไม่มีอะไรน่า เป็นห่วง

ปัจจัยต่างๆก็เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและเป็นไปตามเป้าหมายแล้ว เพราะฉะนั้นเราจึงคิดว่านโยบายการเงินควรทำหน้าที่เสริมการเติบโตให้เพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงคงอัตราดอกเบี้ยอาร์/พีไว้ที่ระดับ 2%

ซึ่งเป็นระดับ ที่ทำให้ ดุลระหว่างการรักษาเสถียรภาพและการเติบโตของเศรษฐกิจ การรักษาเสถียรภาพในที่นี้หมายถึงระดับทุนสำรองทางการที่อยู่ ในระดับที่น่าพอใจ

และไม่ควรจะทำอะไรให้ทุนสำรองลดลง หมายความว่าตอนนี้อะไรที่อยู่นิ่งๆ ก็ไม่ควรไปกวนให้ขุ่นŽ ผู้ว่าฯธปท.กล่าว ปัจจุบันทุนสำรองทางการระหว่างประเทศอยู่ที่ 33.9 พันล้านดอลลาร์ฯ ณ 12

เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับทุนสำรองที่ลดลงหากเทียบกับสิ้นเดือนก.พ.อยู่ที่ 34.0 พันล้านดอลลาร์ฯโดยมีการคาดการณ์ไว้ ณ ปลายปี 2545 ทุนสำรองคงจะไม่ต่ำกว่าระดับ 33.0 พันล้านดอลลาร์ฯ

สำหรับการขยายตัวของสินเชื่อนั้น ผู้ว่าธปท.กล่าวว่า ในภาพรวมเริ่มดีขึ้น แต่ต้องการให้เห็นภาพที่ชัดเจนกว่านี้ว่าสินเชื่อที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นนั้นเป็นประเภทไหน ก่อนที่จะแถลงให้ทราบ บริษัท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงาน ผลการสำรวจตัวเลขสินเชื่อ เงินฝากของธนาคาร พาณิชย์ ระบุว่า สินเชื่อคงค้างในระบบธนาคารเดือนมี.ค.45จำนวน 3,512,498 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก.พ. 7,791

ล้านบาท คิดเป็นการลด 0.65% ขณะที่ยอดเงินฝากเดือนมี.ค.ยอดคงค้างทั้งสิ้น 4,940,121 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.65% หรือ 31,808 ล้านบาทจากเดือนที่ผ่านมา เศรษฐกิจโตแน่ 2-3% นายสมคิด

กล่าวถึงทิศทางเศรษฐกิจว่าธปท.ได้รายงานให้ทราบถึงสถานการณ์ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ว่าดัชนีเศรษฐกิจทุกตัวเริ่มปรับตัวดีขึ้น ทั้งการบริโภค การลงทุนและการส่งออก

ซึ่งยังมีปริมาณการส่งออกสูง แม้ราคายังไม่ดีมากนัก "ดัชนีต่างๆ ชี้เห็นเห็นว่าฟื้นตัวแต่อยู่ระหว่างการชักเย่อระหว่างความเสียหายในอดีตกับการฟื้นตัว ซึ่งเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยในช่วง 2 เดือนแรก

สถาบันการเงินเริ่มปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะภาคก่อสร้างŽ นายสมคิดกล่าว ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวแสดงความมั่นใจว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ระดับ 2-3% อย่างแน่นอน

โดยให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจ เริ่มขยับในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งในด้านของการขยายตัวของสินเชื่อ การบริโภคและการลงทุนการผลิตสินค้าที่เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ไฟฟ้า

และอาหารที่สามารถขาย ได้ทั้งในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ "ตอนนี้ชัดเจนแล้วว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มขยับตัวแล้ว ทำให้เชื่อได้ว่าเศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายในปีนี้

อีกทั้งยังเชื่อว่าธนาคารต่างๆ รวมถึงต่างชาติก็จะประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ ซึ่งขณะนี้เราก็รอดูผลการประเมินอยู่



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.