คณะกรรมการนโยบายการเงิน ประกาศ คงดอกเบี้ย RP ไว้ระดับเดิม 2%ต่อไป เนื่องจากมองว่า
เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นแล้ว ราคาน้ำมันไม่เป็นปัญหา กดดันเงินเฟ้อน้อยมาก เผยไม่กล้าลดดอกเบี้ย
เพราะกลัวโดนด่า ที่อาจจะทำให้ดอกฝาก ลดต่ำลงอีก ในช่วงที่ดอกเบี้ยปัจจุบันก็ต่ำมากแล้ว
กรุงศรีฯแจงยังไม่ลดดอกแน่ นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าการเสถียรภาพการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธ.ป.ท.) แถลงวานนี้(22 เม.ย.)ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ประชุมเพื่อพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจในและต่างประเทศ
เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงิน
โดยคณะกรรมการฯพิจารณาเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร(อาร์พี)
ระยะ 14 วันไว้ที่ร้อยละ 2 ต่อปีต่อไป เนื่องจากคณะกรรมการฯเห็นว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัว
แสดงการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งด้านการผลิตและการใช้จ่ายในประเทศ
ขณะเดียวกันราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมิได้สร้างแรงกดดันต่อสภาวะเงินเฟ้อ
รวมทั้งฐานะทางการเงินด้านต่างประเทศยังคงมีความมั่นคง เมื่อพิจารณาจากภาระหนี้ต่างประเทศ
และฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ
ทั้งนี้รายละเอียดของการประมาณการภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของคณะกรรมการฯ
จะมีการแถลงในวันที่ 30 เมษายนนี้ พร้อมการเผยแพร่รายการแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนเมษายน
2545 นายปกรณ์กล่าวต่อว่า แม้ว่าปัจจัยเสี่ยงของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่
เช่น เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า แต่จากข้อมูลทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้
โดยเฉพาะสหรัฐฯ
มีสัญญาณชัดเจนว่าจะฟื้นตัวดีกว่าที่คาดไว้ หากเทียบกับ 3-4 ปีที่ผ่านมา
ส่วนปัจจัยเสี่ยงในด้านราคาน้ำมันนั้น
จะต้องรอดูต่อไปว่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและประเทศไทยหรือไม่
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า คณะกรรมการฯคาดว่าการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในปัจจุบัน
จะกระทบต่อภาวะการฟื้นตัวต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก หากเหตุการณ์ในตะวันออกกลางคลี่คลายลง
อีกทั้งการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย
จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป "มีรายงานในที่ประชุมเรื่องราคาน้ำมันซึ่งได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก
เพราะเป็นเหตุทางการเมือง
และผู้ผลิตน้ำมันบางประเทศก็ปรับลดการผลิตลง เชื่อว่าไม่นานสถานการณ์จะคลี่คลาย"
นายปกรณ์กล่าว โดยแบบจำลองของธปท.ที่ประเมินราคาน้ำมันไว้ปรากฎว่า หากราคาน้ำมันดิบปรับขึ้น10
%
จะกระทบต่อเงินเฟ้อทั่วไป 0.3% กระทบเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.1% และกระทบอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศ
ให้หดตัวลง 0.1% หรือ -0.1% นายปกรณ์กล่าวว่า การพิจารณาคงดอกเบี้ยอาร์พี
ไว้ที่ระดับเดิมนั้น คณะกรรมการพิจารณาจากเศรษฐกิจมหภาค มากกว่าการพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคในขณะนี้
กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ มีแนวโน้มจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตาม
ธนาคารเอเชียนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า ธปท.ได้ประเมินการปรับตัวของดอกเบี้ยธนาคารพานิชย์
ในช่วงปลายปีและต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง รวม
0.5% ปรากฏว่า
ธนาคารพานิชย์มีการปรับลดเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำ แต่ไม่ได้มีการปรับลดดอกเบี้ยออมทรัพย์
ดังนั้นหากในช่วงนี้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นับว่าเป็นผลจากการบริหารต้นทุนเฉพาะของธนาคารนั้นๆ ซึ่งการปรับลดใน 2 ครั้งที่ผ่านมานั้น
