108 ปัญหาเทคโนโลยี "SMEs" ไทย


ผู้จัดการรายวัน(23 เมษายน 2545)



กลับสู่หน้าหลัก

ทั้งที่หลายหน่วยงานออกตัวให้ความร่วมมือช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการที่เป็นฐานหลักเศรษฐกิจประเทศกันอย่างพร้อมเพรียง

แต่จนถึงปัจจุบันปัญหานานัปการก็ยังพอกพูนของวันแก้ไข หนึ่งในปัญหาหลักใหญ่เป็นเรื่องของเทคโนโลยี ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือที่เรียกกันว่า SMEs

เป็นส่วนหนึ่งระบบเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ โดย ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานต่างๆ

ให้ความสำคัญและสนใจที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาตลอดจนพัฒนาธุรกิจ SMEs โดยพบว่าปัญหาของผู้ประกอบการ SMEs ส่วนมากเป็นเรื่องของการขาดแคลนเทคโนโลยที่ทันสมัยและเหมาะสม

ซึ่งหากสามารถพัฒนาสามารถแนวคิดเรื่องการปรับปรุงเทคโนโลยีของกระบวนการเพื่อให้นำไปปฏิบัติ ในตัวสินค้าได้จะเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งเสริมให้ SMEs ของไทยประสบความสำเร็จได้

ศูนย์พัฒนาธุรกิจชุมชน ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ศึกษาปัญหาของผู้ประกอบการ SMEs

ตลอดมาโดยล่าสุดได้จัดสัมมนาในมุมมองของการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับ SMEs ขึ้น อาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ทั้งที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs ของไทยประกอบด้วย ทั้งภาคการผลิต การบริการ และการค้า แต่ในแง่ของการปฏิบัติแล้ว

ยังขาดประสบการณ์ทั้งทางด้านเทคโนโลยี การผลิต การจัดการและการเงิน ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับวิสาหกิจขนาดใหญ่และกิจการในลักษณะเดียวกันได้ทั้งใน ระดับประเทศและระดับโลก "เพื่อให้

SMEs ของไทยเพิ่ม ประสิทธิภาพทางการแข่งขัน จึงควร มีการสร้างมาตรการเพื่อให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางเทคโนโลยี ทางการ เงิน ตลอดจนมาตรการทางการตลาด

ภาษีอากร เพื่อให้ครอบคลุม ทุกด้าน และเพื่อให้ความช่วยเหลือ บังเกิดผลอย่างเต็มที่" อย่างไรก็ตาม

หากวิเคราะห์ลงลึกในรายละเอียดอย่างแท้จริงของปัญหาแล้วจะพบว่าปัญหาด้านเทคโนโลยีเป็นประเด็นหลัก โดยปัญหาทางด้านเทค- โนโลยีที่พบส่วนมากเป็นเรื่อง ของการใช้เทคโนโลยีที่เก่าที่ติด

มากับเครื่องจักร ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถผลิตสินค้าในไลน์ ที่ตนมีอยู่สนองความต้องการได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่ตรงกับการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตของตน

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เน้น หนักการใช้แรงงานมีการลงทุน

ในกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาน้อยส่วนหนึ่งอาจยังไม่เห็นถึงความสำคัญ และมักคิดว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่จะต้องเป็นผู้ลงทุนวิจัย และพัฒนามากกว่าหน้าที่ของตัวผู้ประกอบการเอง

จึงเป็นเหตุส่งผลให้ผลิตภาพการผลิตลดลงกว่าที่ควรจะเป็นหรือจะได้ ทั้งคุณภาพสินค้าตกต่ำลงนับเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา และวิจัยสินค้าอุตสาหกรรมและการนำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ผลิต

สินค้าใหม่ๆ ส่วนใหญ่ของ SMEs จะไม่มีเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ใน การวิเคราะห์และทดสอบสินค้า เพราะเป็นผู้ประกอบการขนาด เล็กไม่สามารถจัดหาเครื่องมือได้เอง ทั้งยังขาดบุคลากรและองค์ความรู้

ทำให้ไม่เข้าใจในสถานภาพ การผลิต เทคโนโลยี และการจัดการของตนเอง ทำให้ไม่สามารถ วางแผนเทคโนโลยีได้ รวมทั้ง ขาดผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางการผลิต

ในส่วนของผู้ส่งออกพบว่าปัญหาหลักคือ SMEs ของไทยขาดความสามารถในการปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าตามความต้อง การของลูกค้า สินค้าที่ส่งออกจึงมีรูปแบบไม่หลากหลาย "การจัดการที่ทันสมัย

ความสามารถด้านการตลาด ความตื่นตัวเรื่องมาตรฐานสินค้าระหว่างประเทศ การประยุกต์ใช้ความรู้ เรื่อง ISO และ TQM ในการยกระดับการจัดการเป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญของผู้ประกอบการ SMEs

ทั้งเป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการยังไม่ค่อยให้ความสนใจกันมากนัก ซึ่งเมื่อผนวกปัญหาเรื่องการขาดความรู้ทางด้านบัญชี การเงินเข้า ไปด้วยแล้ว นับว่าผู้ประกอบการ SMEs ของไทยยังต้องพัฒนา

การดำเนินธุรกิจของตัวเองอีกมากเมื่อเทียบกับผู้ประกอบการของประเทศอื่น" ผู้บริหารกรมส่งเสริม กล่าวในตอนท้าย



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.