มีส่วนดีในแง่ของการลดต้นทุนทางการประกอบธุรกิจ อุ๋ยส่งซิกนโยบายดอกเบี้ย
ปล่อยแบงก์อิสระ
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
จะพิจารณาถึงนโยบายอัตราดอกเบี้ยว่าจะมีทิศทางใด
เพื่อส่งสัญญาณให้กับธนาคารพาณิชย์ได้ปรับตัว หลังจากนั้น จะเป็นหน้าที่ของภาคเอกชน
ที่จะต้องดูแลตัวเอง "เรามีหน้าที่ดูแลดอกเบี้ยนโยบายแต่ละคนก็ต้องดูแลตัวเอง
ซึ่งที่ประชุม
จะส่งสัญญาณว่าระดับดอกเบี้ยนโยบายควรเป็นอย่างไร จากนั้นภาคเอกชนก็จะดูแลตัวเอง
ซึ่งเขาคงมีวิธีคิดของเขาเอง นับตั้งแต่แบงก์ชาติลดอัตราดอกเบี้ยลงมา 2 ครั้ง
เขาก็มีวิธีคิดว่าจะทำตามหรือไม่
บางแบงก์ทำตาม บางแบงก์ก็ไม่ทำ แล้วแต่สภาพคล่อง รวมถึงระดับการปล่อยสินเชื่อของแต่ละแบงก์ด้วยว่าเป็นอย่างไร"
การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเอเชียลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วถือเป็นเรื่องของดีมานด์
ซัพพลาย ซึ่งที่สำคัญคือเวลาลงหรือขึ้นจะต้องไปด้วยกันทั้งสองขา
ซึ่งธปท.ก็ติดตามดูอยู่และคิดว่ากระทรวงการคลังก็จะเข้ามาดูแลในเรื่องนี้ซึ่งอาจมีมาตรการเข้ามาช่วยผู้ฝากเงินในวัยเกษียณ
ตั้งแต่ธปท.ลดอัตราดอกเบี้ยลงมา 2 ครั้ง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2544
ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลง 0.25 สตางค์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่มีการปรับลด
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็ปรับลงมา 0.25 สตางค์
ถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมโดยไม่นับรวมธนาคารเอเชียที่ปรับลดดอกเบี้ยไปสัปดาห์ที่ผ่านมา
อรัญเชื่อนโยบายการเงินไม่กระตุ้นศก. นายอรัญ ธรรมโน ที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบายการเงิน
กล่าวถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในขณะนี้ ว่าภาวะปัจจุบันทุกฝ่ายต้องจำยอม
โดยเฉพาะผู้ฝากเงินต้องยอมรับว่า ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
แต่การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์จะมีความเสี่ยงน้อย ขณะเดียวกันเป็นห่วงว่าผู้ลงทุนอาจนำเงินไปใช้ลงทุนในช่องทางอื่นแต่ไม่มีความรู้
อาจเกิดความเสียหายได้
สำหรับภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมขณะนี้ถือว่าดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่ดีที่สุดอย่างที่ต้องการเห็น
ดังนั้น ทางการควรมีมาตรการเข้ามากระตุ้น
ซึ่งคงต้องใช้นโยบายการคลังเข้ามาช่วยนอกจากนโยบายการเงินที่สนับสนุนอยู่ในขณะนี้
และในระยะ 1-2 ปีข้างหน้าจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป " ในภาวะที่เศรษฐกิจขยายตัวต่ำประมาณ1-2%
นั้น
การใช้นโยบายการเงินมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจน้อยมาก น้อยกว่านโยบายการคลังแน่นอน
" ส่วนเรื่องหนี้สาธารณะหากใช้นโยบายการคลังมากเกินไป
นายอรัญกล่าวว่าไม่มีประเทศใดที่กำหนดว่าหนี้สาธารณะควรเป็นเท่าไร ไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นการจำกัดตัวเอง
แต่มองว่าถ้ามีหนี้สาธารณะแล้วจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ก็ควรทำไป
กรุงศรียังไม่ลดดอกเบี้ย นายจำลอง อติกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
กล่าวว่าธนาคารกรุงศรีอยุธยา จะยังไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงนี้
เนื่องจากธนาคารมีความสามารถในการบริหารสภาพคล่องส่วนเกินที่มีอยู่ในขณะนี้
แต่ถ้าธนาคารใหญ่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจทำให้สภาพคล่องเพิ่มขึ้น และอาจมีความจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม
ลำพังธนาคารเอเชียปรับลดเพียงแห่งเดียว และธนาคารอื่นไม่ปรับลดเลยคงไม่มีความจำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ย
ยกเว้นธนาคารใหญ่ปรับจะทำให้เงินฝากไหลเข้าแบงก์ที่ไม่ลดดอกเบี้ย ซึ่งก็จะเป็นปัญหาต้องลดตามกันทั้งระบบ
ดังนั้น เรื่องดอกเบี้ยขึ้นอยู่ภาวะตลาดเป็นส่วนใหญ่ผมเองยังไม่อยากเปลี่ยนแปลงเพราะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ต่ำมากแล้ว"
นายจำลอง กล่าวอีกว่าประเทศไทยในขณะนี้มีสภาพขาดเงินออม
ซึ่งตามปกติแล้วอัตราดอกเบี้ยจะต้องสูง แต่ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในภาวะไม่ปกติ
จึงทำให้ดอกเบี้ยลดต่ำแต่ถ้าเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นอย่างแน่นอน
นายพีรศิลป์
ศุภผลศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยธนาคาร
กล่าวว่าธนาคารยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงน ี้เนื่องจากธนาคารมีสภาพคล่องส่วนเกินน้อยมาก
โดยแต่ละเดือนมีสภาพคล่องส่วนเกินประมาณ 1,000-2,000ล้านบาทเท่านั้น
ล่าสุดธนาคารมียอดเงินฝากประมาณ 195,000 ล้านบาท ผู้สื่อข่าวรายงานว่าธนาคารเอเชียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง
0.25 %โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23ส
เม.ย.2545ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ลงมาอยู่ที่ 1.25 %และดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท
3 เดือน 6 เดือน และ 12เดือน ปรับลดลงเหลือ 1.75 %และดอกเบี้ยเงินกู้เอ็มแอลอาร์
ปรับลดลงจาก 7.25 % เหลือ7 % แบงก์เตือนธปท.อย่าเบลอนโยบายกระตุ้นศก. แหล่งข่าวจากวงการเงินกล่าวว่า
ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.)ต้องให้สัญญาณที่ชัดเจนว่าจะดำเนินนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนต่อไปอย่างไรนับจากนี้
ที่สภาพคล่องทางการเงินในระบบยังล้นระบบ จนทำให้ธนาคารพาณิชย์ตัดสินใจลดดอกเบี้ยเงินฝากลง
ในขณะเดียวกันค่าเงินบาทแข็งขึ้นต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับดอลลาร์
ซึ่งหากค่าเงินบาทยังแข็งต่อไปย่อมส่งผลเสียต่อการส่งออก แหล่งข่าวกล่าวว่า
ในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวแต่ยังเปราะบาง
จำเป็นต้องอาศัยทั้งภาครัฐและการใช้จ่ายภาคเอกชนช่วยสนับสนุนในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
โดยหากภาครัฐต้องการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
ก็ต้องพยายามทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางต่ำและต้องพยายามทำให้ค่าเงินบาทอ่อนช่วยส่งเสริมในเรื่องการส่งออก
ในขณะนี้จะเห็นได้ว่า
ภาคเอกชนโดยธนาคารพาณิชย์ได้ลดดอกเบี้ยทั้งก ู้และฝากส่วนหนึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่องตนเองแต่ถือเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ
"สำหรับค่าเงินบาทตอนนี้ถือว่าค่อนข้างแข็ง หากปล่อยให้แข็งในระยาวย่อมไม่ดีต่อการส่งออก
ซึ่งแบงก์ชาติสามารถทำให้อ่อนได้โดยการนำบาทออกมาซื้อเงินดอลลาร์
แต่ดูเหมือนว่าแบงก์ชาติไม่พยายามทำเต็มที่นัก ส่วนหนึ่งอาจกลัวว่าจะเป็นการเพิ่มสภาพคล่องหรือเงินบาทในระบบจนอาจทำให้เกิดแรงกดดันให้ดอกเบี้ยลงอีก
ซึ่งในทางการเมืองอาจจะรับไม่ได้หากแบงก์พาณิชย์ต้องมีการลดดอกเบี้ยเงินฝากลงอีก
เพราะปัจจุบันดอกเบี้ยออมทรัพย์ของบางแบงก์ลงมาอยู่ที่ 1.25%แล้ว" อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวกล่าวว่า
เงินบาทที่แข็งขึ้นในขณะนี้เนื่องจากเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ที่นักลงทุนต่างประเทศมองว่า
ผลตอบแทนในการลงทุนในตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศภูมิภาครวมทั้งประเทศไทยน่าสนใจมากขึ้นจึงเริ่มเข้ามาสะสมหุ้นเก็บไว้ในพอร์ต
"เราสามารถมองได้ว่า
นักลงทุนต่างประเทศมีความมั่นใจในประเทศไทยมากขึ้นถึงได้เริ่มเข้ามาสะสมหุ้นในพอร์ต
แต่รัฐบาลไทยรวมทั้งแบงก์ชาติก็ควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการเสริมความเชื่อมั่นดังกล่าว
ให้เกิดต่อเนื่อง เช่น
หากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำกระตุ้นการใช้จ่ายต่อไปรวมถึงต้องทำให้บาทอ่อนเพื่อส่งเสริมการส่งออก
ซึ่งรัฐบาลไม่ควรเข้ามาแทรกแซงหากแบงก์พาณิชย์มีการลดดอกเบี้ยเงินฝากลงอีก
" นักค้าเงินธนาคารกสิกรไทยกล่าวว่าธปท.เข้ามาแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศตั้งแต่ต้นปี
แต่การเข้ามาเป็นลักษณะของการทำให้ค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวไม่หวือหวามากนัก
ซึ่งการที่บาทแข็งขึ้นก็สอดคล้องกับเงินสกุลต่างๆในภูมิภาคที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลาร์